กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

13 คำแนะนำโภชนาการที่ดีเพื่อทารกในครรภ์

คำแนะนำเกี่ยวกับอาหารและอาหารเสริม ที่คุณแม่ควรคำนึงเมื่อตั้งครรภ์
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 6 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
13 คำแนะนำโภชนาการที่ดีเพื่อทารกในครรภ์

เมื่อคุณแม่ทราบว่าตอนนี้มีอีกหนึ่งชีวิตเกิดขึ้นมาในตัวของเราแล้ว ไม่ว่าเราจะทำอะไร ทุกๆ อย่างจะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ โดยเฉพาะอาหารที่แม่ทานเข้าไปในแต่ละมื้อ นั่นหมายถึงสุขภาพของทารกในครรภ์ที่กำลังจะลืมตาดูโลกเลยทีเดียวค่ะ มีการสำรวจว่าคุณแม่ที่กินอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารที่ไม่มีประโยชน์สุขภาพของเด็กจะไม่แข็งแรงถึง 92% และเด็กทารกอาจจะตายในครรภ์สูงถึง 65% ที่เหลือคลอดก่อนกำหนดบ้าง ร่างกายไม่สมบูรณ์ พิการบ้าง ดังนั้นคนที่ตั้งครรภ์จึงควรใส่ใจในเรื่องโภชนาการอย่างมาก คุณแม่ควรทานอาหารที่มีประโยชน์อยู่เสมอ

คำแนะนำเกี่ยวกับอาหาร ที่คุณแม่ควรคำนึงเมื่อตั้งครรภ์

  1. หากคุณแม่อดอาหารมื้อใดก็ตามนั่นหมายถึงทารกในครรภ์ก็อดอาหารไปด้วย เนื่องจากทารกในครรภ์จะได้รับอาหารที่คุณแม่กินมื้อต่อมื้อ หากคุณแม่อดอาหารมื้อใด ทารกก็จะอดอาหารด้วย ดังนั้นเมื่อถึงเวลาอาหาร ไม่ว่าจะหิวหรือไม่ก็ตามเราก็ควรกินอะไรบ้าง
  2. ควรใส่ใจและเลือกกินอาหารที่อุดมด้วยสารอาหารและพลังงานครบถ้วนตามที่ร่างกายเราและทารกต้องการ โดยไม่ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากเกินความจำเป็น ไม่ควรรับประทานขนมหวาน หรืออาหารที่ไมมีประโยชน์
  3. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ และยาเสพติดต่างๆ
  4. คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ควรได้รับโปรตีนอย่างเพียงพอ อย่างน้อยวันละ 60-100 กรัมต่อวัน ซึ่งจะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ อาจจะเน้นอาหารประเภทเนื้อปลานึ่ง ย่างเพื่อให้ได้โปรตีนที่ย่อยง่ายและเพียงพอต่อความต้องการ
  5. ควรกินอาหารที่มีวิตามินซีมากหน่อย เพราะวิตามินซีเป็นสารอาหารที่ร่างกายไม่สามารถเก็บสะสมไว้ได้ ต้องกินทุกวัน และวิตามินซีถูกทำลายได้ง่ายด้วยความร้อน แสงแดด และการเก็บไว้นานๆ ดังนั้นการกินวิตามินซีจะต้องกินสดๆ เช่น การรับประทานผลไม้สดๆ เป็นต้น
  6. เสริมแคลเซียมให้พอ เพราะคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ต้องรับแคลเซียมอย่างน้อย 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน เนื่องจากทารกในครรภ์ต้องการแคลเซียมเพื่อไปสร้างกระดูกและฟัน หากแม่ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ ทารกในครรภ์จะไปดึงเอาแคลเซียมจากร่างกายของแม่ไปแทน ทำให้มีผลในระยะยาวคือแม่อาจกระดูกพรุนเมื่ออายุมากขึ้น
  7. เน้นผักใบเขียวและผักผลไม้สีเหลือง โดยคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ควรกินอาหารเหล่านี้วันละ 3 ส่วนเป็นอย่างน้อย ผักผลไม้เหล่านี้จะให้วิตามินเอ ในรูปของสารเบต้าแคโรทีน ซึ่งใช้ในการเจริญเติบโตของเซลล์ในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีวิตามินบี วิตามินอี กรดโฟลิก และเกลือแร่ต่างๆ อีกมาก รวมถึงกากใยที่ช่วยลดอาการท้องผูกได้ นอกจากนี้ควรกินพืชผักผลไม้อื่นๆ วันละ 2 ชนิด เพื่อให้ได้รับวิตามินและเกลือแร่อื่นๆ เช่น โพแทสเซียม แมกนีเซียม เป็นต้น
  8. หากคุณแม่มีปัญหาแพ้ท้อง ลองรับประทานอาหารประเภทธัญพืช และถั่ว เช่น ข้าวโอ๊ต ข้าวบาเล่ห์ ข้าวซ้อมมือ ถั่วต่างๆ เพราะว่าอาหารเหล่านี้เป็นอาหารที่อุดมด้วยกากใย และวิตามินบี ที่ใช้ในการสร้างอวัยวะต่างๆ ของทารก และยังช่วยลดอาการแพ้ท้องรุนแรงได้อีกด้วย
  9. เน้นธาตุหล็กให้เพียงพอ เพราะธาตุเหล็กมีส่วนช่วยในการสร้างเม็ดเลือดให้กับทารกในครรภ์ การดูดซึมธาตุหล็กจะต้องใช้วิตามินซีเป็นตัวช่วย ดังนั้นจึงควรทานให้เพียงพอควบคู่กัน
  10. รับประทานไขมันที่มีประโยชน์บ้าง เพราะคุณแม่ที่ตั้งครรภ์หลายท่านอาจจะกลัวว่าการทานไขมันอาจจะทำให้อ้วนและมีผลกับทารกในครรภ์จึงหลักเลี่ยง แต่ว่าไขมันในอาหารนั้นก็มีความจำเป็น เนื่องจากสารอาหารบางชนิดจะต้องมีไขมันเป็นตัวช่วยในการดูดซึม ดังนั้นการหลีกเลี่ยงไขมันทั้งหมดจะไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย
  11. อย่าปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำ เพราะร่างกายของคนเราประกอบไปด้วยน้ำ คุณแม่ควรดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว เพื่อช่วยในการหมุนเวียนของเลือดหรือของเหลวในร่ากาย ช่วยให้ร่างกายชุ่มชื้น ลดอาการท้องผูก ลดความเสี่ยงการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ และปรับสมดุลเคมีในร่างกายเป็นต้น
  12. หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัด ควรกินแค่เพียงพอประมาณ โดยทั่วๆ ไปแพทย์จะแนะนำให้จำกัดอาหารรสเค็มในหญิงตั้งครรภ์ เพื่อลดการคั่งของน้ำในร่างกาย แต่ก็ไม่ใช่ว่าให้งดโดยเด็ดขาด เพราะอย่างไรเกลือก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกาย อาจรับเพียงแค่ปรุงรสเค็มขณะที่กิน อย่าปรุงรสเค็มตอนหุงต้มอาหาร
  13. สำหรับอาหารเสริมเพื่อบำรุงการตั้งครรภ์ในรูปแบบเม็ดหรือผง ความจริงแล้วไม่จำเป็นต้องรับประทานก็ได้ หากได้รับสารอาหารที่เพียงพออยู่แล้วจากอาหารปกติ ดังที่กล่าวมาข้างต้น แต่หากต้องการเสริม ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลครรภ์ก่อน เพราะอาหารเสริมบางชนิดนั้นอาจจะมีผลข้างเคียงได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
16 อาหารสําหรับคนท้อง & ผลไม้สําหรับคนท้อง, MedThai | (https://medthai.com/%E0%B8%AD%...), 23 กรกฎาคม 2561.
Megan Brooks, FDA Issues Draft Guidance on Pregnant Women in Clinical Trials (https://www.medscape.com/viewa...), 13 April 2018.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม