เตรียมตัวให้พร้อม เข้าฟิตเนสอย่างไรได้ประโยชน์สูงสุด

เผยแพร่ครั้งแรก 1 พ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เตรียมตัวให้พร้อม เข้าฟิตเนสอย่างไรได้ประโยชน์สูงสุด

เตรียมตัวให้พร้อม เข้าฟิตเนสอย่างไรได้ประโยชน์สูงสุด

ต้องยอมรับว่าในช่วงหลายปีให้หลังนี้กระสุขภาพเติบโตอย่างก้าวกระโดดมากขึ้น 2 – 3 ปีก่อนอาหารคลีนได้รับความนิยมอย่างมาก แต่กระแสคนรักสุขภาพก็ไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น “การเข้าฟิตเนส” ก็ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังอยากไปออกกำลังกายที่ฟิตเนสแต่ยังไม่รู้จะเตรียมตัวอย่างไร มาฟังทางนี้กูรูจะเล่าให้ฟัง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เตรียมตัวให้พร้อมก่อนเข้าฟิตเนส

สำหรับคนที่ไม่เคยเข้าฟิตเนสเลยก็คงจะเป็นเรื่องที่ประหม่ากันสักหน่อย เพราะร้อยทั้งร้อยก็คงทำตัวไม่ถูกเป็นแน่ ยิ่งถ้าไปคนเดียวด้วยแล้วยิ่งกังวลใหญ่ ฉะนั้นสำหรับมือใหม่มาเตรียมตัวให้พร้อมกันด้วยการเตรียมข้าวของเครื่องใช้ที่สำคัญต่อไปนี้

ของใช้ส่วนตัว  แน่นอนว่าสิ่งที่คนไม่เคยลืมในการตรียมตัวก่อนไปฟิตเนสก็คือเสื้อผ้าและรองเท้า แต่เสียดายที่ของใช้จำเป็นนอกเหนือจากนั้น หลายคนมักจะไม่ค่อยมีคนนึกถึงสักเท่าไหร่ อย่างเช่น

  • ผ้าขนหนูเอาไว้ซับเหงื่อ บางฟิตเนสอาจจะมีให้แต่ของแบบนี้มีเป็นส่วนตัวจะดีกว่าไม่น้อย
  • ขวดน้ำส่วนตัว ให้พกขนาดพอเหมาะไม่เล็กไม่ใหญ่เกินไป แน่นอนว่าระหว่างการออกกำลังกายคุณต้องเหนื่อยและหิวน้ำ การจิบน้ำเป็นระยะจะช่วยลดความกระหายน้ำได้ดี
  • สื้อผ้าสำรอง หากคุณออกกำลังกายจนเหงื่อเปียกโชก จะกลับบ้านสภาพนั้นคงดูไม่ดีแน่ ๆ เตรียมเสื้อผ้าสำรองไปด้วยจะได้เปลี่ยนก่อนที่จะกลับบ้าน
  • อุปกรณ์อาบน้ำ หากใครที่อยากล้างเนื้อล้างตัวก่อนกลับบ้านแนะนำให้พกโฟมล้างหน้า ครีมอาบน้ำ แชมพู และอุปกรณ์อื่นๆที่คุณจำเป็นต้องใช้ เพราะหลาย ๆ ฟิตเนสมีที่อาบน้ำให้คุณอยู่แล้ว การที่เราได้ล้างเนื้อล้างตัวได้ฉีดโรออนหรือน้ำหอมก่อนกลับบ้านก็คงจะรู้สึกดีมาก ๆ
  • สเปรย์คลายกล้ามเนื้อหรือยาประจำตัว สำหรับคนที่เป็นโรคประจำตัวอย่าลืมเด็ดขาด และถ้าจะให้ดีควรเขียนวิธีใช้อย่างชัดเจนติดไว้ที่ซองยาเผื่อฉุกเฉินคนที่เข้ามาช่วยเหลือจะได้ช่วยได้อย่างถูกวิธี ส่วนสเปรย์คลายกล้ามเนื้อเอาไว้ฉีดเวลาเกิดอุบัติเหตุที่คาดไม่ถึงจะช่วยให้คุณหายปวดได้อย่างรวดเร็ว

อาหารเสริมสร้างกล้ามเนื้อ 

การออกกำลังการของแต่ละคนนั้นมีเหตุผลแตกต่างกัน บางคนแค่ต้องการลดความอ้วน สำหรับบางคนก็เน้นในเรื่องของการสร้างกล้ามเนื้อ กลุ่มคนเหล่านี้จึงมักจะต้องทานอาหารเสริมควบคู่ไปด้วย มาดูกันว่าจะทานอาหารเสริมอย่างไรให้ถูกต้อง

  • แอลคาร์นิทีน (L-Carnitine) แนะนำให้ทานก่อนออกกำลังกาย สำหรับใครที่เข้าฟิตเนสเป็นประจำจะรู้ดีว่า แอลคาร์นิทีนนั้นมีประโยชน์มากแค่ไหน หากคุณต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการเผาผลาญไขมันในร่างกาย ออกกำลังกายได้นานมากขึ้นแนะนำให้ทานแอลคาร์นิทีนก่อนออกกำลังกายรับรองว่าได้ผลดีกว่าการออกกำลังกายอย่างเดียวหลายเท่า
  • เวย์โปรตีน (Whey Protein) ตัวช่วยสำคัญสำหรับการสร้างกล้ามเนื้อ สำหรับเวย์โปรตีนมีการกล่าวถึงวิธีการกินที่หลากหลาย บางคนกินตอนเช้า บางคนกินระหว่างวัน แต่สำหรับคนที่กำลังฟิตหุ่นสุด ๆ นักโภชนาการแนะนำให้กินก่อนออกกำลังกายซึ่งจะทำให้ร่างกายเพิ่มกล้ามเนื้อได้ง่ายขึ้น และหลังจากออกกำลังกายยังสามารถทานโปรตีนเสริมได้อีก ซึ่งมีประโยชน์ในการช่วยให้ซ่อมแซมกล้ามเนื้อส่วนที่สึกหรอจากการออกกำลังกายนั่นเอง

และ 3 สิ่งสุดท้ายขาดไม่ได้ที่ทุกคนจะต้องเตรียมให้พร้อมก็คือ “เตรียมใจ วินัย และความอดทน” ถึงแม้เหตุผลในการเข้าฟิตเนสของคุณจะแตกต่างกัน แต่ 3 สิ่งดังกล่าวนี้ทุกคนต้องมีเหมือนกัน เพราะมันจะช่วยให้คุณทำภารกิจเพื่อสุขภาพได้สำเร็จดั่งใจหวังแน่นอน สุขภาพที่แข็งแรงย่อมต้องอาศัยความสม่ำเสมอในการออกกำลังกายนะคะ 


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Get active your way. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/exercise/get-active-your-way/)
Fitness: How Long to Get in Shape. Healthline. (https://www.healthline.com/health-news/how-long-to-get-in-shape)
Fitness program: 5 steps to get started. Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/fitness/in-depth/fitness/art-20048269)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ชีพจรขณะพักคืออะไร
ชีพจรขณะพักคืออะไร

ทำความรู้จักค่าชีพจรที่เหมาะสมในแต่ละวัย และวิธีการวัดชีพจรแบบง่ายๆ ด้วยตัวเอง

อ่านเพิ่ม
ค่าเป้าหมายอัตราการเต้นของหัวใจ
ค่าเป้าหมายอัตราการเต้นของหัวใจ

อัตราการเต้นของหัวใจคืออะไร สำคัญอย่างไร ค่าอัตราการเต้นของหัวใจที่เหมาะสมในช่วงปกติและขณะออกกำลังกายของแต่ละช่วงวัยคือเท่าไร

อ่านเพิ่ม
วิธีการวัดและพัฒนาสมรรถภาพของหัวใจและปอด
วิธีการวัดและพัฒนาสมรรถภาพของหัวใจและปอด

ความทนแทนแบบแอโรบิกของคุณคืออะไร

อ่านเพิ่ม