ความเมื่อยล้าอาจเกิดจากตัวโรคมะเร็งเองหรือผลข้างเคียงของการรักษา ทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยหรือหมดแรงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะส่งผลต่อทุกด้านในชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งทั้งการใช้ชีวิตประจำวัน ความสัมพันธ์ และการทำงาน
เก้าในสิบคนที่เป็นมะเร็งเคยเกิดความเหนื่อยล้าและมีผลความรุนแรงต่อแต่ละคนแตกต่างกันไป สำหรับผู้ป่วยบางคนผลกระทบจะไม่รุนแรงมากนักแต่สำหรับคนอื่น ๆ อาจรุนแรงและเป็นอันตรายได้มาก คุณอาจรู้สึกเหนื่อยล้าอย่างรวดเร็วและไม่รู้สึกดีขึ้นหลังจากได้พักผ่อนและนอนหลับไปแล้ว ความเมื่อยล้านี้อาจส่งผลต่อทุกด้านของชีวิตของคุณ แม้แต่กิจกรรมเพลิดเพลินง่าย ๆ เช่น การอ่านหนังสือหรือการดูโทรทัศน์อาจทำให้คุณเหนื่อยมากเกินกว่าจะทนไหว
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ความเมื่อยล้าที่เกี่ยวกับมะเร็ง (Cancer-related fatique: CRF) มักจะอาการดีขึ้นหลังจากเสร็จสิ้นการรักษา แต่สำหรับบางคนก็ยังคงเกิดอาการนี้ต่อไปอีกหลายเดือนหรือหลายปี ให้แจ้งแพทย์ประจำตัวคุณเกี่ยวกับความเมื่อยล้าที่เกิดขึ้นและเล่าว่าเกิดผลกระทบต่อชีวิตของคุณอย่างไร การจดบันทึกไดอารี่ความเมื่อยล้าก็อาจมีประโยชน์ เพื่อให้แพทย์ประจำตัวคุณอาจบอกคุณเกี่ยวกับวิธีที่คุณสามารถจัดการอาการหรือรักษาสาเหตุได้อย่างตรงจุดมากขึ้น หนึ่งในสิ่งที่ดีที่สุดที่คุณสามารถทำได้เพื่อจัดการกับความเมื่อยล้าคือการออกกำลังกายหรือการออกแรงอยู่อย่างสม่ำเสมอ
สาเหตุของความเมื่อยล้าในผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ความเมื่อยล้าที่เกี่ยวกับมะเร็ง (CRF) อาจเกิดจากหลายสิ่งหลายอย่าง ได้แก่:
- ตัวมะเร็งเอง
- การตรวจและการทดสอบทางการแพทย์ต่าง ๆ ที่คุณอาจได้รับ
- การรักษามะเร็งวิธีต่าง ๆ รวมทั้งเคมีบำบัด รังสีรักษาและการรักษาด้วยฮอร์โมน การรักษาแบบให้ยาเจาะจงเซลล์มะเร็ง และการผ่าตัด ซึ่งหากมาจากสาเหตุเหล่านี้อาการเมื่อยล้ามักจะดีขึ้นเองเมื่อคุณเสร็จสิ้นการรักษา แต่บางครั้งอาจเป็นปัญหาระยะยาวได้เช่นกัน
- ระดับเม็ดเลือดแดงในเลือดต่ำ (anemia) เนื่องจากตัวโรคมะเร็งเองหรือการรักษาโรคมะเร็ง คุณอาจได้รับการถ่ายเลือดเพื่อช่วยเพิ่มจำนวนเม็ดเลือดแดงดังกล่าว
- ผลกระทบทางอารมณ์ของโรคมะเร็ง เช่น ความวิตกกังวลหรือภาวะซึมเศร้า สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาทางอารมณ์ที่พบได้บ่อยเมื่อคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งครั้งแรก แต่โดยทั่วไปแล้วจะสามารถจัดการได้ง่ายเมื่อเวลาผ่านไป
- ความอยากอาหารลดลงเนื่องจากมะเร็งหรือเป็นผลข้างเคียงของการรักษา
- อาการที่อาจเกิดจากมะเร็ง เช่น ความเจ็บปวด การหายใจหอบถี่ หรือการกักเก็บของเหลวตามช่องท้องหรือช่องอก
การจัดการกับความเมื่อยล้าในผู้ป่วยโรคมะเร็ง
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้เพื่อช่วยในการจัดการกับอาการเมื่อยล้า
การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและการดื่มของเหลวจำนวนมาก สามารถช่วยเพิ่มระดับพลังงานของร่างกายคุณได้ แพทย์หรือพยาบาลประจำตัวของคุณสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับอาหารของคุณได้
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยเพิ่มระดับพลังงานและเพิ่มความอยากอาหารของคุณ ให้เริ่มต้นช้า ๆ และใช้การออกแรงอย่างง่าย ๆ แล้วค่อย ๆ เพิ่มจำนวนกิจกรรมหรือความหนักของการออกกำลังกายเมื่อเวลาผ่านไป ลองตั้งเป้าหมายเล็ก ๆ ที่คุณจะทำได้อย่างต่อเนื่อง เช่น ตั้งใจเดินไปที่รั้วหน้าบ้าน การออกกำลังกายแม้เพียงเล็กน้อยก็ยังดีกว่าการไม่ออกแรงอะไรเลย สิ่งสำคัญคือต้องขอคำแนะนำจากแพทย์ของคุณก่อนที่คุณจะเริ่มออกกำลังกายรูปแบบใหม่ ๆ พวกเขาอาจส่งต่อคุณให้กับนักกายภาพบำบัดเพื่อขอคำแนะนำเรื่องนี้เพิ่มเติม
คุณอาจพบว่าคุณรู้สึกเครียดมากขึ้นเมื่อคุณเริ่มต้นได้รับการรักษาโรคมะเร็ง การรักษาเหล่านี้จะทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยและหมดแรงมากขึ้น พยายามใช้เวลาผ่อนคลายร่างกายและจิตใจอยู่เสมอ มีหลายเทคนิคสำหรับการผ่อนคลายที่คุณสามารถใช้ได้เพื่อลดความตึงเครียดและเพิ่มพลังงานของคุณ การแพทย์ทางเลือกต่าง ๆ อาจช่วยให้คุณจัดการกับความเมื่อยล้าและช่วยให้คุณผ่อนคลาย อย่างไรก็ตาม ควรพูดคุยกับแพทย์ประจำตัวของคุณเกี่ยวกับการใช้วิธีการเหล่านี้เสริมเข้ามา
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ไม่มียาที่ได้รับอนุญาตใด ๆ ที่สามารถจัดการความเมื่อยล้าได้โดยตรง แต่ยาดังกล่าวกำลังถูกค้นคว้าวิจัยอยู่ในปัจจุบัน ยาสเตียรอยด์อาจเป็นประโยชน์สำหรับคนบางคน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคมะเร็งของคุณสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องนี้กับคุณได้
การจัดการกิจวัตรประจำวัน
หากคุณเกิดอาการเมื่อยล้าขึ้น สิ่งสำคัญคือต้องวางแผนประจำวันล่วงหน้าอยู่เสมอ ให้นึกถึงความเป็นจริงว่าคุณสามารถทำกิจกรรมใดไหว และวางแผนที่จะทำสิ่งใดต่อเมื่อคุณรู้สึกเหนื่อยน้อยลงแล้ว
คำแนะนำดังต่อไปนี้สามารถช่วยให้คุณจัดการกับกิจวัตรประจำวันได้ดียิ่งขึ้น:
- กระจายงานบ้านทำในทุกวันของสัปดาห์ และขอให้ผู้อื่นช่วยงานบางอย่างหากเป็นไปได้
- ลองช็อปปิ้งออนไลน์เพื่อส่งของไปที่บ้านของคุณโดยตรง หรือขอให้ญาติหรือเพื่อนของคุณไปซื้อของให้
- ปรุงอาหารง่าย ๆ และกินอาหารเป็นมื้อเล็ก ๆ สลับกับอาหารว่างตลอดทั้งวัน
- ใช้อ่างอาบน้ำแทนการอาบน้ำและพยายามสวมใส่เสื้อผ้าที่ง่ายต่อการถอด
- ฟังวิทยุหรือหนังสือเสียงแทนการดูโทรทัศน์
- ถ้าคุณมีลูก ให้อธิบายกับพวกเขาว่าคุณรู้สึกเหนื่อย ให้นึกถึงกิจกรรมที่คุณสามารถใช้เวลากับพวกเขาแบบนั่งลงกับพื้นหรือเก้าอี้ แทนที่ต้องยืน
- หลีกเลี่ยงการขับรถเมื่อรู้สึกเหนื่อยหรือเมื่อยล้า ครอบครัวหรือเพื่อนของคุณอาจสามารถขับรถให้คุณแทนได้
อย่าลืมขอความช่วยเหลือหากต้องการ ครอบครัว เพื่อนฝูง เพื่อนบ้าน นักสังคมสงเคราะห์ และนักกิจกรรมบำบัดอาจสามารถช่วยกันจัดการกิจวัตรประจำวันของคุณได้อย่างไม่น่าเชื่อ
การจัดการเรื่องที่ทำงานของผู้ป่วยมะเร็งที่เมื่อยล้า
คุณอาจพบว่าคุณไม่สามารถทำงานได้ต่อเนื่องเนื่องจากเกิดความเมื่อยล้า หรือว่าคุณต้องลดระยะเวลาที่คุณใช้ในที่ทำงานลง
คุณควรปรึกษาปัญหาดังกล่าวกับนายจ้าง หัวหน้าหรือบุคลากร / ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และแจ้งให้ทราบว่าคุณอาจต้องใช้เวลาพักมากขึ้น
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
อย่ารู้สึกว่าคุณต้องทำงานถ้าคุณเหนื่อยและไม่ไหวจริง ๆ หากคุณต้องการทำงานต่อ คุณอาจต้องค้นหาวิธีที่จะทำให้การทำงานของคุณเบาลง ไม่หนักเกินไปสักระยะหนึ่ง
คุณอาจต้องการให้คำแนะนำสำหรับการปรับเปลี่ยนต่าง ๆ ที่อาจช่วยคุณได้มากขึ้น สิ่งที่นายจ้างของคุณสามารถทำได้ ได้แก่:
- เปลี่ยนชั่วโมงการทำงานของคุณเพื่อให้คุณสามารถเดินทางไปและกลับจากที่ทำงานได้ในเวลาที่เหนื่อยน้อยกว่าเดิมคือนอกช่วงเวลาเร่งด่วนตามปกติ
- ขอให้เพื่อนร่วมงานดูแล สนับสนุนและช่วยเหลือในการทำงานของคุณ
- หาที่จอดรถใกล้สถานที่ทำงานของคุณ
- ให้คุณพักช่วงสั้น ๆ เพื่อทำการนอนราบและพักผ่อน
- ช่วยให้คุณสามารถทำงานจากที่บ้านหากเป็นไปได้
- หางานที่เบาลงกว่าเดิมให้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากงานของคุณเกี่ยวข้องกับการออกแรงหรือการยกของหนัก
https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/cancer/side-effects/fatigue