กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ล้างมืออย่างไรให้ห่างไกล COVID-19

วิธีล้างมือที่ถูกต้องในการป้องกันเชื้อช่วงที่ COVID-19 กำลังระบาด รวมถึงเทคนิคอื่นๆ ที่ควรรู้
เผยแพร่ครั้งแรก 24 มี.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ล้างมืออย่างไรให้ห่างไกล COVID-19

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การล้างมือที่ไม่ถูกวิธีหรือใช้เวลาสั้นเกินไป อาจทำให้เชื้อ COVID-19 หลงเหลืออยู่ได้
  • ควรล้างด้วยสบู่อย่างน้อยเป็นเวลา 20 วินาที โดยถูบริเวณฝ่ามือ ซอกนิ้ว ซอกเล็ก หลังมือ ข้อมือ จากนั้นจึงค่อยล้างสบู่ออก
  • การล้างมือด้วยน้ำและสบู่ มีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้เจลล้างมือ แต่หากไม่สามารถหาที่ล้างมือได้ เจลล้างมือที่มีแอลกอฮอล์ 70% ขึ้นไปก็สามารถใช้ทำความสะอาดมือได้ชั่วคราว
  • ควรใช้สบู่เหลวมากกว่าสบู่ก้อน เพราะสบู่ก้อนมีค่าความเป็นด่างสูง อาจทำให้มือแห้งกร้านได้
  • หากล้างมือบ่อย หรืออยู่ในห้องแอร์นานๆ จนมือแห้ง ให้ทามอยส์เจอไรเซอร์ (Moisturizer) และสวมถุงมือเพื่อป้องกันการระหายของน้ำที่อยู่ภายใน
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจคัดกรองโรคโควิด 19 (COVID-19)

การป้องกันเชื้อ COVID-19 ที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งก็คือ การล้างมือ เนื่องจากเชื้อ COVID-19 สามารถอยู่บนพื้นผิวต่างๆ ได้นานหลายวัน จึงมีโอกาสที่จะเผลอหยิบจับสิ่งของเหล่านั้นเข้าปากหรือจมูกได้

แต่การล้างมือที่ไม่ถูกวิธี ก็อาจทำให้เชื้อยังคงหลงเหลืออยู่บนมือได้ ดังนั้นคุณสามารถอ่านขั้นตอนการล้างมือที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้จากบทความนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

8 ขั้นตอนการล้างมือที่ถูกวิธี

องค์การอนามัยโลกให้คำแนะนำการล้างมือแบบที่มีประสิทธิภาพ แบ่งออกเป็น 8 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

  1. เปิดน้ำให้มือเปียกชุ่มทั้ง 2 มือก่อน
  2. กดสบู่และถูให้ทั่วบริเวณรอบฝ่ามือทั้ง 2 ข้าง
  3. แบมือคว่ำลงทับกันทั้ง 2 ข้าง จากนั้นถูกซอกนิ้วไปมาให้สะอาด จากนั้นสลับข้าง ทำแบบเดียวกัน รวมถึงประสานมือแบบสับหว่างคล้ายพนมมือ ขัดซอกนิ้วด้านในให้สะอาดทั้ง 2 มือ เนื่องจากบริเวณซอกนิ้วมือเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค
  4. กำมือทั้ง 2 ข้างในท่าคล้ายกับสัญลักษณ์กด Like และ Dislike อย่างละข้าง จากนั้นนำมือทั้ง 2 ข้างเข้ามาซ้อนประสานกัน ใช้นิ้วล็อกมือทั้ง 2 ข้างแบบหลวมๆ แล้วถูกขึ้นลงไปมา เพื่อทำความสะอาดซอกเล็บ ซึ่งเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคที่มากที่สุด
  5. กำมือข้างหนึ่งหลวมๆ จากนั้นใช้นิ้วจากมืออีกข้างสอดเข้าไป ขัดทุกนิ้วและสลับข้างทำแบบเดียวกัน
  6. ถูข้อมือทั้ง 2 ข้าง เนื่องจากเป็นบริเวณที่หลายคนละเลย ทำให้อาจมีเชื้อโรคสะสมได้ และมีโอกาสที่จะสูดดมเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ หากนำมือมาเกาบริเวณคิ้ว
  7. ล้างสบู่ที่ฟอกเต็มมือออกให้สะอาด จากนั้นซับด้วยกระดาษชำระหรือผ้าขนหนูจนแห้ง
  8. ใช้กระดาษชำระนั้นในการปิดน้ำ เพื่อไม่ให้มือสัมผัสกับก็อกน้ำที่มีเชื้อโรค

ล้างมือด้วยน้ำสะอาดกับใช้เจลล้างมือ แบบไหนกัน COVID-19 ได้มากกว่า?

การล้างมือด้วยน้ำสะอาดและสบู่มีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้เจลล้างมือ เนื่องจากเจลล้างมือสามารถกำจัดเชื้อโรคได้ในกรณีที่ไม่เห็นคราบสกปรก หรือไม่ได้สัมผัสกับสิ่งสกปรกจนเห็นได้ชัดเจน 

แต่การล้างมือด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้งหลังจากสัมผัสสิ่งของนั้นเป็นไปได้ยาก เนื่องจากหลายสถานการณ์ไม่สามารถใช้น้ำได้ เช่น ขณะขึ้นรถประจำทาง ขณะทำงานหน้าคอมพิวเตอร์

ดังนั้นหากอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถล้างมือด้วยน้ำสะอาดและสบู่ได้ ควรใช้เจลล้างมือที่มีแอลกอฮอล์เข้มข้นตั้งแต่ 70% ขึ้นไป 

อย่างไรก็ตาม หากมือสกปรกจากการสัมผัสสิ่งของจนเห็นได้ชัด เช่น รอยดำจากฝุ่น สารคัดหลั่งจากการไอจาม ควรใช้น้ำสะอาดและสบู่ในการทำความสะอาดมือ

ล้างมือบ่อยจนมือแห้ง ทำอย่างไรดี?

หลายคนล้างมือบ่อยขึ้นกว่าปกติ เพื่อป้องกันการระบาดของ COVID-19 จนอาจทำให้มือแห้งและแตกได้ สาเหตุเป็นเพราะ สบู่และเจลแอลกอฮอล์จะชะล้างเอาไขมันบนผิวของคุณออกไปด้วย ทำให้ผิดแห้ง แตก และอาจมีโอกาสติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น ฉะนั้นหากเกิดอาการดังกล่าว สามารถลองทำตามวิธีแก้ไขเบื้องต้น ดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

1.ล้างมือด้วยน้ำอุ่น

หลายคนมีความเข้าใจผิดว่าต้องใช้น้ำร้อนในการล้างมือเพื่อให้เชื้อโรคถูกกำจัด ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อมือของคุณได้

การใช้น้ำร้อนล้างมือจะยิ่งทำให้ไขมันที่เคลือบอยู่บริเวณผิวหนังถูกชะล้างออกไปด้วย ทำให้น้ำระเหยออกจากมือได้ง่ายและมือแห้งในที่สุด ดังนั้นการใช้น้ำอุ่นหรือน้ำอุณหภูมิปกติ จึงเป็นสิ่งที่เหมาะสมกว่า

2.ใช้สบู่เหลวแทนสบู่ก้อน

เนื่องจากสบู่ก้อนมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (Potential of hydrogen: PH) ค่อนข้างสูง (ด่าง) แต่ผิวหนังของเรามีค่าเป็นกรดเล็กน้อย

ดังนั้นหากใช้สบู่ก้อนบ่อยเกินไป จะทำให้ค่าความเป็นกรดและด่างเสียสมดุล ส่งผลให้ผิวแห้งกร้านได้

ปัจจุบันยังมีสบู่หลายชื่อการค้า ที่ใช้ส่วนผสมให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว ดังนี้

  • น้ำมันอะโวคาโด (Avocado oil)
  • น้ำมันมะพร้าว (Coconut oil)
  • กลีเซอรีน (Glycerin)
  • เซราไมด์ (Ceramides)
  • กรดไฮยาลูรโรนิก (Hyaluronic acid)

อีกหนึ่งเคล็ดลับในกระทำให้ฟอกสบู่ตามซอกเล็บให้สะอาดขึ้นในช่วงนี้ ควรตัดเล็บให้สั้น เพื่อจะได้ไม่ต้องใช้เวลาล้างมือนานเกินกว่า 20 วินาที

3.ใช้มอยส์เจอไรเซอร์ (Moisturizer) ทามือ

การทามอยส์เจอไรเซอร์ที่มือช่วยทำหน้าที่เหมือนแผ่นฟิล์มเคลือบมือเอาไว้ ช่วยไม่ให้น้ำที่อยู่ภายในระเหยออกมา 

ควรเลือกมอยส์เจอไรเซอร์ที่มีส่วนผสมดังต่อไปนี้ เพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันผิวแห้ง 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ปิโตรลาทัม (Petrolatum)
  • มิเนรัล ออยล์ (Mineral oil)
  • เซราไมด์ (Ceramides)
  • กลีเซอรีน (Glycerin)

นอกจากนี้มอยส์เจอไรเซอร์ยังช่วยฟื้นฟูฟิวหนังกำพร้า (Epidermis) และปรับสภาพผิวให้ดีขึ้นอีกด้วย หากคุณเป็นคนผิวแห้งง่าย ควรทาทุกครั้งหลังล้างมือ และก่อนนอน

4.ใส่ถุงมือ

สำหรับคนที่ต้องทำงานในห้องแอร์เป็นเวลานาน ทำให้มือแห้งง่าย เช่น พนักงานออฟฟิศ อาจนำมือแช่น้ำสะอาดเป็นเวลา 5 นาที เพื่อให้ความชุ่มชื้นเข้าสู่ส่วนต่างๆ ของมือ

จากนั้นเช็ดให้แห้ง ทามอยส์เจอไรเซอร์ และสวมถุงมือผ้าฝ้ายที่ใส่สบาย จะช่วยรักษาความชุ่มชื้นได้นานหลายชั่วโมง

5.ใช้การซับแทนการถูเช็ดมือ

หากมือคุณแห้งและเช็ดมือด้วยการถูไปมา อาจทำให้เกิดการเสียดสีจนผิวแตกมากกว่าเดิมได้ ฉะนั้นควรใช้ผ้าขนหนูหรือกระดาษชำระซับตามตำแหน่งต่างๆ จนแห้ง จะช่วยบรรเทาอาการแตกแห้งของมือได้

ถึงแม้การล้างมือบ่อยๆ จะส่งผลกระทบต่อผิวหนังในช่วงนี้ แต่ก็เป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อ COVID-19 นอกจากนี้ยังควรทำตามมาตรการ Social distancing เพื่อชะลอการระบาด รวมถึงติดตามสถานการณ์ COVID-19 อย่างต่อเนื่อง เพื่อหลีกเลี่ยงและป้องกันตัวเองได้อย่างดีที่สุด

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจคัดกรองโรคโควิด 19 (COVID-19) จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Harvard Health publishing, Scrubbing your hands dry? Soaps, moisturizers, and tips to help keep skin healthy, (https://www.health.harvard.edu/blog/scrubbing-your-hands-dry-soaps-moisturizers-and-tips-to-help-keep-skin-healthy-2020040719449), 7 April 2020.
Healthline, 7 Tips to keep your skin healthy while washing your hands often, (https://www.healthline.com/health-news/how-to-keep-your-skin-healthy-while-washing-your-hands-often), 18 March 2020.
World Health Organization, Clean hands protect against infection, (https://www.who.int/gpsc/clean_hands_protection/en/).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
แพทย์ไทยอาจพบสูตรยาต้านเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
แพทย์ไทยอาจพบสูตรยาต้านเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

แพทย์ไทยจากโรงพยาบาลราชวิถี อาจพบวิธีรักษาโคโรนาแล้ว! อ่านข้อมูลอัพเดทจากแพทย์และการแถลงข่าวของกระทรวงสาธารณะสุขได้ที่นี่

อ่านเพิ่ม
รวม 11 ประเทศกลุ่มเสี่ยง Covid 19 ที่สาธารณะสุขประกาศ
รวม 11 ประเทศกลุ่มเสี่ยง Covid 19 ที่สาธารณะสุขประกาศ

ประเทศกลุ่มเสี่ยง Covid 19 ที่รัฐบาลประกาศ มีอะไรบ้าง?

อ่านเพิ่ม
“Social distancing” คืออะไร แค่ไหนถึงจะห่างพอ?
“Social distancing” คืออะไร แค่ไหนถึงจะห่างพอ?

มาดูกันว่า Social distancing จะช่วยลดจำนวนผู้ติดเชื้อได้จริงหรือ? แล้วต้องเว้นระยะห่างแค่ไหนถึงจะปลอดภัยจาก COVID-19

อ่านเพิ่ม