กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

อุจจาระสีเขียวกับสาเหตุ การรักษา การป้องกัน และการดูแลตัวเอง

อุจจาระสีเขียวเกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่ และมีวิธีการรักษาอย่างไร
เผยแพร่ครั้งแรก 12 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 30 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 26 ส.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อุจจาระสีเขียวกับสาเหตุ การรักษา การป้องกัน และการดูแลตัวเอง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • สีของอุจจาระสามารถบ่งบอกความผิดปกติ และสุขภาพของคุณเองได้ อุจจาระสีเขียวก็เช่นกัน โดยอาจมาจากสาเหตุมาจากอาการท้องเสีย การรับประทานยาบางชนิดที่มีธาตุเหล็ก การรับคลอโรฟิลล์จากผักใบเขียว สีผสมอาหารสีเขียว น้ำนมจากมารดา
  • อาการท้องเสียและถ่ายอุจจาระเป็นสีเขียว หากอาการรุนแรงมากๆ สีของอุจจาระอาจเป็นสีขาวขุ่น หรือเป็นสีน้ำซาวข้าว
  • มีวิธีรักษาอาการเจ็บป่วยร่วมกับมีอุจจาระสีเขียวได้หลายวิธี เช่น ดื่มสารเกลือแร่หากถ่ายบ่อยจนไม่มีแรง การรับประทานยาปฏิชีวนะ การรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย รสไม่จัด และให้งดเว้นเครื่องดื่มชา กาแฟ
  • คุณสามารถป้องกันอาการถ่ายอุจจาระเป็นสีเขียวได้ โดยการรับประทานอาหารที่สุก สะอาด หากมีอาการท้องเสียก็ควรไปพบแพทย์ หรือให้เภสัชกรจ่ายยาให้ และไม่ควรซื้อยาสมุนไพรมารับประทานเอง
  • หากคุณมีอาการถ่ายอุจจาระสีเขียวบ่อยๆ คุณควรไปตรวจสุขภาพเพื่อตรวจเช็กระบบทางเดินอาหาร รวมถึงระบบขับถ่ายว่า มีความผิดปกติอย่างไร (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั้งผู้หญิง และผู้ชายทุกวัยได้ที่นี่)

เมื่อเรารับประทานอาหารเข้าสู่ร่างกายแล้ว อาหารก็จะเริ่มถูกย่อย และร่างกายก็จะเริ่มดูดซึมสารอาหาร เพื่อนำไปเลี้ยงร่างกาย ส่วนกากอาหารที่เหลือจากกระบวนการดังกล่าว จะถูกขับออกมาเป็นอุจจาระ ดังนั้น หากสังเกตให้ดีก็จะพบว่า สีของอุจจาระนั้นมีหลายสี โดยสีที่เป็นปกติ คือสีเหลือง หรือสีน้ำตาล แต่ถ้าอุจจาระมีสีเขียวนั่นอาจหมายถึงการบ่งบอกถึงความผิดปกติบางอย่างได้

อุจจาระสีเขียวเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง

สีของอุจจาระนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะ หรือประเภทของอาหารที่รับประทานเข้าไป โดยอุจจาระสีเขียวเกิดได้จากสาเหตุต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • ท้องเสีย เกิดจากอาหารนั้นไหลผ่านช่วงลำไส้รวดเร็วจนร่างกายผลิตน้ำดีไม่ทัน ไหลเร็วเกินกว่าน้ำดี โดยเฉพาะอาหารที่เป็นพวกกากใยไม่ผ่านการย่อยจากน้ำดี ส่งผลให้การย่อยอาหารไม่สมบูรณ์ อุจจาระจึงเป็นสีเขียว ซึ่งก็คือสีของน้ำดีนั่นเอง ทั้งนี้ อาการท้องเสียร่วมกับอุจจาระสีเขียวจะมีอาการถ่ายเหลวเป็นน้ำ หรือถ้าเป็นรุนแรงก็จะกลายเป็นสีขาวขุ่นหรือสีน้ำซาวข้าวได้
  • ยาบางชนิด เช่น ยาที่เป็นธาตุเหล็ก
  • อาหารประเภทผักใบเขียว เมื่อรับประทานในปริมาณมาก สีของคลอโรฟิลล์ในผักก็สามารถทำให้อุจจาระมีสีเขียวได้นั่นเอง
  • อาหารและเครื่องดื่มที่ผสมสีเขียว อาหารหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของสีผสมอาหารสีเขียว หรือแม้แต่ชาเขียว ชะเอมเทศ ก็สามารถเป็นสาเหตุที่ทำให้อุจจาระมีสีเขียวได้
  • น้ำนมที่ใช้เลี้ยงทารก ทารกที่กินน้ำนมส่วนหน้า (Foremilk) ปริมาณมากเกินไป มักเกิดจากคุณแม่ให้นมในแต่ละข้างไม่นานพอ ทำให้สีอุจจาระสีเขียวและเป็นฟองร่วมด้วย หรือทารกบางรายที่ได้รับนมผสมที่มีส่วนผสมของธาตุเหล็กมาก ก็ทำให้อุจจาระมีสีเขียวได้ 

การรักษาอุจจาระสีเขียว

หากอุจจาระสีเขียวเกิดจากสาเหตุที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายก็ไม่จำเป็นต้องรักษา แต่หากเกิดจากโรค เช่น ท้องเสีย จะต้องรักษาด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • หากถ่ายเหลวเป็นสีเขียว เพราะท้องเสีย แต่ไม่มีอาการขาดน้ำ ได้แก่ รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง กระหายน้ำ ปากและคอแห้ง หรือหน้ามืด ก็ไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อ เพราะสามารถหายได้เองภายใน 1 – 2 สัปดาห์
    ควรดื่มสารละลายเกลือแร่ ORS (Oral rehydration salt) เพื่อชดเชยน้ำและเกลือแร่ที่ร่างกายสูญเสียไป และควรดื่มในปริมาณน้อยๆ แต่จิบบ่อยๆ หากดื่มไม่หมดภายใน 24 ชั่วโมง ให้ชงใหม่เท่านั้น
    หรือทำได้เองด้วยการต้มน้ำให้เดือดและทิ้งไว้ให้เย็น ใส่น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ และเกลือแกงครึ่งช้อนชาละลายในน้ำต้มสุก ก็สามารถทดแทนได้เช่นกัน
  • ถ้าท้องเสียแล้วมีอาการขาดน้ำ ต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อจึงจะหายได้ เพราะอาจเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนเข้าไปด้วย
  • ขณะที่มีอาการท้องเสีย ควรรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย รสชาติไม่จัด เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก น้ำผัก หรือน้ำผลไม้คั้นสด และห้ามกินชาหรือกาแฟ
  • หากรักษาด้วยวิธีเบื้องต้นแล้วยังไม่หายขาด มีอาการอื่นร่วมด้วย หรือท้องเสียอย่างเรื้อรัง ควรไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

การป้องกันและดูแลตัวเองไม่ให้เกิดอุจจาระสีเขียว

  • เลือกรับประทานอาหารที่สด สะอาด และปรุงสุกใหม่ๆ 
  • ไม่ควรหายาสมุนไพรมารับประทานเอง และหากมีอาการท้องเสียอันเนื่องมาจากการรับประทานยาสมุนไพรระบายท้อง ให้ลดปริมาณการรับประทานลง
  • สำหรับคุณแม่ที่ต้องให้นมทารก ควรให้นมในแต่ละข้างแก่ทารก ในระยะเวลาที่นานพอสมควร เพื่อป้องกันการกินนมส่วนหน้ามากเกินไป เพราะนมส่วนหน้ามีไขมันต่ำ แต่น้ำเยอะ ซึ่งจะกระตุ้นการขับถ่ายของทารก

เนื่องจากอุจจาระสีเขียวส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุที่ไม่เป็นอันตราย จึงไม่ควรวิตกกังวลจนเกินไป เพราะมักเกิดจากการรับประทานอาหารเข้าไปเป็นส่วนใหญ่ แต่ถ้ามีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดท้อง ท้องเสีย ถ่ายเหลวต่อเนื่องหลายครั้ง หรือมีไข้ร่วมด้วย อาการเหล่านี้ย่อมผิดปกติอย่างแน่นอน ดังนั้นจะต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจหาสาเหตุและรักษาต่อไป

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั้งผู้หญิง และผู้ชายทุกวัย เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Hall, John (2011). Guyton and Hall textbook of medical physiology (12th ed.). Philadelphia, Pa.: Saunders/Elsevier. p. 798. ISBN 978-1-4160-4574-8.
Diem K, Lentner C (1970). "Faeces". in: Scientific Tables(Seventh ed.). Basle, Switzerland: CIBA-GEIGY Ltd. pp. 657–60.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รู้จักกับ “มะตูม” สมุนไพรเพื่อสุขภาพ ดับกระหายคลายร้อน
รู้จักกับ “มะตูม” สมุนไพรเพื่อสุขภาพ ดับกระหายคลายร้อน

รู้หรือไม่ว่า มะตูมนอกจากจะเอามาทำเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพได้แล้ว ส่วนอื่นๆ ของมะตูมก็สามารถนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรบำรุงร่างกายได้อีกด้วย!

อ่านเพิ่ม