กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ตารางคำนวณปริมาณโปรตีนที่ร่างกายต้องการ

เผยแพร่ครั้งแรก 24 ก.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 ตรวจสอบความถูกต้อง 26 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ตารางคำนวณปริมาณโปรตีนที่ร่างกายต้องการ

โปรตีน เป็น  1 ในสารอาหาร 5 หมู่ที่จำเป็น และเป็นแหล่งพลังงานหลักที่สำคัญของร่างกาย เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยได้ยิน หรือรู้กันอยู่แล้วว่าเราควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่มาตั้งแต่เล็กจนโต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบทเรียนวิชาสุขศึกษา ซึ่งบทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจเกี่ยวกับ “โปรตีน” อย่างละเอียดมากขึ้น รวมถึงวิธีการคำนวณด้วยว่า ในหนึ่งวันเราควรจะได้รับโปรตีนเท่าไร ถึงจะดีต่อสุขภาพ

โปรตีน คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

โปรตีน คือ สารอาหารที่ทุกคนควรให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ เพราะภายในร่างกายของเราประกอบด้วยโปรตีนอยู่ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งยังจัดเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญสำหรับการสร้างเซลล์ต่างๆ ภายในร่างกายด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อย่างไรก็ตาม ส่วนประกอบสำคัญที่เราต้องการจากโปรตีน คือ กรดอะมิโน ซึ่งมีทั้งกรดมิโนจำเป็นและไม่จำเป็น ร่างกายสามารถผลิตเองได้และไม่ได้ และแหล่งโปรตีนที่มีกรดอะมิโนครบถ้วน ได้แก่ โปรตีนจำพวกเนื้อสัตว์ นม ไข่ และ ถั่วเหลือง เป็นต้น ซึ่งทุกคนควรระมัดระวังแหล่งโปรตีนจากเนื้อสัตว์เนื่องจากเนื้อสัตว์มักมีไขมันปนมาด้วย

ดังนั้น แนะนำให้เลือกรับประทานจำพวกปลาทูน่า ไข่ไก่ อกไก่ โยเกิร์ตไขมันต่ำ หรืออาหารที่มีไขมันน้อยๆ จะดีกว่า ส่วนโปรตีนจากพืชผักที่แนะนำ เช่น อะโวคาโด ถั่วเหลือง เต้าหู้ ถั่วชนิดต่างๆ หน่อไม้ฝรั่ง ผักโขม ผักกาดเขียวปลี  เป็นต้น

ทั้งนี้ อาหารท้องถิ่นที่หาได้ง่ายๆ ของบ้านเราที่มีโปรตีนสูงก็น่าสนใจอยู่ไม่น้อย และไม่ควรมองข้ามเลยทีเดียว เช่น ดักแด้ไหม ตัวอ่อนต่อ แมลงป่อง จิ้งรีด ตั๊กแตน หนอนไม้ไผ่ เป็นต้น หรือจะเป็นปลาที่หาได้ง่ายตามคลองหรือแม่น้ำ เช่น ปลาดุก ปลาช่อน ปลาตะเพียน ปลากระบอก ปลาทู ปลาเก๋า ปลาตาเดียว ปลาทรายแดง ปลาหมอไทย ปลากราย ปลาสวาย ปลาเนื้ออ่อน เป็นต้น

ประโยชน์ของโปรตีนมีอะไรบ้าง?

  • ช่วยสร้างเส้นใยคอลลาเจนใต้ผิวหนัง ซึ่งทำให้ผิวหนังมีความยืดหยุ่น แข็งแรง ปกป้องริ้วรอยก่อนวัยอันควร
  • สร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง สังเกตได้ว่า นักกล้ามหรือคนที่นิยมการออกกำลังกาย มักรับประทานโปรตีน (ไม่ติดไขมัน) เป็นอาหารจานหลัก
  • ฟื้นฟูร่างกายและสร้างเสริมภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย เรียกได้ว่า โปรตีนจะช่วยทดแทนเซลล์ส่วนที่สูญเสียไปนั่นเอง
  • อาหารแต่ละอย่างที่เรารับประทานเข้าไปต่างต้องการการช่วยย่อยจากเอนไซม์เพื่อให้ง่ายต่อการดูดซึม หากร่างกายได้รับโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ในปริมาณที่เหมาะสม ย่อมช่วยให้อาหารถูกย่อยและดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เป็นพลังงานแก่ร่างกายอย่างดียามร่างกายขาดพลังงาน

เราควรได้รับโปรตีนต่อวันเท่าไร?

การรับประทานโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสม ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่าง ทั้งเพศ อายุ กิจกรรมต่างๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และพฤติกรรมการกินของแต่ละบุคคลด้วย ซึ่งปริมาณโปรตีนที่เหมาะสม สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคนทั่วไปที่ไม่ได้ต้องการโปรตีนจำนวนมาก และกลุ่มของคนที่ต้องการโปรตีนปริมาณสูง เช่น นักกีฬาหรือผู้ที่ออกกำลังกายอย่างหนัก

ปริมาณโปรตีนที่แนะนำสำหรับบุคคลทั่วไปไม่ควรเกิน 50 กรัมต่อวัน หรือ อยู่ที่ 0.8 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ซึ่งมีวิธีคำนวณ ดังนี้

 ตัวอย่างการคำนวณ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ขนมปัง "ไร้แป้ง ไร้น้ำตาล อิ่มนาน ไปรตีนสูง" อยากคุมน้ำหนัก แบบไม่อด ต้องลอง พร้อมโปร 5 ฟรี 1

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

จากสูตร   น้ำหนัก x ปริมาณโปรตีน 0.8 กรัม = ปริมาณโปรตีนที่ควรได้รับต่อวัน

               50 กิโลกรัม x 0.8 กรัม                 = 40 กรัม/วัน

แต่สำหรับหญิงตั้งครรภ์ ความต้องการปริมาณโปรตีนจะมากกว่าคนปกติ เพราะต้องนำไปเสริมสร้างน้ำนมนั่นเอง ซึ่งปริมาณโปรตีนอยู่ที่ 1.1-1.3 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือประมาณ 75 กรัมต่อวัน 

สำหรับนักออกกำลังกายหรือนักกีฬา บุคคลเหล่านี้ต้องการโปรตีนมากกว่าคนปกติ เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ หรือลดอาการบาดเจ็บหลังออกกำลังกายหนักๆ ซึ่งปริมาณโปรตีนที่เหมาะสมก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบการออกกำลังกายด้วย แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้

  • การออกกำลังกายแบบไม่เน้นเพิ่มกล้ามเนื้อ เช่น  แอโรบิค ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน วิ่งระยะไกล กิจกรรมเน้นการคาร์ดิโอเป็นหลัก หรือเน้นความทนทาน เป็นต้น ซึ่งปริมาณโปรตีนที่ร่างกายต้องการ จะอยู่ที่ประมาณ 1.2 - 1.4 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม 
  • การออกกำลังกายแบบเน้นเพิ่มกล้ามเนื้อ เช่น การออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง ชกมวย ยกน้ำหนัก เป็นต้น ซึ่งปริมาณโปรตีนที่ร่างกายต้องการ จะอยู่ที่ประมาณ 1.2 - 1.7 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม 

อย่างไรก็ตาม การคำนวณปริมาณโปรตีนที่ควรได้รับต่อวันของหญิงตั้งครรภ์ และนักกีฬา จะเหมือนกันบุคคลทั่วไป และในเมื่อตอนนี้เรารู้วิธีการคำนวณเรียบร้อยแล้ว ต่อไปเราก็สามารถประมาณค่าปริมาณโปรตีนต่อมื้อได้ โดยการเอาจำนวนมื้อหารด้วยค่าปริมาณโปรตีนที่ควรได้รับต่อวัน 

โปรตีนให้พลังงานเท่าไร?

โปรตีน 1 กรัม ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี่ ถ้าเราอยากรู้ว่าในหนึ่งวันเราควรได้รับพลังงานโปรตีนเท่าไร สามารถคำนวณได้ ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ปริมาณโปรตีนที่ได้รับต่อวัน  x  4 กิโลแคลอรี่   =   พลังงานจากโปรตีนที่ได้รับ

(40 กรัม x 4 กิโลแคลอรี่  =  160 กิโลแคลอรี่ )

สรุป   โปรตีน เป็นสารอาหารที่สำคัญมาก เพราะส่วนใหญ่ในร่างกายมีโปรตีนเป็นส่วนประกอบ โดยสิ่งที่เราต้องการจากโปรตีน คือ กรดอะมิโน แต่ก็ยังต้องแบ่งอีกว่า เป็นกรดอะมิโนจำเป็น หรือไม่จำเป็น อันไหนที่ร่างกายสร้างเองได้บ้าง แต่ถ้าสร้างไม่ได้และเป็นตัวสำคัญ เราก็ต้องบริโภคเพิ่ม เพื่อให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป และนี่คือเหตุผลที่ทำไมโปรตีนถึงสำคัญ  ดังนั้น การบริโภคโปรตีนถือเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากหรือน้อยเกินไป เพื่อให้ร่างกายได้ทำงานอย่างปกติ


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Trumbo, P et sl., Dietary reference intakes for energy, carbohydrate, fiber, fat, fatty acids, cholesterol, protein and amino acids. Journal of the American Dietetic Association, 102(11), 1621-1630.
Protein for Life: Review of Optimal Protein Intake, Sustainable Dietary Sources and the Effect on Appetite in Ageing Adults (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/p...), 16 March 2018
Daniel Pendick, How much protein do you need every day? (https://www.health.harvard.edu...), 18 June 2015

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาหารคีโตเจนิก (Ketogenic Diet) สำหรับโรคลมชัก
อาหารคีโตเจนิก (Ketogenic Diet) สำหรับโรคลมชัก

คำอธิบายของอาหารคีโตเจนิกและตัวอย่างรายการอาหาร

อ่านเพิ่ม
น้ำตาลจากมะพร้าวมีคาร์โบไฮเดรตต่ำจริงหรือ? ดีสำหรับเราจริงไหม?
น้ำตาลจากมะพร้าวมีคาร์โบไฮเดรตต่ำจริงหรือ? ดีสำหรับเราจริงไหม?

น้ำตาลจากมะพร้าวเหมาะสำหรับคนต้องการอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำหรือไม่?

อ่านเพิ่ม