ข้อควรปฏิบัติในการตรวจเก็บเชื้ออสุจิ

เผยแพร่ครั้งแรก 30 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ข้อควรปฏิบัติในการตรวจเก็บเชื้ออสุจิ

การตรวจเก็บเชื้ออสุจิ (Semen analysis) หรือรู้จักกันอีกชื่อหนึ่งคือการตรวจนับอสุจิ เป็นกระบวนการที่ใช้ในการตรวจสอบสุขภาพและโอกาสรอดชีวิตของอสุจิในผู้ชาย น้ำอสุจิมีส่วนประกอบคือ สเปิร์มประกอบกับสสารที่เป็นน้ำตาลและโปรตีน ซึ่งถูกขับออกมาเมื่อมีการกระตุ้น ในกระบวนการตรวจเก็บเชื้ออสุจิจะมีการนำน้ำอสุจิมาทำการตรวจสอบปัจจัยต่างๆ อันได้แก่ จำนวนของสเปิร์ม รูปร่างของสเปิร์มและการเคลื่อนที่ของสเปิร์มเพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการตรวจสอบเพื่อรักษาภาวะมีบุตรยาก ในการเก็บตัวอย่างเชื้ออสุจิแพทย์จะทำการนัดให้คนไข้มาตรวจเก็บเชื้ออสุจิสองถึงสามครั้งในหนึ่งคอร์ส โดยห่างกันแต่ละครั้งประมาณ 7 วัน อ้างอิงจาก American Association for Clinical Chemistry (AACC) เพื่อให้การตรวจสอบมีความแม่นยำมากที่สุด

การตรวจเก็บเชื้ออสุจิสามารถบอกอะไรได้บ้าง

การตรวจเก็บเชื้ออสุจิสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลในการตรวจสอบเพื่อค้นหาสาเหตุว่าในกลุ่มคู่รักที่ประสบภาวะมีบุตรยากนั้นมาจากสาเหตุใด ซึ่งการตรวจเก็บเชื้ออสุจินั้นสามารถบอกได้ว่าภาวะมีบุตรยากนั้นมาจากสาเหตุใด เพื่อค้นหาวิธีการรักษาให้ตรงจุดต่อไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

นอกจากนี้การตรวจเก็บเชื้ออสุจิยังสามารถใช้เพื่อตรวจสอบผลจากการทำหมันชายได้อีกด้วย กล่าวคือการตรวจเก็บเชื้ออสุจิจะถูกนำมาใช้ในการตรวจสอบหลังจากการทำหมันชาย เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการทำหมันนั้นประสบความสำเร็จ

การเตรียมตัวเพื่อเข้ารับการตรวจเก็บเชื้ออสุจิ

ก่อนการตรวจเก็บเชื้ออสุจิ แพทย์มักจะบอกให้คนไข้ทราบถึงการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจเก็บเชื้ออสุจิซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เนื่องจากการเตรียมตัวนั้นสามารถส่งผลต่อความแม่นยำในการตรวจได้ ดังนั้นบทความนี้จึงนำเสนอการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจเก็บเชื้ออสุจิเพื่อให้ผู้อ่านได้เตรียมตัวอย่างถูกวิธีซึ่งมีวิธีการเตรียมตัวดังต่อไปนี้

ก่อนการเข้ารับการตรวจเก็บเชื้ออสุจิคนไข้ควรงดเว้นกิจกรรมทางเพศเป็นอย่างน้อย 3 วันก่อนวันตรวจแต่ไม่เกิน 7 วัน การมีเพศสัมพันธ์ก่อนการตรวจเก็บเชื้ออสุจิจะส่งผลให้ประมาณของน้ำอสุจิและปริมาณของสเปิร์มลดน้อยลงแต่หากมากกว่า 7 วันจะส่งผลให้เกิดการตายของสเปิร์มที่โตเต็มวัยซึ่งส่งผลต่อผลการวิเคราะห์ได้เช่นกัน

ก่อนการเข้ารับการตรวจเก็บเชื้ออสุจิ คนไข้ควรงดเว้นจากการใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์รวมถึงสารเสพติด และกัญชาในทุกรูปแบบเพื่อป้องกันมิให้สเปิร์มมีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ มีรูปร่างที่ผิดปกติรวมถึงการที่สเปิร์มตายจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการใช้สารเสพติดต่างๆ

มีข้อแนะนำว่าควรงดเว้นชาดำที่มีความเข้มข้นสูง กาแฟและบุหรี่ในวันก่อนการเข้ารับการตรวจเก็บเชื้ออสุจิ เนื่องจากจะส่งผลต่อการหลั่งน้ำอสุจิได้นอกจากนี้ยังมีคำแนะนำให้มีการงดเว้นของมันและของทอดก่อนการเข้ารับการตรวจเก็บเชื้ออสุจิ เนื่องจากของมันและของทอดจะส่งผลต่อปริมาณของน้ำอสุจิและการเคลื่อนไหวของสเปิร์มได้ หากต้องการให้มีความแม่นยำเพิ่มมากขึ้นมีข้อแนะนำให้คนไข้รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน (โดยเฉพาะวิตามินซีและสังกะสี) และใยอาหารที่ได้จากผักและผลไม้ รับประทานโปรตีนและผลิตภัณฑ์จากนม จะช่วยเพิ่มกระบวนการหลั่งน้ำอสุจิให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

และเนื่องจากอุณหภูมิที่เหมาะสมในการหลั่งน้ำอสุจิอยู่ที่อุณหภูมิต่ำกว่าร่างกายโดยทั่วไป 1 – 2 องศาเซลเซียสหรืออยู่ที่ 34 – 35 องศาเซลเซียส ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้มีการอาบน้ำอุ่นหรือน้ำร้อนในวันที่มีการตรวจเก็บเชื้ออสุจิ

บุคคลที่ไม่ควรเข้ารับการตรวจเก็บเชื้ออสุจิ

หากคนไข้มีอาการหวัด มีไข้ มีภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจหรือระบบปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์ คนไข้ที่กำลังอยู่ในภาวะติดเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STDs) คนไข้ที่กำลังอยู่ในช่วงรับยาปฏิชีวนะ (antibiotic) และยาต้านเศร้า (antidepressant) รวมถึงคนไข้ที่กำลังใช้ยาอนาบอลิกสเตียรอยด์ (Anabolic steroids) ที่ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ใช้ในการสังเคราะห์สเปิร์ม

 บทความที่เกี่ยวข้อง

Semen analysis ตรวจความสมบูรณ์น้ำอสุจิเพื่อวิเคราะห์สาเหตุมีบุตรยาก


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Semen Analysis Lab Test Information. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/lab-tests/semen-analysis/)
Semen analysis. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/article/003627.htm)
Sperm analysis: Uses, procedure, and results. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323736)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป