ในหลายเดือนแรกของชีวิต สุขภาพของทารกขึ้นอยู่กับน้ำนมแม่

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ในหลายเดือนแรกของชีวิต สุขภาพของทารกขึ้นอยู่กับน้ำนมแม่

ภูมิต้านทานโรคเป็นเพียงสารอย่างหนึ่ง ที่อาจถ่ายทอดจากแม่ไปยังลูกโดยผ่านทางน้ำนมได้ อาหาร ยา รวมทั้งแอลกอฮอล์ที่แม่กินประจำวัน ก็อาจถ่ายทอดไปยังลูกได้เช่นเดียวกัน สารอาหารในนมแม่โดยเฉพาะวิตามินและเกลือแร่ อาจผันแปรไปตามส่วนประกอบของอาหารของแม่ด้วย จึงกล่าวได้ว่า 

ในหลายเดือนแรกของชีวิต สุขภาพของทารกขึ้นอยู่กับน้ำนมแม่ หรืออักนัยหนึ่ง สุขภาพของทารกขึ้นอยู่กับสุขภาพของแม่ เมื่อตัดสินใจจะให้นมลูก จำเป็นต้องทำนุบำรุงสุขภาพของตนให้เป็นเลิศทั้งในขณะตั้งครรภ์ และตลอดระยะเวลาที่ให้นมลูก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
แนะนำคุณแม่มือใหม่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 297 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แม่ส่วนใหญ่สามารถให้นมลูกของตนได้ ยกเว้นแม่ที่มีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง เช่น เป็นโรคหัวใจ วัณโรค โลหิตจาง โรคไต เป็นต้น หากทำได้ ควรเลี้ยงทารกด้วยนมแม่เป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน หากในระหว่างนั้น แม่เจ็บไข้เล็กๆ น้อยๆ ก็ไม่จำเป็นต้องหย่านมลูก แต่ไม่ควรกินยาเอง เพราะยาขนาดหรือขนานที่ไม่เป็นอันตรายแก่แม่ อาจมีผลรุนแรงแก่เด็กจนถึงขั้นมีอันตรายได้ ถึงจะเป็นยาประจำบ้านที่แม่เคยกินเป็นประจำ ก็ไม่ควรลองกินเอง ควรปรึกษาและทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

 ในบางกรณี แม่อาจต้องงดให้นมลูกชั่วคราว แม่อาจจำเป็นต้องเข้าโรงพยาบาลหรือจำเป็นต้องกินยาที่เป็นอันตรายแก่ลูก ในกรณีเช่นนั้น ควรบีบน้ำนมออกทุกครั้งที่ถึงเวลาให้นม เพื่อให้มีการผลิตและหลั่งน้ำนมต่อเนื่องไป จนกว่าจะให้นมลูกได้อีก

ในการผลิตน้ำนม

แม่ต้องการสารอาหารเพิ่มขึ้นหลายอย่างแม่จึงต้องกินอาหารเพิ่มขึ้น ที่สำคัญที่สุดคืออาหารที่ให้พลังงานสำหรับน้ำนม 4 ขวดใหญ่ (ประมาณ 4 ถ้วยตวง) แม่ต้องใช้พลังงานถึง 900 แคลอรี ตามธรรมชาติร่างกายได้สะสมพลังงานเตรียมพร้อมไว้ใช้ในการนี้แล้ว ไม่ว่าจะตัดสินใจให้นมลูกหรือไม่ในขณะตั้งครรภ์ พลังงานจะถูกสะสมไว้แล้วในรูปของไขมัน หนักประมาณ 2-4 กิโลกรัม เมื่อเริ่มหลั่งน้ำนม ร่างกายจะดึงพลังงานส่วนหนึ่งมาจากไขมันที่สะสมอีกส่วนหนึ่งมาจากอาหารประจำวันของแม่

กรมอนามัยแนะนำให้หญิงให้นมบุตรกินพลังงานเพิ่มขึ้นวันละ 1,000 แคลอรี นับเป็นปริมาณสูงสุดที่ควรจะได้รับประจำวันของผู้หญิง สูงกว่าตอนตั้งครรภ์ถึง 500 แคลอรี แต่ผู้หญิงส่วนใหญ่กลับเอาใจใส่ทำนุบำรุงร่างกายเฉพาะตอนตั้งครรภ์ หลังคลอดมักจะเลิกเสียเพราะกลัวอ้วน บางคนก็รีบอดอาหาร พยายามลดน้ำหนักอย่างฮวบฮาบ ที่จริงการให้นมลูกเป็นการลดน้ำหนักอย่างดี น้ำหนักของแม่จะค่อยลดลงทีละน้อย โดยที่แม่ไม่ต้องออกกำลังกายอย่างหักโหมหรือลดอาหารด้วยซ้ำ ถึงแม่จะกินอาหารเพิ่มขึ้น แต่ก็ถูกใช้ให้หมดในการให้นมลูก ประมาร 3-6 เดือนหลังคลอด น้ำหนักของแม่จะลดลงเหลือเท่ากับก่อนตั้งครรภ์ แต่ถ้าแม่กินอาหารไม่พอ ย่อมรู้สึกอ่อนเพลียเป็นประจำ สุขภาพทรุดโทรมอย่างรวดเร็ว บางทีก็ผอมโซและซีดเซียวจนเห็นได้ชัด
 

 นอกจากพลังงานแล้ว แม่ควรจะกินอาหารหลักทั้ง 5 หมู่เพิ่มขึ้นตามส่วน โดยเฉพาะผักและผลไม้ เนื่องจากหลังคลอดแม่มักมีอาการท้องผูก หากเคยเป็นริดสีดวงมาก่อนอาจกลับเป็นขึ้นอีกได้และมักมีอาการรุนแรง ในระยะนี้ไม่ควรกินยาถ่าย จึงต้องพึ่งพากากและน้ำในผักและผลไม้ให้ช่วยในการขับถ่าย

แต่ก่อน มีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับอาหารของแม่ลูกอ่อนมากแม่มักถูกบังคับให้งดอาหารหลาย ๆ อย่าง เพราะถือกันว่าเป็นของแสลง บางคนถูกห้ามไม่ให้กินไข่และเนื้อสัตว์ ได้กินแต่ข้ากับเกลือทุกมื้อก็มี ทั้ง ๆ ที่ในระยะนี้ต้องการโปรตีนมากเป็นพิเศษ อย่างน้อยที่สุด ควรได้กินไข่ทุกวัน วันละหนึ่งฟอง กินเนื้อสัตว์และถั่วเมล็ดแห้งเพิ่มขึ้นด้วย

 หากแม่กินนมได้ ควรกินนมวันละ 2-3 แก้ว 

ในนมมีสาอาหารหลายอย่างที่แม่อาจนำไปใช้ผลิตน้ำนม จึงเรียกว่าแม่กินนมเพื่อให้นมลูกก็คงไม่ผิดความจริงนัก เท่ากับแม่นำนมที่มีคุณภาพด้อยกว่าไปดัดแปลงให้เป็นนมที่มีคุณภาพดีขึ้นโดยแม่ทำหน้าที่เป็นโรงงานผลิตเสียเอง ถึงแม้นมสดหรือนมผงที่แม่ใช้เป็นวัตถุดิบจะมีราคาแพง แต่ก็ยังถูกกว่านมผงสำหรับเลี้ยงทารกที่อุตสาหกรรมนมผลิตออกมาจำหน่ายหลายเท่า
 

 นมเป็นแหล่งแคลเซี่ยมที่ดีที่สุด หากไม่กินนมในระหว่างให้นมลูกร่างกายอาจขาดแคลเซี่ยม ซึ่งจะมีผลต่อกระดูกและฟันทั้งของแม่และเด็ก อาการขาดแคลเซี่ยมของแม่จะเห็นชัดขึ้น เมื่อมีลูกหลายคน กระดูกของแม่จะอ่อนและเปราะ ฟันไม่แข็งแรง ฟันโยก ฟันคลอนและผุกร่อนง่ายขึ้น การกินผักใบเขียวและปลาเล็กปลาน้อย ช่วยให้ได้แคลเซี่ยมเพิ่มขั้น แต่ไม่ดีเท่าแคลเซี่ยมจากนม


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Up to what age can a baby stay well nourished by just being breastfed?. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/features/qa/21/en/)
How Long Should You Breastfeed Your Child?. Verywell Family. (https://www.verywellfamily.com/how-long-should-i-breastfeed-4146688)
How Much and How Often to Breastfeed. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/nutrition/infantandtoddlernutrition/breastfeeding/how-much-and-how-often.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม