ตอบข้อสงสัย ติดเชื้อ HIV อย่างไรได้บ้าง

เผยแพร่ครั้งแรก 19 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ตอบข้อสงสัย ติดเชื้อ HIV อย่างไรได้บ้าง

ตอบข้อสงสัย อะไรมีความเสี่ยงติดเชื้อเอดส์

มีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับโรคเอดส์อย่างถูกต้อง จนทำให้หลายๆ คนรู้สึกรังเกียจผู้ที่ติดเชื้อเอดส์แล้วตั้งแง่ว่าต้องเป็นคนไม่ดี โดยที่ยังไม่ทราบว่าพวกเขาเหล่านั้นได้รับเชื้อมาได้อย่างไร ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วโรคเอดส์นั้นไม่ได้ติดต่อกันง่ายๆ เลยสักนิด วันนี้เราจึงรวบรวมคำถามหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์มาไว้ที่นี่ดังนี้

เชื้อเอดส์สามารถพบได้ที่ใดบ้าง

ตอบ สารคัดหลั่งหรือน้ำทุกชนิดที่ออกจากร่างกายของผู้ติดเชื้อ โดยจะมีปริมาณเชื้อเอดส์มากในเลือด น้ำเมือกหรือน้ำหล่อลื่นที่ออกจากช่องคลอด น้ำอสุจิ น้ำนมแม่ ตกขาว เลือดประจำเดือน ส่วนที่มีปริมาณน้อย ได้แก่ น้ำลาย น้ำตา น้ำมูก และเสมหะ ส่วนที่แทบจะไม่มีเลยคือเหงื่อ ปัสสาวะ และอุจจาระ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เหตุใดสารคัดหลั่งแต่ละชนิดจึงมีปริมาณเชื้อเอดส์ไม่เท่ากัน

ตอบ เพราะเชื้อเอดส์เป็นไวรัสที่ต้องอาศัยเม็ดเลือดขาวในกระแสเลือด เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและแบ่งตัว ดังนั้นสารคัดหลั่งใดๆ ก็ตามที่มีเม็ดเลือดขาวหรือเลือดปริมาณมาก ก็จะมีเชื้อไวรัสชนิดนี้มากด้วยเช่นกัน แต่ถ้ามีเลือดหรือเม็ดเลือดขาวน้อยอย่างเช่นเหงื่อ ปัสสาวะ หรืออุจจาระ ก็จะมีปริมาณเชท้อไวรัสน้อยตามไปด้วย

โรคเอดส์สามารถติดต่อหรือแพร่เชื้อได้กี่ทาง

ตอบ เชื้อเอดส์สามารถติดต่อได้ 3 ทาง ได้แก่ ผ่านเลือด การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน และมารดาสู่ทารก โดยติดระหว่างการคลอดหรือให้นมบุตร รวมถึงการปลูกถ่ายอวัยวะ การผสมเทียมที่ใช้อสุจิจากผู้อื่นโดยไม่ได้ตรวจเลือด การใช้เข็มสักหรือเจาะร่วมกัน

การแพร่เชื้อเอดส์แบบใดมีความเสี่ยงมากที่สุด

ตอบ ผ่านทางเลือด ซึ่งมีโอกาสติดเกือบ 100% ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัสเลือดของผู้ติดเชื้อ โดยที่ตัวเองมีบาดแผลหรือเป็นบริเวณเนื้อเยื่ออ่อนอย่างเช่นในกระพุ้งแก้มที่มีแผล ช่องคลอด และทวารหนัก เป็นต้น

ปัจจัยในการติดเชื้อเอดส์มีอะไรบ้าง

ตอบ ถ้าสิ่งสัมผัสมีปริมาณเชื้อไวรัสเอดส์มาก ก็จะมีโอกาสติดเชื้อมากด้วยเช่นกัน โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ เลือด น้ำอสุจิ น้ำหล่อลื่นจากช่องคลอด และบาดแผล ซึ่งถ้าผิวหนังของเรามีรอยแผลก็มีโอกาสได้ รวมถึงบริเวณที่เป็นส่วนเยื่อบุต่างๆ และแผลที่มาจากโรคทางเพศสัมพันธ์

บิดาเป็นโรคเอดส์ แต่มารดาไม่เป็น แล้วลูกจะเป็นหรือไม่

ตอบ ไม่เป็นแน่นอน เพราะลูกจะติดเชื้อเอดส์ได้จากมารดาเท่านั้น อย่างเช่นระหว่างคลอดหรือน้ำนมแม่

มารดามีเชื้อเอดส์แล้วลูกดูดนมแม่ได้หรือไม่

ตอบ ไม่ได้ เพราะในน้ำนมแม่มีปริมาณเชื้อไวรัสเอดส์พอสมควร ดังนั้นจึงควรเลี่ยงไปใช้นมผงแทน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ STD วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 76%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อยู่อาศัยร่วมกับผู้ติดเชื้อในบ้านเดียวกันจะติดโรคหรือไม่

ตอบ การอยู่บ้านเดียวกันแล้วถูกเนื้อต้องตัวตามปกติโดยไม่มีบาดแผลที่ผิวหนัง นอนเตียงเดียวกัน รับประทานอาหารร่วมกัน ใช้ห้องน้ำร่วมกัน แต่ไม่มีเพศสัมพันธ์ก็ไม่ติด

