น้ำตาลรสหวาน บริโภคอย่างไร ให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
น้ำตาลรสหวาน บริโภคอย่างไร ให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ

น้ำตาล สารที่ให้รสหวาน จนกลายเป็นที่ชื่นชอบสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งการรับประทานน้ำตาลในปริมาณมาก ย่อมส่งผลเสียต่อร่างกาย เนื่องจากระดับปริมาณน้ำตาลในร่างกายของเรา จะมีมากเกินไปทำให้ไม่เป็นผลดี โดยที่นักโภชนาการ ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้เอาไว้อย่างน่าสนใจว่า ปริมาณน้ำตาลที่เกิน 150 แคลอรี่ มักจะก่อให้เกิดโอกาสในการเป็นโรคอ้วน และโรคเบาหวานมากกว่าเดิม และนอกจากนี้ปริมาณน้ำตาลที่รับเข้าไปในแต่ละวันที่มากเกินไป ยังถูกจับตามอง และทำการวิจัยอยู่ว่า สิ่งเหล่านี้อาจจะมีส่วนเกี่ยวข้อง กับโอกาสที่จะทำให้เราเกิดโรคหัวใจได้หรือไม่

ถ้าหากคุณกำลังกลัวที่จะรับประทานอาหารที่มีน้ำตาล และเลือกที่จะตัดขาดกับสิ่งเหล่านี้ บทความนี้จะบอกให้คุณได้รู้ว่า ความจริง เกี่ยวกับพฤติกรรมในการบริโภคน้ำตาล ว่าบริโภคแบบไหนที่นับได้ว่าไม่ปลอดภัย และส่งผลเสียต่อร่างกายของเรา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ไม่ใช่น้ำตาลทุกชนิดที่ทำร้ายเรา

เพราะในบางครั้งน้ำตาลบางชนิดก็ยังคงมีประโยชน์กับร่างกายของเราอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้ำตาลที่เราได้มาจากธรรมชาติ เช่นน้ำผึ้ง หรือผักผลไม้บางชนิด ที่นอกจากจะช่วยในการปรุงแต่งรสชาติของอาหารให้น่าทานมากขึ้นแล้ว ยังเป็นส่วนสำคัญในการช่วยต้านอนุมูลอิสระ ที่เป็นวสาเหตุหลักๆของมะเร็ง และโรคร้ายหลายชนิด

แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะเป็นน้ำตาลจากธรรมชาติ การได้รับในปริมาณที่มากเกินไป ก็อาจจะก่อให้เกิดโรคอ้วน และเบาหวานได้เช่นเดียวกันกับน้ำตาลสังเคราะห์ ดังนั้นหากได้รับน้ำตาลจากผลไม้แล้ว เราอาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องได้รับน้ำตาลจากที่อื่นอีก

อ่านฉลากให้ละเอียด

คุณจะพบว่าในหลายๆครั้ง ที่เราได้ลองอ่านฉลากข้างตัวสินค้า และค้นพบว่าสินค้าบางตัวได้ประกอบไปด้วยปริมาณความหวาน หรือน้ำตาลที่ได้มาจากธรรมชาติ เช่นน้ำผึ้ง หรือน้ำผลไม้บางอย่าง ที่ให้น้ำตาลในปริมาณที่มาก

ดังนั้นหากต้องการที่จะลดน้ำตาลจริงๆ การอ่านฉลากควรดูให้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น ปริมาณของแคลอรี่ของอาหารชนิดนั้น ส่วนผสมของน้ำตาลธรรมชาติ น้ำตาลสังเคราะห์ และสารปรุงแต่รสชาติต่างๆ

น้ำตาลน้อยไม่ได้หมายความว่าจะอ้วนน้อยลง

เพราะในบางครั้งหน่วยของการใส่น้ำตาลในอาหารอาจจะระบุแตกต่างกัน ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้ว ผู้หญิงไม่ควรได้รับน้ำตาลในปริมาณที่เกินกว่า 100 แคลอรี่ หรือ 6 ช้อนชาต่อวัน แต่เราจะพบว่าในความจริงแล้ว คนส่วนใหญ่มักจะบริโภคน้ำตาลมาเกินเกณฑ์มาตรฐานอยู่ไม่น้อยทีเดียว ดังนั้นหากต้องการที่จะควบคุมปริมาณของน้ำตาลที่ได้รับในแต่ละวันอย่างจริงจัง ให้จำไว้เสมอว่า น้ำตาล 1 ช้อนชา มีน้ำหนักเท่ากับน้ำตาล 4 กรัม ดังนั้นเมื่อบริโภคไปเท่าไหร่ ก็ให้คำนวณว่าหลังจากอาหารมื้อนั้น เราควรได้รับน้ำตาลอีกไม่เกินเท่าไหร่ ก็จะช่วยลดการบริโภคน้ำตาลมากเกินไปได้อย่างได้ผล

ถึงแม้ว่าน้ำตาลในปริมาณมาก จะนำมาซึ่งผลร้ายต่อสุขภาพอย่างมากมาย แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นเดียวกันว่า การได้รับน้ำตาล จะช่วยให้ร่างกายของเรามีพลังงานที่เพิ่มมากขึ้น เพราะน้ำตาลก็เป็นอีกหนึ่งแหล่ง ที่ให้พลังงานกับร่างกาย และการเลือกที่จะควบคุมปริมาณของน้ำตาล ให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย ดูเหมือนว่าจะเป็นทางออกที่ดีมากกว่าการตัดน้ำตาลออกจากรายการอาหารโดยตรง


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sugar: should we eliminate it from our diet?. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/288088)
Diabetes foods: Can I substitute honey for sugar?. Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetes/expert-answers/diabetes/faq-20058487)
How to Stop Eating Sugar. Health.com. (https://www.health.com/nutrition/9-ways-to-quit-sugar-for-good)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การนอน (Sleep)
การนอน (Sleep)

นอนเท่าไหร่ถึงจะพอ? ความรู้เรื่องการนอนเพื่อสุขภาพ

อ่านเพิ่ม