ไวรัสตับอักเสบซี (HCV)

เผยแพร่ครั้งแรก 23 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ไวรัสตับอักเสบซี (HCV)

ไวรัสตับอักเสบซี (HCV) สามารถแพร่เชื้อผ่านทางเลือดหรือของเหลวในร่างกาย และอาจส่งผลทำให้เกิดโรคตับแข็งหรือมะเร็งตับได้ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ติดเชื้อคือการใช้อุปกรณ์เสพยาร่วมกัน

ไวรัสตับอักเสบซีคืออะไร

ไวรัสตับอักเสบซีเกิดจากการติดเชื้อบริเวณตับโดยไวรัสตับอักเสบซี (HCV) และอาจส่งผลให้ผู้ป่วยเป็นโรคตับวาย มะเร็งตับ หรือโรคตับแข็ง เป็นสาเหตุให้มีการปลูกถ่ายตับมากที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ผู้ติดเชื้อบางรายจะมีอาการป่วยเพียงระยะสั้นๆ เนื่องจากร่างกายจะสามารถขับเชื้อออกไปได้โดยอัตโนมัติ แต่ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่คือ ประมาณ 70-85% เชื้อมีการพัฒนาทำให้กลายเป็นไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังได้

การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี

ไวรัสตับอักเสบซีสามารถแพร่เชื้อและติดต่อผ่านทางเลือดหรือของเหลวในร่างกาย โดยมีสาเหตุของการติดเชื้อ ดังนี้

  • การใช้เข็มฉีดยาหรืออุปกรณ์เสพยาเสพติดร่วมกัน
  • การสักตามผิวหนังหรือการเจาะผิวหนังโดยอุปกรณ์ที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ
  • การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ
  • การติดเชื้อจากแม่สู่ทารกในครรภ์

จากการคัดกรองและตรวจเลือดก่อนการบริจาคเลือดหรือถ่ายเลือดที่เริ่มมีมาตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1990 ทำให้การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสตับอักเสบซีผ่านการถ่ายเลือดและปลูกถ่ายอวัยวะนั้นเกิดขึ้นน้อยลงมาก อย่างไรก็ตาม คุณสามารถติดเชื้อได้จากการใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ร่วมกับผู้ติดเชื้อ เช่น ใบมีดโกน แปรงสีฟัน หรือกรรไกร เป็นต้น

ผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี

การติดเชื้อ HCV พบได้บ่อยในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก จากสถิติของกรมควบคุมโรคแห่งสหรัฐอเมริกาพบว่าจำนวนของผู้ติดเชื้อเพิ่มจำนวนมากขึ้นถึง 3 เท่าในปี 2010 – 2015

โดยการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุระหว่าง 20 – 29 ปี ที่มีการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยาที่แพทย์สั่งในทางที่ผิดไปจนถึงการฉีดเฮโรอีนเข้าเส้นเลือด ทำให้แพทย์และผู้เชี่ยวชาญมีความกังวลว่าอาจมีจำนวนเด็กทารกติดเชื้อมากขึ้นด้วยเนื่องจากแม่ของเด็กๆ เหล่านี้มีพฤติกรรมเสี่ยงจากการเสพยาดังกล่าวข้างต้น

การติดเชื้อขั้นรุนแรงเป็นอย่างไร

การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีอาจเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันหรือกลายเป็นโรคเรื้อรังได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 553 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • การติดเชื้อ HCV อย่างเฉียบพลันเป็นการติดเชื้อที่เกิดขึ้นเพียงระยะสั้นๆ และสามารถหายไปเองได้จากการขับเชื้อของร่างกายภายใน 6 เดือนหลังจากได้รับเชื้อ
  • หากผ่านพ้น 6 เดือนไปแล้วแต่ผู้ป่วยยังมีเชื้ออยู่ เรียกว่า การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง ทำให้เกิดอาการป่วยเรื้อรังและอาจส่งผลให้เกิดโรคหรืออาการป่วยไปตลอดชีวิตได้ จากสถิติพบว่า มีชาวอเมริกันประมาณ 3.2 ล้านคนป่วยเป็นโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง

สัญญาณและอาการของผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี

ผู้ที่ติดเชื้อ HCV มักจะไม่แสดงอาการให้เห็น แม้จะไม่มีอาการแสดงออกมาแต่เชื้อไวรัสสามารถัฒนาให้เกิดปัญหาทางสุขภาพอื่นๆ ตามมาในภายหลังและสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้

โดยอาการจะแสดงออกมาให้เห็นเมื่อการติดเชื้อรุนแรงขึ้น ซึ่งจะมีอาการคล้ายกับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอและบี ดังนี้

