ประเด็นทางสุขภาพที่ผู้สูงอายุข้ามเพศต้องเผชิญ

เผยแพร่ครั้งแรก 12 มิ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ประเด็นทางสุขภาพที่ผู้สูงอายุข้ามเพศต้องเผชิญ

1. ผู้สูงอายุข้ามเพศเป็นประชากรที่กำลังมีจำนวนมากขึ้น

อ้างอิงจากการลงทะเบียนผู้สูงอายุของสหรัฐอเมริกา มีการประมาณว่าจำนวนมีผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปจะเพิ่มขึ้นเกินเท่าตัวเป็น 98 ล้านคนในปี ค.ศ. 2060 และแม้แต่เร็วกว่านั้นคือในปี ค.ศ. 2040 ก็ประมาณกันว่า 21.7% ของประชากรจะเป็นผู้สูงอายุ เทียบกับ 14.1% ในปี 2013

โชคร้ายที่เลสเบี้ยน เกย์ ไบเซ็กชวล และ/หรือกลุ่มข้ามเพศ (transgender) เป็นประชากรที่มักไม่ได้ถูกระบุในตัวเลขเหล่านี้ ถึงแม้ว่าการประมาณตัวเลขที่แท้จริงของกลุ่มนี้จะเป็นไปได้ยาก แต่ก็มีการประมาณว่ามีจำนวน LGBT ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีอยู่ระหว่าง 1.75 ถึง 4 ล้านคนในปัจจุบัน และยังมีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าตัวเลขนี้อาจมากกว่า 6 ล้านคนในปี 2030 ซึ่งนั่นหมายความว่า เป็นเรื่องสำคัญที่กลุ่ม LGBT รุ่นที่ยังอายุไม่มาก และสังคม และผู้ดูแลจะต้องเรียนรู้ปัญหาที่พวกเขาต้องเผชิญ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ซึ่งอะไรเป็นประเด็นที่่กลุ่มผู้สูงอายุ LGBT ต้องเผชิญบ้าง โดยเฉพาะประเด็นเรื่องสุขภาพทางเพศ?

2. ประเด็นประเด็นสำคัญเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ

 โดยรวมแล้ว มีประเด็นที่คาบเกี่ยวกันอยู่หลายเรื่อง รวมทั้งเรื่องความไม่มั่นตงทางการเงิน การโดดเดี่ววทางสังคม และความลำบากในการดูแล แต่เราจะมุ่งประเด็นไปเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพทางเพศ ซึ่งจากนิยามขององค์การสุขภาพแห่งสหประชาชาติแล้ว สุขภาพทางเพศ หมายถึงภาวะที่มีสภาวะที่ดีทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ในแง่ที่เกี่ยวข้องกับทางเพศ โดยยังเน้นประเด็นเรื่องของการมีความสุขจากประสบการณ์ทางเพศ และมีความปลอดภัย โดยปราศจากการข่มขู่บังคับ การแบ่งแยก และความรุนแรง นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาประเด็นเรื่องการทำร้ายร่างกาย การคาบเกี่ยวกับการเหยียดความเป็นตัวตน และการแสดงออกทางเพศอีกด้วย

ตรงกันข้ามกับแนวคิดหลักๆของผู้สูงอายุที่ไม่สนใจเรื่องเพศและความรัก งานวิจัยสนับสนุนว่าเรื่องเพศเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต และความต้องการทางเพศก็ไม่ได้ลดลงไปตามอายุ แม้ว่าพฤติกรรมและความสามารถอาจจะเปลี่ยนไปก็ตาม

3. ความไม่มั่นคงทางการเงิน

โดยรวมแล้ว สังคมผู้สูงอายุชาว LGBTมักเผชิญปัญหาเรื่องอัตราความยากจนที่สูง ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการแต่งงานระยะยาวและการแบ่งแยกในการจ้างงาน ความไม่มั่นคงนี้ลดการเข้าถึงการบริการสุขภาพ ทำให้มีปัญหาในการอาศัยอยู่อย่างปลอดภัยในสังคม และทำในเกิดความเครียดในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาเรื่องความยากจนในสังคมคนผิวสี และในแง่ที่ว่าความยากจนเป็นปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพอย่างไรบ้างแล้ว ก็เป็นที่แน่ชัดว่าความไม่มั่นคงทางการเงินส่งผลในแง่ลบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุชาว LGBT โดยในสังคมของชาว LGBT นั้น กลุ่มคนข้ามเพศเป็นผู้ที่เปราะบางที่สุด อย่างไรก็ตาม สถานะทางสังคมและเมืองที่อาศัยอยู่ก็ส่งผลต่อความเข้มแข็งของแต่ละบุคคล ดังนั้นบุคคลข้ามเพศทุกคนจึงไม่ได้เผชิญปัญหาเดียวกัน โดยเฉพาะเมื่อมีความเป็นอภิสิทธิ์เช่นเรื่องเชื้อชาติและสถานะพลเมือง ซึ่งสำหรับคนส่วนใหญ่หลายๆคนที่มีปัญหาทางด้านการเงิน ปัญหานี้จะยิ่งบานปลายหากไม่ได้รับการสนับสนุนจากสังคม

ดังนั้น บทบาทของสายสัมพันธ์ทางสังคมสำหรับเรื่องทั้งหมดนี้คืออะไร?

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

4. การโดดเดี่ยวทางสังคมและแผลเป็นในใจ

ชาว LGBT รุ่นเก่าๆ เติบโตมาโดยถูกแพทย์พิจารณาว่ามีความเจ็บป่วย พวกนักบวชถือว่าผิดศีลธรรม ทางกองทัพถือว่าไม่มีสมรรถภาพ และตำรวจถือว่าเป็นบ้า “มีความไม่ไว้วางใจซึ่งเป็นที่เข้าใจได้ หรือแม้แต่ความกลัวต่อองค์กร ซึ่งผสมกันไปกับความจริงที่ว่ายังคงต้องการความดูแล โดยเฉพาะในผู้ที่ห่างเหินจากครอบครัวแท้ๆ หรือผู้ที่อพยพมาอเมริกาเพื่อลี้ภัย ในความจริงแล้ว ผู้สูงอายุชาว LGBT “มีโอกาสเป็นสองเท่าที่จะอาศัยอยู่ตามลำพัง มีโอกาสเป็นสองเท่าที่จะเป็นโสด และมีโอกาสเป็นสามถึงสี่เท่าที่จะไม่มีลูก” ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นข้อบ่งชี้ที่สัมพันธ์กับการโดดเดี่ยวทางสังคม โดยเฉพาะในผู้ที่อยู่ในสังคมเล็กๆ หรือสังคมชนบท ซึ่งแทบจะไม่มีการเข้าหาชาว LGBT เลย

ทั้งการโดดเดี่ยวทางสังคมและแผลเป็นในใจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตเป็นอย่างมากในสังคมที่มีอัตราการฆ่าตัวตายและการมีภาวะซึมเศร้าสูงอยู่แล้ว สิ่งนี้อาจจะยากเป็นพิเศษสำหรับผู้ที่เสียคู่ชีวิตไปจากโรคภัยเช่นเอดส์ และต้องอยู่เป็นโสดต่อไปและรับมือกับความเศร้าโศก และหลังจากนั้นก็สงสัยว่าจะไปหาและจะติดต่อหาคู่ใหม่ได้อย่างไร สำหรับผู้ที่เข้าสู่บริการจับคู่เดท อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อพยายามแสดงออกถึงความต้องการทางเพศ?

5. การแสดงออกทางเพศและความท้าทายของมัน

โดยทั่วไปแล้ว ผู้สูงอายุจะตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบากหากถูกรู้ว่ามีความต้องการทางเพศ ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน และผู้สูงอายุยังอาจสังเกตบางสิ่งเช่นมีสารคัดหลั่งหล่อลื่นที่ลดลง และใช้เวลานานขึ้นในการทำให้องคชาติแข็งตัว ยังไม่รวมเรื่องความเจ็บป่วย สูญเสียสมรรถภาพ และการรักษาหรือยา (รวมถึงฮอร์โมนที่ช่วยเรื่องการเปลี่ยนแปลง) ที่ส่งผลกระทบต่อความต้องการและสมรรถภาพทางเพศอีก ผู้สูงอายุชาว LGBT ยังต้องเผชิญกับความแตกต่างเฉพาะทางสุขภาพในแง่ของโรคเบาหวาน HIV หรือเอดส์ โรคหัวใจ และอื่นๆ ซึ่งโรคเหล่านี้สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเช่นการทำลายเส้นประสาทที่ทำให้การรับความรู้สึกลดลง ดังนั้นจึงต้องการการกระตุ้นที่มากกว่า หรือแตกต่างออกไปเพื่อให้ได้ความพึงพอใจ ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อสมรรถภาพเปลี่ยนไป ก็จะมีความกังวลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว การจับ และการล้มมากขึ้นอีก

ถึงแม้ว่าจะไม่ต้องกังวลเรื่องการตั้งครรภ์แล้ว แต่ผู้สูงอายุ LGBT ก็ยังเผชิญกับความเสี่ยงในการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว หน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา (CDC) ระบุว่าจำนวนของผู้สูงอายุที่ติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และ HIV หรือเอดส์ กำลังเพิ่มขึ้น

