คนเรามีกลไกการทำงานที่แตกต่างกัน มีความต้องการที่ซับซ้อน ซึ่งภายในความแตกต่างเหล่านี้เป็นสิ่งที่คุณผู้หญิงและคุณผู้ชายต้องเรียนรู้ซึ่งกันและกัน “ความต้องการทางเพศ” เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่มีความแตกต่างกันมากเช่นกัน เพราะความต่างจึงเป็นที่มาของการช่วยตัวเอง แต่อย่างไรก็ตามอะไรที่มากไปก็ย่อมไม่ดีเสมอ สำหรับใครที่ชอบช่วยตัวเองบ่อยเกินไปจะเกิดผลเสียในระระยาวได้ จึงควรทำความเข้าใจเรื่อนี้เอาไว้เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสม
ช่วยตัวเองมากไป ใช่ว่าจะดี
ถึงแม้การช่วยตัวเองจะมีข้อดีอยู่บ้าง นั่นก็คือช่วยทำให้ผ่อนคลายความเครียด ทำให้นอนหลับสบายขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน มักพบว่ามีความเครียดสะสมมากพอสมควร เพราะต้องรับผิดชอบชีวิตหลายด้าน ทั้งภาระ หน้าที่ ชีวิตส่วนตัว ครอบครัว และความรัก แต่เมื่อได้ช่วยตัวเอง (ไม่ว่าหญิงหรือชาย) จะทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมน เอ็นโดรฟิน (Endorphin) ออกมาซึ่งทำให้เรามีความสุขและความเครียดหายไป
แต่ทั้งนี้การช่วยตัวเองที่ดีจะต้องไม่มากเกินไป ช่วยเป็นบางครั้งบางคราวถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพราะถ้าหากมากเกินไปอาจสร้างข้อเสียมากกว่าข้อดี สำหรับคำถามที่ว่า ช่วยตัวเองเท่าไหร่ถึงเรียกว่าพอดี เท่าไหร่ถึงเรียกว่ามากเกินไปนั้น ต้องยอมรับว่ายากที่จะกำหนดคำตอบด้วยตัวเลขให้เป็นมาตรฐาน
เพราะการช่วยตัวเอง มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากมาย มีความซับซ้อนยากที่จะกฏเกณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรู้สึกนึกคิด ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สิ่งกระตุ้นจากภายนอก สิ่งกระตุ้นจากภายใน อุปนิสัย และปัจจัยอื่นอีกมากมาย แต่อย่างไรก็ตามก็พอจะมีแนวทางให้แต่ละคน ค้นหาทางสายกลางให้ตัวเองด้วยแนวทางดังต่อไปนี้
แบบทดสอบ คุณเป็นคนที่ช่วยตัวเองมากเกินไปหรือไม่?
ก่อนอื่นเลย คำถามแรกที่อยากให้ทุกคนได้หาคำตอบคือ สำรวจตัวเองว่า “คุณช่วยตัวเองบ่อยแค่ไหน” อย่างแรกเลยต้องถามตัวเอง สำรวจตัวเองอย่างจริงจัง หรือจะจดบันทึกก็ได้นะ ว่าคุณช่วยตัวเองมากน้อยแค่ไหนกันแน่ กี่ครั้งต่อเดือน กี่ครั้งต่อสัปดาห์ วันละกี่ครั้ง เวลาไหนบ้าง ครั้งละกี่ชั่วโมง การได้เห็นตัวเลขที่ชัดเจนจะทำให้ตระหนักถึงปัญหาที่แท้จริง และจะเป็นตัวเลขที่ตั้งไว้เพื่อประเมินคำถามอื่นต่อไป
1. คุณคิดเห็นอย่างไรกับการช่วยตัวเองในปัจจุบัน
