โรคมะเร็งกระดูกอีวิงซาร์โคมา (Ewing’s sarcoma)

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
โรคมะเร็งกระดูกอีวิงซาร์โคมา (Ewing’s sarcoma)

โรคมะเร็งอีวิงซาร์โคมาเป็นมะเร็งกระดูกชนิดหนึ่งที่พบได้ยากมาก โดยมักเกิดกับเด็กหรือวัยรุ่นช่วงที่กำลังเจริญเติบโตเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ และมีอาการหลักคืออาการปวดกระดูกที่ไม่ทุเลาลงเมื่อเวลาผ่านไป

บทนำ

โรคมะเร็งอีวิงซาร์โคมาเป็นมะเร็งกระดูกชนิดหนึ่งที่พบได้ยากมาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โดยมีประมาณ 600 รายที่ได้รับการวินิจฉัยในสหราชอาณาจักรในแต่ละปี และในประเทศไทยอ้างอิงจากการวิจัยที่ผ่านมาพบความชุกของโรคเพียง 0.5 รายต่อประชากร 1 ล้านคน

มะเร็งกระดูกปฐมภูมิหรือมะเร็งที่มีต้นกำเนิดจากเซลล์กระดูกแบ่งออกเป็นหลัก ๆ 3 ชนิด คือ คอนโดรซาร์โคมา (Chondrosarcoma) ออสทีโอซาร์โคมา (Osteosarcoma) และอีวิงซาร์โคมา (Ewing’s sarcoma)

โรคมะเร็งอีวิงซาร์โคมาแตกต่างจากมะเร็งอีกสองชนิด คือ มักจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยเด็กที่อายุประมาณ 10 ถึง 20 ปีเป็นส่วนใหญ่

โรคมะเร็งซาร์โคมา (Sarcoma)

โรคมะเร็งซาร์โคมาเป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่ค้ำจุนร่างกาย อันได้แก่ เนื้อเยื่อกระดูก และเนื้อเยื่ออ่อนทั้งหลายซึ่งเป็นสองประเภทหลักที่ทำหน้าที่นี้

โรคมะเร็งอีวิงซาร์โคมามักเกิดขึ้นในกระดูก โดยทั่วไปจะเกิดขึ้นในบริเวณ:

  • กระดูกเชิงกราน หรือสะโพก
  • กระดูกต้นขา (femur)
  • กระดูกแข้ง (tibia)

อย่างไรก็ตาม มะเร็งชนิดดังกล่าวยังสามารถพัฒนาในเนื้อเยื่ออ่อนรอบกระดูกหรือข้อได้อีกด้วย ซึ่งมะเร็งอีวิงซาร์โคมาชนิดนี้จะมีชื่อว่า Extraosseous ซึ่งเป็นศัพท์ทางการแพทย์หมายถึงเกิดขึ้นนอกกระดูก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการของโรคมะเร็งกระดูกอีวิงซาร์โคมา

อาการของโรคมะเร็งอีวิงซาร์โคมาจะขึ้นอยู่กับขนาดของมะเร็งและตำแหน่งในร่างกาย

อาการหลัก คือ อาการปวดในบริเวณที่มีมะเร็ง โดยจะมีอาการที่รุนแรงขึ้นตามเวลา และเกิดการบวมและตึงแน่นได้

อาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้แต่ไม่บ่อยนัก ได้แก่ อุณหภูมิร่างกายสูง เป็นไข้ ความเหนื่อยล้าหมดแรงอย่างหนัก และการสูญเสียน้ำหนักโดยไม่ทราบสาเหตุ

ในบางกรณีของโรคมะเร็งอีวิงซาร์โคมาอาจไม่มีอาการเลยก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม ในขณะที่เนื้องอกมีขนาดที่เพิ่มขึ้น อาจทำให้กระดูกที่ได้รับผลกระทบนั้นอ่อนแอลงและมีความเสี่ยงต่อการแตกหักเพิ่มมากขึ้น

สาเหตุของโรคมะเร็งอีวิงซาร์โคมา

เช่นเดียวกับโรคมะเร็งกระดูกชนิดอื่น ๆ สาเหตุที่แท้จริงของโรคมะเร็งอีวิงซาร์โคมายังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด

โรคมะเร็งดังกล่าวมีแนวโน้มที่เกิดขึ้นในวัยเด็กและวัยรุ่น ทฤษฎีหนึ่งซึ่งอาจเกี่ยวข้องคือมะเร็งดังกล่าวอาจจะสัมพันธ์กับช่วงที่เนื้อเยื่อกระดูกเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ช่วงระยะเร่งของการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วที่เกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่นนั้น อาจทำให้เนื้อเยื่อกระดูกเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้มากขึ้นเล็กน้อย

การวิจัยที่ผ่านมายังพบว่าทารกที่เกิดมาพร้อมภาวะไส้เลื่อนที่สะดือ (Umbilical Hernia) มักมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นที่จะเกิดโรคมะเร็งดังกล่าวได้สูงถึงสามเท่าเมื่อเทียบกับประชากรปกติ

อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นยังถือว่าน้อยมากเพราะมีเพียง 1 ใน 110,000 คนที่มีภาวะไส้เลื่อนที่สะดือจะเกิดโรคมะเร็งอีวิงซาร์โคมาในวัยต่อมา

การวินิจฉัยโรคมะเร็งกระดูกอีวิงซาร์โคมา

เมื่อคุณเองหรือพาบุตรหลานของคุณเข้าพบแพทย์เนื่องจากอาการปวดกระดูก พวกเขาจะถามคุณเกี่ยวกับอาการของคุณและตรวจบริเวณที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียด

แพทย์ของคุณอาจส่งคุณทำการถ่ายภาพเอกซเรย์เพื่อตรวจสอบสิ่งผิดปกติ หากพบความผิดปกติ คุณจะถูกส่งตัวไปพบศัลยแพทย์กระดูกซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูก

พวกเขาอาจแนะนำให้คุณมีการสแกนภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือเอ็มอาร์ไอ (MRI) เพื่อตรวจบริเวณที่เกี่ยวข้องโดยละเอียด

และอาจจำเป็นต้องทำการตรวจชิ้นเนื้อเพื่อยืนยันว่ามีมะเร็งอยู่ในกระดูกดังกล่าวหรือไม่ การตรวจชิ้นเนื้อจะใช้เข็มขนาดเล็กเพื่อดูดเอาตัวอย่างของไขกระดูกออกจากชิ้นกระดูกที่มีปัญหา เพื่อนำมาตรวจสอบภายใต้กล้องจุลทรรศน์ กระบวนการนี้สามารถทำได้โดยใช้ยาชาทั่วไปหรือยาชาเฉพาะที่ซึ่งไม่จำเป็นต้องดมยาสลบแต่อย่างใด

การรักษาโรคมะเร็งอีวิงซาร์โคมา

เช่นเดียวกับโรคมะเร็งทุกชนิด โรคมะเร็งอีวิงซาร์โคมาที่ถูกพบไวและได้รับการวินิจฉัยเร็วจะรักษาง่ายกว่า

โรคมะเร็งอีวิงซาร์โคมามักได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด การผ่าตัด และการฉายรังสีรักษาร่วมกันหลายวิธี

การรักษาด้วยเคมีบำบัดอาจใช้ก่อนการผ่าตัดเพื่อลดขนาดของเนื้องอกและทำให้สามารถกำจัดให้เกลี้ยงได้ง่ายขึ้น

โรคมะเร็งอีวิงซาร์โคมายังตอบสนองต่อการฉายรังสีรักษาได้เป็นอย่างดี โดยสามารถใช้หดของก้อนเนื้องอกหลังการรักษาด้วยเคมีบำบัด และทำก่อนหรือหลังการผ่าตัดเพื่อลดความเสี่ยงต่อการกลับมาเป็นมะเร็งซ้ำ

ในบางกรณีการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งกระดูกอีวิงซาร์โคมาออกทั้งหมดอาจทำได้ยาก ตัวอย่างเช่น ถ้าก้อนมะเร็งเกิดขึ้นในกระดูกเชิงกราน ในกรณีนี้อาจใช้การฉายรังสีรักษาเป็นวิธีหลักในการรักษา

การผ่าตัด

หากการผ่าตัดเป็นทางเลือกในการรักษาที่ดี ประเภทของการผ่าตัดนั้นจะขึ้นกับ:

  • ขนาดของเนื้องอก
  • บริเวณที่อยู่ของก้อนมะเร็งในร่างกายคุณ
  • มะเร็งได้แพร่กระจายไปเนื้อเยื่อข้างเคียงแล้วหรือไม่

คุณอาจได้รับการผ่าตัดเพื่อกำจัดกระดูกบางส่วนหรือกระดูกทั้งชิ้นที่ได้รับผลกระทบจากโรคมะเร็ง การผ่าตัดประเภทนี้ เรียกว่า การผ่าตัดตัดเนื้อเยื่อ (Resection)

การผ่าตัดอนุรักษ์แขนขา (Limb-sparing surgery) จะทำการกำจัดบริเวณกระดูกที่แขนหรือขาซึ่งเป็นมะเร็งออกไป แล้วทดแทนส่วนที่ถูกกำจัดออกไปนั้นด้วยชิ้นส่วนของโลหะเป็นอวัยวะเทียม หรือด้วยการปลูกถ่ายกระดูก

ในบางกรณี แขนทั้งหมดหรือขาของคุณอาจต้องถูกตัดออก (Amputation) และการผ่าตัดชนิดนี้อาจเป็นตัวเลือกการรักษาเดียวที่สามารถรักษาโรคมะเร็งไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำได้ หากมะเร็งดังกล่าวมีการแพร่กระจายไปในเนื้อเยื่อรอบกระดูกแล้ว

การใช้ชีวิตกับโรคมะเร็งกระดูก

หากคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งกระดูก คุณอาจตระหนก หงุดหงิดและหวาดกลัว การทราบข้อมูลให้มากที่สุดเกี่ยวกับประเภทของโรคมะเร็งที่คุณเป็น และทางเลือกการรักษาต่าง ๆ ให้ละเอียดมากที่สุดจะช่วยให้คุณตัดสินใจได้

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีการผ่าตัดมะเร็งกระดูกมักได้รับเป็นการผ่าตัดชนิดอนุรักษ์แขนขา

อย่างไรก็ตาม สำหรับบางคนการตัดแขนหรือขาออกนั้น อาจเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับยืดชีวิตของพวกเขา สิ่งเหล่านี้อาจเป็นสถานการณ์ที่ยากลำบากในการรับมือกับปัญหา และคุณอาจประสบกับอารมณ์ๆได้หลากหลาย ทั้งความหดหู่ ความเศร้าโศกหรือสติหลุด

สิ่งสำคัญคือต้องขอความช่วยเหลือจากคนใกล้ตัวและพูดคุยเกี่ยวกับความรู้สึกของคุณอย่างเปิดอก คุณสามารถพูดคุยเรื่องนี้กับเพื่อนฝูง ครอบครัว เพื่อน หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพที่รับผิดชอบในการดูแลโรคมะเร็งของคุณ การพูดคุยกับคนอื่นจะช่วยให้คุณเข้าใจโรคมากขึ้น ทางเลือกการรักษาของคุณและทำให้คุณสบายใจขึ้นได้

นอกจากนี้ ยังมีปัญหาอื่น ๆ อีกมากมายที่ต้องจัดการตามมา ทั้งปัญหาทางการเงิน และปัญหาในชีวิตประจำวัน เช่น การขาดเรียน การขาดสอบ หรือการขาดงาน


28 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Ewing sarcoma. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/ewing-sarcoma/)
Ewing sarcoma - Genetics Home Reference. Genetics Home Reference - NIH. (https://ghr.nlm.nih.gov/condition/ewing-sarcoma)
Ewing's Sarcoma: Symptoms, Causes, Diagnosis, Treatment, Prognosis. WebMD. (https://www.webmd.com/cancer/ewings-sarcoma)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
5 สถานที่ที่คุณสามารถหาวิกผมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายระหว่างการรักษามะเร็ง
5 สถานที่ที่คุณสามารถหาวิกผมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายระหว่างการรักษามะเร็ง

เคมีบำบัดนั้นต่อสู้กับมะเร็งแต่สามารถทำให้เกิดผมร่วงได้เช่นกัน

อ่านเพิ่ม
ประวัติความเป็นมาของการค้นพบและรักษาโรคมะเร็ง (Cancer)
ประวัติความเป็นมาของการค้นพบและรักษาโรคมะเร็ง (Cancer)

ความเป็นมาของโรคมะเร็ง: การค้นพบและรักษา โรคมะเร็งครั้งแรก

อ่านเพิ่ม
มะเร็งเป็นโรคติดต่อหรือไม่?
มะเร็งเป็นโรคติดต่อหรือไม่?

คำตอบต่อคำถามทางสุขภาพที่พบได้บ่อยเกี่ยวกับโรคมะเร็ง

อ่านเพิ่ม