ยาเม็ดคุมกำเนิดแบบ 3 เดือน

เผยแพร่ครั้งแรก 21 ธ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ยาเม็ดคุมกำเนิดแบบ 3 เดือน

นอกจากยาเม็ดคุมกำเนิดแบบรายเดือนที่เราคุ้นตากันแล้ว ยังมียาเม็ดคุมกำเนิดแบบ 3 เดือนด้วยนะคะ แต่... แต่... แต่... ยังไม่มีใช้ในประเทศไทยค่ะ จึงไม่ต้องแปลกใจถ้าคุณผู้อ่านจะยังไม่เคยเห็นและไม่เคยรู้จักมาก่อน คิดซะว่าเป็นการเปิดโลกทัศน์ยาคุมไปด้วยกันนะคะ (ฮ่า)

ยาคุมแบบนี้เรียกว่า Extended-cycle oral contraceptives ค่ะ หรือ 84/7 Regimen ซึ่งใน 1 กล่อง จะประกอบด้วยยาคุม 3 แผง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • แผงที่ 1 ประกอบด้วย “เม็ดยาฮอร์โมน” 28 เม็ด
  • แผงที่ 2 ประกอบด้วย “เม็ดยาฮอร์โมน” 28 เม็ด
  • แผงที่ 3 ประกอบด้วย “เม็ดยาฮอร์โมน” 28 เม็ด และ “เม็ดยาหลอก” 7 เม็ด
  • เพื่อคุมกำเนิดในผู้ที่อยากให้มีประจำเดือนมาตามรอบที่คาดการณ์ได้ แต่ไม่ต้องมาบ่อย ๆ
  • เพื่อลดอาการอันไม่พึงประสงค์ที่พบได้ในช่วงปลอดฮอร์โมน ซึ่งเกิดจากความแปรปรวนของระดับฮอร์โมนในเลือด เช่น ปวดศีรษะ, ท้องอืด หรือปวดเกร็งท้องน้อย
  • เพื่อรักษาภาวะเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) โดยพบว่าหากไม่มีช่วงปลอดฮอร์โมน หรือมีช่วงปลอดฮอร์โมนน้อยลง จะลดอาการปวดประจำเดือนได้ดีกว่า
  • การที่มีประจำเดือนน้อยครั้งกว่าไม่ได้ส่งผลเสียต่อสุขภาพ และไม่ได้ทำให้เยื่อบุมดลูกหนาตัวผิดปกติ
  • การที่ได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง, กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน มากไปกว่าแบบเดิม
  • หลังหยุดใช้ก็จะมีไข่ตกได้เร็วไม่ต่างกัน จึงไม่มีปัญหาการมีบุตรยากเมื่อเลิกคุมกำเนิด

นั่นก็คือ ใน 1 กล่อง จะมี “เม็ดยาฮอร์โมน” รวม 84 เม็ด และ “เม็ดยาหลอก” 7 เม็ดค่ะ และด้วยรูปแบบนี้ ทำให้ผู้ใช้มีประจำเดือนมา 1 รอบทุก ๆ 91 วัน ต่างจากยาคุมรายเดือนทั่วไปที่จะมีประจำเดือนมา 1 รอบทุก ๆ 28 วัน

สำหรับ “เม็ดยาหลอก” อาจเป็นเพียงเม็ดแป้ง หรือเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนขนาดต่ำก็ได้ค่ะ ซึ่งยี่ห้อตามภาพตัวอย่าง จะใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนในขนาดต่ำเป็นเม็ดยาหลอกนะคะ

เพื่อให้เห็นความแตกต่างชัดเจนยิ่งขึ้น ลองมองภาพรวมเป็นรายปีสิคะ หากคิด 1 ปีเท่ากับ 365 วัน การใช้ยาคุมแบบรายเดือน จะต้องใช้ยาคุม 365/28 = 13 แผง และมีประจำเดือน 13 รอบ

แต่ถ้าใช้ยาคุมแบบ Extended-cycle จะต้องใช้ยาคุม 365/91 = 4 กล่อง และมีประจำเดือนเพียง 4 รอบเท่านั้น

นั่นแหละค่ะ... ยาคุมแบบ Extended-cycle เกิดมาเพื่อสิ่งนี้นี่เอง!!! (อ่านด้วยสำเนียงของรายการขายสินค้าทางทีวีช่วงดึก ๆ จะเพิ่มอรรถรสในการอ่านบทความได้อีกเท่าตัว ฮ่า...) นั่นคือ

และเมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด พบว่ายาคุมสูตร 84/7 มีอัตราการตั้งครรภ์ต่ำกว่ายาคุมสูตร 24/4 และ 21/7 ตามลำดับค่ะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เอ... ดีออกอย่างนี้ ทำไมถึงไม่ค่อยมีคนรู้จักล่ะ?!?

ไม่ใช่เฉพาะในบ้านเราหรอกค่ะ ที่มีความเชื่อว่าการมีประจำเดือนมาทุกเดือนบ่งบอกถึงการมีสุขภาพที่ดี เมืองนอกเมืองนาเค้าก็มีความเชื่อแบบนี้เหมือนกัน ซึ่งอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ยาคุมชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยว รวมไปถึงยาคุมชนิดฮอร์โมนรวมแบบ Continuous-cycle และ Extended-cycle ไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช้นัก เนื่องจากผู้ใช้มักจะไม่มีประจำเดือน หรือมีประจำเดือนมาน้อยครั้ง

กลัวว่าจะมีเลือดเสียค้างอยู่ในร่างกาย ….ว่างั้น!?!

ซึ่งเมื่อมีการศึกษาเปรียบเทียบยาคุมแบบ 84/7 และ 21/7 พบว่า

อย่างไรก็ตาม อีกสาเหตุหนึ่งที่อาจทำให้ผู้ใช้ยาคุมแบบ 84/7 ไม่พึงพอใจ ก็คือ มักพบผลข้างเคียงเรื่องการมีเลือดออกกะปริบกะปรอยได้มากในช่วงแรกค่ะ แต่ก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นใน 1 – 2 กล่องนะคะ  


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Edelman A, Micks E, Gallo MF, Jensen JT, Grimes DA. Continuous or extended cycle vs. cyclic use of combined hormonal contraceptives for contraception. Cochrane Database of Systematic Reviews 2014, Issue 7. Art. No.: CD004695. DOI: 10.1002/14651858.CD004695.pub3. Cochrane Library. (https://www.cochranelibrary.com/cdsr/doi/10.1002/14651858.CD004695.pub3/full)
Extended regimen combined oral contraception: A review of evolving concepts and acceptance by women and clinicians. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4841029/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป