กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบี

ไวรัสตับอักเสบบีแบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง มีวิธีรักษาแตกต่างกัน ต้องทำอย่างไร อ่านเลย!
เผยแพร่ครั้งแรก 25 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 30 พ.ย. 2022 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบี

การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเกิดขึ้นเมื่อผู้ที่ยังไม่เคยมีเชื้อ หรือยังไม่มีภูมิต้านทานต่อโรค สัมผัสสารคัดหลั่งต่างๆ เช่น เลือด อสุจิ จนทำให้เกิดการอักเสบของตับ เรียกว่า “โรคตับอักเสบ”

ผู้ป่วยบางคนอาจไม่มีอาการขณะติดเชื้อ แต่บางคนอาจมีอาการ เช่น คลื่นไส้อาเจียน ตัวเหลืองตาเหลือง และอ่อนเพลีย โดยมักเกิดภายใน 3 เดือนแรกหลังจากรับเชื้อ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ข้อมูลจาก National Institutes of Health (NIH) ระบุว่า ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักสามารถกำจัดเชื้อ และหายจากโรคได้ด้วยตนเองภายใน 2-3 สัปดาห์ ซึ่งถือเป็นอาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเฉียบพลัน หากติดเชื้อนานกว่า 6 เดือนขึ้นไป จะถือว่าเป็นการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเรื้อรัง ซึ่งจะต้องใช้ยาต้านไวรัสหลายชนิดในการรักษา แต่อาจไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

การรักษาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเฉียบพลัน

ไม่มียา หรือการรักษาเฉพาะเจาะจงใดๆ ต่อภาวะนี้ หากมีอาการของโรค อาจรักษาแบบประคับประคองตามอาการ ดังนี้

  • หยุดพัก
  • ดื่มน้ำ โดยเฉพาะเมื่อเกิดอาการอาเจียน ท้องเสีย หรือมีไข้
  • รับประทานอาหารให้ครบหมู่

อาการปวดและมีไข้ สามารถใช้ยาแก้ปวดลดไข้ที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป โดยยาในกลุ่มเอ็นเสด (Non steroidal anti Inflammatory: NSAID) หรือที่เรียกว่า ยาแก้อักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น ยาไอบรูโปรเฟน (Ibuprofen) จะปลอดภัยกว่ายาพาราเซตตามอลสำหรับภาวะนี้

หากมีอาการรุนแรง ผู้ป่วยต้องไปโรงพยาบาล เพราะอาจจำเป็นต้องได้รับน้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ และยาแก้ปวดที่แรงขึ้น

การรักษาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเรื้อรัง

สำหรับภาวะเรื้อรัง สามารถรักษาโดยใช้ยาต้านไวรัส ซึ่งเป้าหมายไม่ใช่การกำจัดเชื้อให้หมดไป แต่เป็นการลดการทำลายตับจากไวรัส และช่วยป้องกันผลแทรกซ้อนจากการเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง โดยเฉพาะมะเร็งตับ และโรคตับแข็ง

ยาที่ใช้รักษาภาวะตับอักเสบบีเรื้อรัง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ยากลุ่มโปรตีนสังเคราะห์ และยากลุ่มนิวคลีโอไซด์ อนาล็อก (Nucleoside Analogues)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ยากลุ่มโปรตีนสังเคราะห์ ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างโปรตีนในเลือดให้ต่อสู้กับไวรัส แบคทีเรีย เซลล์มะเร็ง และสารอื่นๆ ที่เป็นพิษต่อร่างกาย อนึ่ง ยาเหล่านี้อาจไม่ได้รับการรับรองให้ใช้รักษาโรคไวรัสตับอักเสบบีในบางประเทศ โดยมี 2 ลักษณะการออกฤทธิ์ คือ 

  • ยาออกฤทธิ์สั้น ได้แก่ Roferon-A (Interferon Alfa-2A) และ Intron-A (Interferon Alpha 2-B)
  • ยาออกฤทธิ์ยาว ได้แก่ Pegasys (Peginterferon Alpha 2A) และ Pegintron (Peginterferon Alpha 2-B)

ยากลุ่มนิวคลีโอไซด์ อนาล็อก มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ที่ทำหน้าที่แบ่งตัว (Reverse Transcriptase) ทำให้ไวรัสในร่างกายลดจำนวนลง ได้แก่

  • Hepsera (Adefovir)
  • Baraclude (Entecavir)
  • Epivir (lamivudine)
  • Tyzeka (Telbivudine)
  • Viread (Tenofovir)

ข้อมูลจากองค์กรอนามัยโลก กล่าวว่า Baraclude (บาราคลูด) และ Viread (ไวรีด) เป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในกลุ่มยานิวคลีโอไซด์ อนาล็อก และเกิดการดื้อยาน้อย

ยารักษามะเร็งสามารถรักษาภาวะตับอักเสบบีเรื้อรังได้

ในปี 2015 นักวิจัยพบว่า ยารักษามะเร็ง "Birinapant (บิรินาแพนท์)" สามารถกำจัดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีได้หมดในสัตว์ทดลองที่ติดเชื้อ โดยอ้างจากงานวิจัยสองฉบับที่ศึกษาโดยสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (ข้อมูลจากนิตยสาร National Academy of Sciences) โดยยาจะเพิ่มประสิทธิภาพทำให้ตับสามารถกำจัดเชื้อได้เร็วขึ้นถึงสองเท่าเมื่อใช้ร่วมกับ Baraclude อย่างไรก็ตามยังต้องมีการทดลองทางคลินิกเพิ่มเติมว่า ยา Birinapant ตัวเดียวจะสามารถกำจัดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีได้หรือไม่

การปลูกถ่ายตับสำหรับโรคไวรัสตับอักเสบบี

โรคไวรัสตับอักเสบบีแบบเรื้อรังอาจทำลายตับ และนำไปสู่ภาวะตับวายได้ ซึ่งเป็นภาวะสุดท้ายของโรค (ตับไม่สามารถทำงานได้อีกต่อไป)

อาการแสดงภาวะตับวาย ได้แก่

  • คัน
  • มีเส้นเลือดขอด (ลักษณะคล้ายแมงมุมบนผิวหนัง)
  • มีจ้ำเลือดง่าย และเลือดหยุดช้า
  • ท้องบวมโต หรือข้อเท้าบวม

แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยโรคตับระยะสุดท้ายเข้าคิวรอรับการบริจาคตับ ทีมศัลยแพทย์จะเป็นผู้ผ่าตัดเปลี่ยนตับ โดยจะนำตับเดิมออกแล้วปลูกถ่ายตับใหม่เข้าไปแทน ซึ่งเป็นหัตถการที่ยุ่งยาก และต้องอาศัยความชำนาญสูง ถึงแม้ว่าจะได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนตับแล้ว แต่การติดเชื้อไวรัสตับก็ยังคงมีโอกาสอยู่ ตับที่ได้รับการปลูกถ่ายอาจติดเชื้อไวรัสอีกก็ได้ จึงต้องระมัดระวังและดูแลตับเป็นพิเศษ

บทความที่เกี่ยวข้อง
รู้จักวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี (HBV) ฉีดกี่เข็ม? ผลข้างเคียงเป็นอย่างไร?, (https://hdmall.co.th/c/hbv-vaccine).
Hepatitis B. World Health Organization. (https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/hepatitis-b)
Hepatitis B - Treatment. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/hepatitis-b/treatment/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป