กรดไขมันอิสระคืออะไร พร้อมคุณประโยชน์และความแตกต่าง

เผยแพร่ครั้งแรก 31 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
กรดไขมันอิสระคืออะไร พร้อมคุณประโยชน์และความแตกต่าง

เคยสงสัยกันหรือไม่ว่า ทำไมข้างขวดของน้ำมันพืช จึงต้องระบุปริมาณของกรดไขมันอิสระเอาไว้ แล้วทำไมถึงไม่พบในอาหารชนิดอื่น ๆ บ้าง รู้หรือไม่ว่ากรดไขมันอิสระนั้น สามารถระบุคุณภาพของน้ำมันพืชได้ พร้อมกับเป็นตัวชี้วัดถึงน้ำมันพืชสำหรับประกอบอาหารที่ดีต่อสุขภาพอีกด้วย ใครที่กำลังมองหาน้ำมันพืชประกอบอาหารที่เอาไว้ใช้เพื่อการควบคุมน้ำหนัก หรือลดความอ้วน ต้องไม่พลาดที่จะทำความเข้าใจกับเรื่องนี้อย่างเด็ดขาด

กรดไขมันอิสระ มีกี่ประเภท อะไรบ้าง?

กรดไขมันอิสระ หรือกรดไขมัน สามารถแบ่งออกตามความต้องการของร่างกาย 2 ประเภท คือ

1. กรดไขมันที่จำเป็น (essential fatty acid)

เหตุที่เรียกว่ากรดไขมันจำเป็น ก็เพราะร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นมาเองได้ จึงต้องรับจากอาหารชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะจากน้ำมันพืชที่นำมาประกอบอาหาร กรดไขมันจำเป็นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือกรดไลโนเลอิก และกรดไลโนเลนิก เมื่อร่างกายได้รับกรดทั้ง 2 ชนิดนี้เข้าไปแล้ว ก็จะเกิดการสร้างกรดไขมันต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อร่างกายต่อไปเรื่อย ๆ โดยกรดทั้ง 2 ชนิดนี้ มีประโยชน์ต่อร่างกาย คือ

  • กรดไลโนเลอิก (กรดกลุ่มโอเมก้า 3) ช่วยรักษาสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย, ช่วยลดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์, ช่วยลดระดับไขมันรวมในเลือด แล้วเพิ่มไขมันดีขึ้นมาแทน, ช่วยต้านการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดแดง, ช่วยทำให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรงมากขึ้น และช่วยพัฒนาระบบประสาทและสมองให้ทำงานสัมพันธ์กัน
  • กรดไลโนเลนิก (กรดกลุ่มโอเมก้า 6) ช่วยควบคุมสมดุลของอุณหภูมิในร่างกาย, ช่วยทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานดีขึ้น และช่วยควบคุมการหด-คลายตัวของกล้ามเนื้อ

การขาดกรดไขมันชนิดที่จำเป็นทั้ง 2 ชนิดนี้ จะทำให้เกิดอาการผิวหนังอักเสบแบบ eczema รวมถึงมีผิวพรรณ เส้นผม เล็บที่หยาบกระด้าง นอกจากนี้ ยังพบเรื่องของภูมิคุ้มกันต่ำ ป่วยบ่อย ถ้าหากขาดไขมันอิ่มตัวตั้งแต่วัยเด็ก ก็จะทำให้เด็กมีการเจริญเติบโตช้า จนถึงขั้นเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ถ้ารู้ตัวว่าขาดกรดไขมันอิ่มตัวเหล่านี้ วิธีแก้ไขก็คือทานน้ำมันหรืออาหารที่มีส่วนผสมของกรดทั้ง 2 ชนิดเป็นประจำทุกวัน อาการก็จะค่อย ๆ ทุเลาลง

2. กรดไขมันที่ไม่จำเป็น (nonessential fatty acid)

เป็นกรดที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นมาเองได้ และยังสามารถรับได้จากอาหาร รวมถึงน้ำมันพืช กรดไขมันที่ไม่จำเป็น ได้แก่ กรดสเตียริก และกรดโอเลอิก เป็นต้น ซึ่งก็เป็นทั้งกรดไขมันอิ่มตัว และกรดไขมันไม่อิ่มตัวด้วยกันทั้งคู่

กรดไขมันอิ่มตัว และกรดไขมันไม่อิ่มตัว มีความแตกต่างกันอย่างไร ?

กรดไขมันอิ่มตัว เป็นกรดไขมันที่เป็นไขมันอย่างแท้จริง คือเต็มไปด้วยธาตุทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน และไฮโดรเจน โดยไม่มีพื้นที่หลงเหลือให้เกิดการทำปฏิกิริยากับสารใด ๆ ในร่างกายได้อีก กรดชนิดนี้มีจุดหลอมเหลวสูง ถึงแม้จะผ่านความร้อนก็ยังไม่สามารถทำลายกรดนี้ได้ หากใช้เวลานานไม่พอ สามารถพบกรดไขมันอิ่มตัวได้มากในน้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม และน้ำมันหมู

กรดไขมันไม่อิ่มตัว เป็นกรดไขมันที่ธาตุต่าง ๆ ยังจับตัวไม่เต็มที่ สามารถรับไฮโดรเจนเพิ่มเข้าไปอีกได้ จึงทำให้เกิดปฏิกิริยาในร่างกายได้ง่าย กรดชนิดนี้มีจุดหลอมเหลวต่ำ สามารถสลายได้ง่าย จึงนิยมนำมาประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ สามารถพบกรดไขมันไม่อิ่มตัวได้ในน้ำมันมะกอก น้ำมันข้าวโพด และน้ำมันคาร์โนล่า เป็นต้น

น้ำมันแต่ละประเภท มีกรดไขมันอิสระอยู่มากน้อยเพียงใด ?

น้ำมันแต่ละประเภทจะมีกรดไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัวในปริมาณที่แตกต่างกัน โดยสามารถจำแนกได้ ดังตารางต่อไปนี้

จากตารางสามารถอธิบายให้เข้าใจได้ง่าย ๆ คือน้ำมันมะพร้าว เป็นน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวมากที่สุด รองลงมาคือน้ำมันปาล์ม แต่ทั้งนี้ ถึงแม้น้ำมันมะพร้าวจะมีกรดไขมันอิ่มตัวมาก แต่ก็เป็นกรดลอริกที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะฉะนั้นถ้าเทียบกับน้ำมันปาล์มแล้ว น้ำมันมะพร้าวสามารถทานได้อย่างมีประโยชน์มากกว่า ส่วนน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวมากที่สุด ซึ่งก็หมายถึงสามารถละลาย หรือย่อยสลายในร่างกายได้เป็นอย่างดี ก็คือน้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา และน้ำมันรำข้าว ทั้ง 3 ชนิดนี้เหมาะสมที่สุดในการนำมาประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ ดังที่เป็นส่วนประกอบหลักในการทำอาหารคลีนในปัจจุบันนี้

การทานไขมันในปริมาณมาก จะส่งผลให้เกิดการสะสมของไขมันในร่างกาย ทำให้กลายเป็นโรคอ้วนในภายหลังได้ ใครที่ไม่อยากพบเจอกับโรคนี้ ก็ควรเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทานอาหาร โดยเริ่มตั้งแต่เปลี่ยนน้ำมันพืชที่ใช้อยู่มาเป็นน้ำมันพืชที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเป็นส่วนประกอบ พร้อมกับทานอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น ก็จะส่งผลดีต่อสุขภาพต่อไป


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Fats and fatty acids in human nutrition. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/nutrition/publications/nutrientrequirements/fatsandfattyacids_humannutrition/en/)
17 Science-Based Benefits of Omega-3 Fatty Acids. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/17-health-benefits-of-omega-3)
Dietary Fatty Acids. American Academy of Family Physicians (AAFP). (https://www.aafp.org/afp/2009/0815/p345.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป