การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงมีประจำเดือน

การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงมีประจำเดือน ไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติแต่อย่างใด หากคู่นอนของคุณมีความเข้าใจ และรู้จักวิธีป้องกันอย่างถูกต้อง
เผยแพร่ครั้งแรก 23 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงมีประจำเดือน

การห้ามผู้หญิงไม่ให้มีพฤติกรรมทางเพศใดๆ ขณะที่มีประจำเดือน เป็นความคิดที่ล้าหลังมาก เพราะในความเป็นจริงแล้วเลือดประจำเดือนไม่ได้เป็นสิ่งสกปรกตามความเชื่อแต่โบราณ

ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ขณะมีประจำเดือนหรือไม่?

ผู้หญิงบางคนอาจสังเกตตัวเองว่ามีความต้องการทางเพศมากขึ้นในช่วงที่มีประจำเดือน และการทำให้ตัวเองถึงจุดสุดยอด (Orgasms) ยังช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือน (Menstrual Cramps) ได้อีกด้วย เพราะการไปถึงจุดสุดยอดจะทำให้ร่างกายปล่อยสาร Endorphins ออกมาลดความเจ็บปวด และลดความเครียดลง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การมีเพศสัมพันธ์ขณะมีประจำเดือน จะมีความแตกต่างกันออกไปในแต่คู่ บางคู่อาจใช้วิธีมีเพศสัมพันธ์ขณะอาบน้ำ เพราะจะได้ทำความสะอาดร่างกายและสถานที่ได้ง่าย บ้างคู่ก็อาจให้ผู้หญิงใช้ผ้าอนามัยแบบสอด (Tampon) และใช้สารหล่อลื่น (Lubrication) ขณะมีเพศสัมพันธ์แบบสอดใส่ และบางคู่ก็มีกิจกรรมบนเตียงตามปกติ แต่มีการปูผ้าขนหนูไว้รองเลือด เป็นต้น หากคู่ไหนที่ไม่ได้กังวลกับเรื่องนี้ ก็ไม่มีเหตุจำเป็นให้ต้องเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์แม้จะมีประจำเดือนอยู่ก็ตาม

การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงมีประจำเดือนจะทำให้ตั้งครรภ์หรือไม่?

เนื่องจากมีการแนะนำวิธีคุมกำเนิดด้วยการนับวันหน้า 7 หลัง 7 คือให้คุมกำเนิดโดยมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 7 วันก่อนและหลังจากวันที่มีประจำเดือนวันแรก จึงทำให้มีคนจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจว่าการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างที่มีประจำเดือน จะไม่ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ขึ้น 

แต่จริงๆ แล้วการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงนี้ก็มีโอกาสจะทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้เช่นกัน เพียงแต่โอกาสนั้นค่อนข้างน้อย เพราะโดยปกติแล้วไม่ใช่ช่วงไข่ตก

โดยการตั้งครรภ์มักเกิดกับผู้ที่มีรอบเดือนไม่สม่ำเสมอหรือสั้นกว่าคนทั่วไป ซึ่งอาจมีระยะไข่สุก (ระยะที่สามารถตั้งครรภ์ได้หากมีปัจจัยอื่นๆ พร้อม) นานหลายวัน ทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์มากขึ้น 

หากไข่ตกเร็วกว่าปกติ ระยะไข่สุกอาจมีการซ้อนทับกับการมีประจำเดือน ดังนั้น หากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันในช่วงนี้ก็อาจทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้

การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงมีประจำเดือนเสี่ยงต่อการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือไม่?

การมีเพศสัมพันธ์ในขณะที่มีประจำเดือนเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้พอๆ กับช่วงอื่น เพราะฉะนั้นจึงควรใช้ถุงยางอนามัย 

ในกรณีที่ไม่ทราบว่าคู่นอนมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ใดๆ หรือไม่ และในกรณีที่ใช้ถุงยางอนามัย ก็ควรระวังเรื่องของความเปียกชื้นที่อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพและทำให้ถุงยางเลื่อนหลุดออกจากอวัยวะเพศชาย


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
พญ. ชัญวลี ศรีสุโข, การฝ่าไฟแดงเป็นอันตรายจริงไหม และดีหรือไม่อย่างไร? (https://thestandard.co/sex-during-periods/), 8 กุมภาพันธ์ 2562
Clár McWeeney, Period sex 101 (https://helloclue.com/articles/sex/period-sex-101), 24 มกราคม 2018.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือภาวะเกลียดเซ็กซ์ (Sexual Anorexia)
อะไรคือภาวะเกลียดเซ็กซ์ (Sexual Anorexia)

อาการ ปัจจัยเสี่ยง การรักษาและอื่น ๆ

อ่านเพิ่ม
อาการเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ (Dyspareunia)
อาการเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ (Dyspareunia)

อาการเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ สามารถเกิดขึ้นทั้งจากภาวะทางกายภาพ และภาวะทางจิตใจ สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการใช้ยาหรือการบำบัดจิตใจ

อ่านเพิ่ม