คู่นอนมีเชื้อเอดส์จะมีโอกาสแพร่เชื้อแก่เรามากน้อยเท่าใด

ตอบ มีโอกาสได้ โดยขึ้นอยู่กับระยะเวลา ดังนั้นการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อเพียงครั้งเดียว ก็มีโอกาสติดหรือไม่ติดก็ได้ เพราะฉะนั้นจึงควรป้องกันด้วยการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง

การจูบทำให้ติดเชื้อเอดส์ได้ไหม

การจูบแบบธรรมดาๆ ไม่สามารถทำให้ติดเชื้อเอดส์ได้ เพราะในน้ำลายมีปริมาณเชื้อเอดส์น้อยมาก หากจะติดกันได้จะต้องใช้ปริมาณน้ำลายเป็นลิตรๆ แม้กระทั่งการจูบแก้มที่มีหัวสิวก็ไม่ติด แต่ถ้าที่หัวสิวแตกมีเลือดออกแล้วเรามีฟันผุเหงือกอักเสบด้วย หรือมีแผลภายในช่องปากก็มีโอกาสติดได้

ถุงยากอนามัยแตกมีโอกาสติดเชื้อเอดส์หรือไม่

ตอบ หากมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักแล้วเป็นฝ่ายรับจะมีโอกาสติดเชื้อเอดส์ 0.5% ฝ่ายรุก 0.065% ผู้หญิงเป็นฝ่ายรับทางช่องคลอด 0.1% ผู้ชายเป็นคนสอดใส่ 0.05%

การทำออรัลเซ็กซ์มีโอกาสติดเชื้อเอดส์หรือไม่

ตอบ การทำออรัลเซ็กซ์หรือการมีเพศสัมพันธ์ด้วยปากนั้น มีโอกาสติดเชื้อเอดส์ได้ โดยผู้ทำจะมีความเสี่ยง 0.01% ส่วนผู้ถูกกระทำจะมีความเสี่ยง 0.005%

การรับประทานอาหารร่วมกับผู้ที่มีเชื้อเอดส์จะติดหรือไม่

ตอบ ไม่ติดแน่นอน เนื่องจากในน้ำลายมีปริมาณเชื้อเอดส์น้อยมากๆ ถึงแม้ว่าเชื้อนี้จะลงสู่กระเพาะอาหารแล้วก็จะถูกกรดในกระเพาะอาหารทำลายไป แต่เราจะมีความเสี่ยงติดเชื้อจากโรคแทรกซ้อนอื่นๆ แทน จึงควรต้องใช้ช้อนกลางเสมอ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ผู้ปรุงอาหารมีเลือดออกจะติดหรือไม่

ตอบ ถ้าเลือดหยดลงอาหารที่ผ่านการอุ่นร้อน 50 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 15 นาทีขึ้นไป เชื้อเอดส์ก็ตายจนหมดสิ้นแล้ว แต่ถ้าภายในช่องปากของเรามีบาดแผลหรือมีฟันผุเหงือกอักเสบ จะมีความเสี่ยงได้แต่ไม่มากเท่าไรนัก

ใช้ห้องน้ำร่วมกันจะติดหรือไม่

ตอบ ปัสสาวะและอุจจาระมีปริมาณเชื้อเอดส์น้อยมาก ซึ่งไม่สามารถทำให้ติดต่อกันได้ อีกทั้งสารคัดหลั่งที่ออกจากช่องคลอดหรือน้ำอสุจิก็ไม่สามารถอยู่ในห้องน้ำได้นาน รวมถึงการใช้น้ำยาล้างห้องน้ำทำความสะอาดบ้างก็ช่วยฆ่าเชื้อโรคได้มากเลยทีเดียว

ใช้สระว่ายน้ำร่วมกันจะติดหรือไม่

ตอบ สารคัดหลั่งต่างๆ รวมถึงเลือด เมื่อลงไปในสระน้ำก็จะถูกเจือจางจนมีความเข้มข้นไม่มากพอทำให้ติดต่อกันได้ และยังมีสารคลอรีนในสระน้ำที่สามารถช่วยฆ่าเชื้อโรคได้ดี

ใช้เสื้อผ้าร่วมกันจะติดหรือไม่

ตอบ ไม่ติดแน่นอน เพราะเชื้อเอดส์ที่อยู่ในเหงื่อมีปริมาณไม่มากพอที่จะทำให้ติดต่อกันได้ แม้ว่าเราจะมีบาดแผลบนผิวหนังก็ตาม

ยุงกัดผู้ติดเชื้อแล้วมากัดเราจะติดหรือไม่

ตอบ ไม่ติดแน่นอน เนื่องจากเชื้อเอดส์ไม่สามารถเจริญเติบโตหรือแบ่งตัวในกระเพาะของยุงได้ ถึงแม้ว่าจะเพิ่งกัดดูดเลือดผู้ที่มีเชื้อเอดส์มาสดๆ ร้อนๆ ก็ตาม เพราะเชื้อไวรัสชนิดนี้จะไม่เล็ดลอดไปสู่น้ำลายของยุงนั่นเอง


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
HIV and AIDS (HIV/AIDS) Frequently Asked Questions (FAQs). eMedicineHealth. (https://www.emedicinehealth.com/hiv-aids_quiz_iq/faq.htm)
The Top 10 Questions About HIV, Answered. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/hs/hiv-health/top-questions-hiv/)
Frequently asked questions on HIV and AIDS : Know your HIV status. World Health Organization (WHO). (https://apps.who.int/iris/handle/10665/205126)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)