ถ้าหากใจตอบว่าไม่เป็นไร กำลังดี มีความสุขดี ไม่ได้มีความทุกข์อะไร ก็แปลว่าจำนวนการช่วยตัวเองของคุณไม่ถือว่าอันตรายมากนัก แต่ถ้าหากเกิด “ความขัดแย้งขึ้นในใจ” เช่น ช่วยตัวเองทุกวัน วันละ 3 ครั้ง ถึงจะมีความสุขกับมันมาก แต่ก็แอบกังวัลหากใครรู้จะต้องมองเราว่าหมกมุ่น หรือกลัวแฟนจับได้ ความขัดแย้งในตัวเองนี้ คือสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังมีปัญหากับการช่วยตัวเองเข้าแล้ว
2. คุณหยุดช่วยตัวเองได้หรือไม่
หากช่วยตัวเองบ้างเป็นครั้งคราว จะหยุดพฤติกรรมโดยเบี่ยงเบนความสนใจไปเรื่องอื่นได้ง่าย เช่น ไปสังสรรค์กับเพื่อนแทน ไปออกกำลังกายแทน แต่คนที่ช่วยตัวเองบ่อยเกินไป ก็ไม่ต่างจากคนติดเกมหรือติดบุหรี่ คือรู้ว่ามากไปแต่หยุดไม่ได้ แถมยังนึกถึงตลอดเวลาถึงแม้จะทำงานหรือทำอย่างอื่นอยู่ก็ตาม เมื่อมีเวลาก็จะช่วยตัวเองอยู่เสมอ ถ้าหากคุณมาถึงขั้นนี้แปลว่าคุณช่วยตัวเองมากไปแล้วล่ะ
3. ช่วยตัวเองจนร่างกายได้รับความเจ็บปวด
น้องชายหรือน้องสาวของคุณ ต่างก็เป็นอวัยวะหนึ่งที่ได้รับการบาดเจ็บได้หากเกิดการเสียดสีมากเกินไป ถ้าคุณช่วยตัวเองจนอวัยวะเพศได้รับการบาดเจ็บ ถือว่าเข้าขั้นอันตรายไปแล้วนะ
4. พยายามปลีกวิเวกเพื่ออยากจะช่วยตัวเองได้บ่อยขึ้น
สำหรับใครที่เลี่ยงงานปาร์ตี้ตอนเย็น อยู่แต่กับตัวเองในวันหยุด ไม่ค่อบพบเพื่อน อยากอยู่คนเดียวเพื่อที่จะได้มีเวลาช่วยตัวเองได้บ่อยขึ้น นานขึ้น นั่นคือสัญญาณเตือนที่ว่าคุณหมกมุ่นมากไปแล้ว
5. มีการเพิ่มปริมาณโดยไม่รู้ตัว
อีกสัญญาณเตือนอย่างหนึ่งคือคุณเริ่มเสพติดการช่วยตัวเอง จากสัปดาห์ละ 3-4 วัน เป็นทุกวัน แต่ละวันมีการเพิ่มจำนวนครั้ง แต่ละครั้งก็ใช้เวลานานขึ้น มีแนวโน้มที่จะมากขึ้นเรื่อย ๆ และไม่สามารถลดปริมาณลงได้เลย นั่นแหละคือคำตอบที่ชัดเจนว่าคุณช่วยตัวเองมากเกินไป
6. มีปัญหาเมื่อต้องลงมือจริงๆ
การช่วยตัวเองคือการใช้จินตนาการเข้าช่วย เป็นการสั่งการณ์ความสุขด้วยตัวเอง บางคนใช้เวลานานเป็นชั่วโมง จนกระทั่งเมื่อร่วมรักกับคู่นอนจริง ๆ จะพบว่าทำให้หลั่งช้าบ้าง เสร็จช้าบ้าง เพราะบางคนก็มักเปรียบเทียบกับตอนช่วยตัวเอง และนี้แหละคือผลกระทบที่แท้จริง
เชื่อว่าคำแนวคำถามเหล่านี้ น่าจะเป็นตัวช่วยให้คุณหาคำตอบให้กับตัวเองได้ว่าคุณช่วยตัวเองมากไปหรือไม่ ไม่ว่าตัวเลขขอบคำตอบในตอนต้นจะเป็นเท่าใด คุณต้องหาวิธีลดจำนวนลงให้ได้ เพราะไม่เช่นนั้นมันจะเริ่มส่งผลกระทบทางจิตใจตามตัวอย่างที่กล่าวมานี้ คุณสามารถปรึกษาเพื่อนที่ไว้ใจได้ พยายามหาสิ่งเบี่ยงเบนความสนใจ หรือใช้เวลากระชับความสัมพันธ์กับคู่รักมากขึ้น ก็จะค่อย ๆ ลดอาการเหล่านี้ไปได้