  • เกิดภาวะตัวเหลืองและตาขาวเป็นสีเหลือง
  • มีไข้สูง
  • คลื่นไส้ อาเจียน และเบื่ออาหาร
  • ปวดท้องด้านขวา
  • ปวดตามข้อ
  • ปัสสาวะสีเหลืองเข้มและอุจจาระสีเทา

ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามมาจากการติดเชื้อ

ไวรัสตับอักเสบซีเป็นโรคตับอักเสบชนิดร้ายแรงที่สุด และเป็นสาเหตุให้มีการปลูกถ่ายตับในวัยผู้ใหญ่มากที่สุด ในทุกปี มีผู้คนกว่า 20,000 คนในสหรัฐอเมริกาเสียชีวิตจากโรคนี้

ในปัจจุบัน มียาที่สามารถรักษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีได้และผู้ป่วยส่วนใหญ่หายขาดจากการติดเชื้อ

การวินิจฉัยโรค

เพื่อการตรวจหาเชื้อ แพทย์จะตรวจเลือดเพื่อดูระดับภูมิคุ้มกันร่างกายและหาเชื้อไวรัสตับอักเสบซี หากพบว่าปริมาณภูมิคุ้มกันร่างกายยังปกติดีนั่นหมายถึงผู้นั้นเคยติดเชื้อ แต่หากพบว่าเชื้อไวรัสยังคงอยู่ แพทย์จะทำการทดสอบด้วยวิธีอื่นเพื่อตรวจวัดระดับเชื้อไวรัสในเลือด

กองควบคุมโรคแห่งสหรัฐอเมริกาแนะนำให้มีการตรวจเลือดกับบุคคลเหล่านี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ชาวอเมริกันทุกคนที่เกิดระหว่างปี 1945 – 1965
  • ผู้ที่เคยเสพยาโดยใช้วิธีฉีดยาเข้าเส้นเลือด
  • ผู้ที่เคยรับบริจาคเลือดหรืออวัยวะก่อนปี 1992
  • ผู้ที่ต้องฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
  • ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีหรือเป็นโรคร้ายแรงเกี่ยวกับตับ
  • เด็กทารกที่เกิดจากแม่ผู้ติดเชื้อ HCV
  • ผู้ที่สัมผัสเลือดของผู้ติดเชื้อ HCV

การรักษา

ด้วยวิวัฒนาการทางด้านการแพทย์ทำให้การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซีมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากวิธีการรักษารูปแบบเดิมจำเป็นต้องฉีดยาให้กับผู้ติดเชื้อทุกๆ สัปดาห์ นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดผลข้างเคียงรุนแรงและบางครั้งการรักษาไม่เป็นผล

แต่ปัจจุบัน ยาเม็ดนั้นมีประสิทธิภาพเพื่อการรักษา HCV ให้หายได้ภายใน 3 เดือน โดยในช่วงแรกที่ยาผลิตออกมานั้นยามีราคาค่อนข้างสูงแต่ปัจจุบันยามีราคาถูกลงมาก จากการวิเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า จำนวนผู้ติดเชื้อมีปริมาณเพิ่มขึ้น ทว่าการคัดกรองและตรวจเลือดก่อนการบริจาคหรือถ่ายเลือดจะช่วยให้การแพร่กระจายของโรคสู่ผู้อื่นนั้นน้อยลง

พบว่ายาเม็ดดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ติดเชื้อ HCV ได้ถึง 90% ซึ่งยาเม็ดชนิดใหม่ที่กำลังพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่องมีแนวโน้มที่ดีต่อผู้ติดเชื้อที่ไม่สนองต่อการรักษาปกติถึง 10% โดยยาตัวนี้กำลังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบโดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา

ควรทำอย่างไรเมื่อรู้ว่าติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี

ผู้ที่ถูกตรวจพบว่ามีเชื้อไวรัสตับอักเสบซีจะไม่สามารถบริจาคเลือดได้ และผู้ที่เคยติดเชื้อจากการใช้อุปกรณ์เสพยาจำเป็นต้องได้รับการรักษาและบำบัดอาการติดยา ไม่เช่นนั้นพวกเขาก็จะกลับมาติดโรคจากการใช้อุปกรณ์เสพยาอีก

วิธีป้องกันการติดเชื้อ

เนื่องจากยังไม่มีวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ดังนั้น คุณจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือการแพร่กระจายเชื้อ โดยเฉพาะการใช้เข็มฉีดยาร่วมกันเพื่อการเสพยา


 


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)