ความท้าทายอีกอย่างคือการจัดการกับความคาบเกี่ยวกันระหว่าภาวะสมองเสื่อม (dementia) และเรื่องทางเพศ (ซึ่งจะทำให้การตกลงยินยอม การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย และแม้แต่การรับรู้ตัวตนของตนเองเป็นเรื่องยากยิ่งขึ้น) และกรณีที่ผู้สูงอายุถูกทารุณกรรมทางเพศ รวมถึงกรณีที่ถูกกระทำโดยผู้ที่มีความสามารถในการทำงานของสมองผิดปกติ ซึ่งถึงแม้ว่าจะมีการศึกษาในหัวข้อเหล่านี้ แต่เงินทุนก็มีไม่มาก หรือไม่เป็นที่รู้จักกันนัก ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อเป็นโรคสมองเสื่อม ก็ต้องพึ่งพาผู้ดูแลมากขึ้น และถูกจำกัดทางพฤติกรรมและการแสดงออกมากขึ้น

ผู้สูงอายุ LGBT มีอัตราการเป็นเหยื่อมากกว่า และการที่มีทนายจำนวนน้อยยิ่งกว่าที่จะช่วยพวกเขานำเรื่องนี้ขึ้นศาลก็ทำให้เรื่องยากขึ้นไปอีก ซึ่งแม้ว่าสถานดูแลบางที่มีนโยบายเรื่องเพศที่ก้าวหน้า แต่ส่วนใหญ่แล้วจะไม่ ดังนั้นแล้ว ผลกระทบต่อสุขภาพทางเพศของผู้สูงอายุเมื่อเข้าสู่สถานดูแล้วแล้วจะมีอะไรได้บ้าง?

6. เสรีภาพที่ถูกจำกัด และการแบ่งแยกในสถานดูแล

การขาดการสนับสนุนทางสังคมและความไม่มั่นคงทางการเงินเนื่องจากการห้ามการแต่งงานในเพศเดียวกันทำให้ผู้สูงอายุชาว LGBT มีแนวโน้มที่จะย้ายเข้าศูนย์ดูแลมากขึ้น ซึ่งนอกเหนือไปจากการเปลี่ยนที่อยู่แล้ว ก็ยังอาจเป็นการกลับไปปิดบังตัวตนอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถูกแสดงให้เห็นในหนังเรื่อง Gensilent ซึ่งคำโปรยของหนังเรื่องนี้คือ “คนรุ่นที่ต่อสู้มาอย่างยากลำบากที่สุดเพื่อที่จะเปิดเผยตัวตนที่แท้จริงกำลังจะต้องดิ้นรนอีกครั้ง”

เมื่อผู้สูงอายุชาว LGBT ย้ายเข้าศูนย์ พวกเขาหลายคนประสบกับการแบ่งแยก ทั้งจากการกลั่นแกล้งให้อับอายจากเจ้าหน้าที่และผู้อาศัยคนอื่น เจ้าหน้าที่ไม่ยอมใช้คำเรียกให้เหมาะสม และปฏิเสธไม่ให้การดูแล ในศูนย์ดูแลหลายแห่งยังมีบันทึกเรื่องอคติต่อความสัมพันธ์และการแสดงความรักในเพศเดียวกัน ยิ่งไปกว่านั้น สถานที่เช่นศูนย์ดูแลยังไม่เหมาะสมต่อการสนับสนุนเรื่องสุขภาวะทางเพศตั้งแต่ต้น ดังนั้นการมีอคติเหล่านี้ก็ยิ่งทำให้การบรรลุเป้าหลายทางสุขภาพโดยรวมยิ่งยากขึ้นอีก

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเราจะเห็นการพัฒนาในเรื่องสิทธิของชาว LGBT ในหลายๆเรื่องแล้ว แต่ก็ยังมีอีกมากที่ต้องจัดการต่อ หากคุณหรือคนที่คุณรักสนใจเรื่องการดูแลระยะยาว link นี้จะให้ข้อมูลมากขึ้นเรื่องประเด็นที่ควรจะถูกหยิบยกขึ้นมาโดยเฉพาะ และสิ่งที่ต้องถามสำหรับการจอง คุณยังสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับองค์กรที่ทำเรื่องประเด็นเหล่านี้ได้จาก The LGBT Aging Project, SAGE USA, FORGE Forward และ  the National Resource on LGBT Aging สองสิ่งที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการเอาชนะแผลเป็นในใจและผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ไม่ดีคือความรู้และระบบการสนับสนุน ซึ่งคุณจะทำให้แตกต่างได้อย่างไรล่ะ?


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Maintaining Dignity: A Survey of LGBT Adults Age 45 and Older. AARP® Official Site. (https://www.aarp.org/research/topics/life/info-2018/maintaining-dignity-lgbt.html)
LGBT AND DEMENTIA. Alzheimer's Association. (https://www.alz.org/media/Documents/lgbt-dementia-issues-brief.pdf)
Pardon Our Interruption. American Psychological Association (APA). (https://www.apa.org/pi/lgbt/resources/aging)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป