เป็นเบาหวาน? ไข่อาจเป็นเพื่อนที่ดีของคุณ

ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถรับประทานไข่ได้พอสมควร
เผยแพร่ครั้งแรก 1 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เป็นเบาหวาน? ไข่อาจเป็นเพื่อนที่ดีของคุณ

ไข่ เป็นอาหารที่สามารถเติมเข้าเมนูอาหารเบาหวานได้ดี แต่พบว่าผู้ป่วยเบาหวานบางคนยังกังวลเกี่ยวกับการรับประทานไข่เนื่องจากไข่มี cholesterol แต่ทว่าการรับประทาน cholesterol ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการมีระดับ cholesterol ในเลือดสูง

ถึงแม้ว่าการเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 อาจพบภาวะอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การมีระดับ cholesterol สูง แต่การรับประทานอาหารที่มี cholesterol ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของ cholesterol ในกระแสเลือดแต่อย่างใด และจากการศึกษาในวารสารโภชนาการคลินิก เดือนมิถุนายน 2010 ก็พบว่าไม่มีความสัมพันธ์ของการรับประทานไข่กับโรคเบาหวานชนิดที่ 2

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อย่างไรก็ตาม สมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา ได้แนะนำให้จำกัดปริมาณไข่อยู่ที่ 3 ฟองต่อสัปดาห์ ในการวางแผนเมนูอาหารเบาหวาน แต่คำแนะนำนี้เกิดจากการควบคุมปริมาณไขมันมากกว่าระดับ cholesterol

ไขมันอิ่มตัวต่างหากที่จะส่งผลต่อคุณ

การรับประทานไขมันอิ่มตัวจะทำให้ระดับ cholesterol สูงขึ้น และถึงแม้ว่าไข่ 2 ฟองจะมีไขมันอิ่มตัวน้อยกว่าเบอร์เกอร์ชิ้นเล็ก แต่ก็ต้องมั่นใจว่าคุณไม่ได้รับประทานไข่เหล่านั้นพร้อมกันเนย หรือกับเบคอนและไส้กรอก

(มีผลของการศึกษาอีกชิ้นหนึ่งที่พบว่ามีความเกี่ยวข้องระหว่างการรับประทานไข่กับระดับ cholesterol ที่สูงหรือโรคเบาหวาน แต่อาจเป็นผลมาจากการรับประทานอาหารเช้าที่ไม่ไขมันสูง เช่นเนย เบคอน และไส้กรอก)

ไข่สามารถอยู่ในรายการอาหารที่เหมาะสมได้

ไข่เพียงอย่างเดียว เป็นแหล่งโปรตีนที่สามารถช่วยในรายการอาหารเบาหวาน และไข่ขาวถือเป็นแหล่งโปรตีนที่ไม่มีมันที่ดีกว่าไข่ทั้งฟอง โดยไข่ขาว 2 ฟอง หรือ ¼ ถ้วยให้พลังงานน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของไข่ทั้งฟองและมีไขมันต่ำมาก (สมาคมโรคเบาหวานไม่ได้แนะนำให้จำกัดไข่ขาว เนื่องจากไขมันอิ่มตัวนั้นจะพบในไข่แดง)

ตัวอย่างต่อไปนี้คือรายการอาหารเบาหวานที่ให้พลังงานน้อยกว่า 500 แคลอรีและมีไข่เป็นส่วนผสม

  • ไข่คนจากไข่ 1 ฟองและไข่ขาว 2 ฟอง ทานพร้อมกับขนมปังโฮลวีตปิ้ง 2 ชิ้นทาเนยพร่องไขมัน และผลไม้สดตามฤดูกาล
  • สูตรการทำไข่คนสำหรับเป็นอาหารเช้าของผู้ป่วยเบาหวาน
  • ผสมไข่สุก 2 ฟองเข้ากับมายองเนสปราศจากไขมัน รับประทานร่วมกับผักกาดแก้ว มะเขือเทศและขนมปังโฮลวีตปิ้ง กับผลไม้ตามฤดูกาล

การรับประทานไข่ให้ผลดีกับทุกคน

หากคุณยังคงสงสัยเกี่ยวกับการเพิ่มไข่เข้าไปในเมนูเบาหวาน นี่คือเหตุผลอื่น ๆ ที่อธิบายว่าทำไมผู้ป่วยโรคเบาหวานควรรับประทานไข่

  • นอกจากไข่จะมีไขมันอิ่มตัวน้อยและมีโปรตีนที่ดีมากแล้ว ไข่ยังมีวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นอีก 13 ชนิด ซึ่ง 2 ใน 13 นี้คือ choline และ lutein ซึ่งสำคัญต่อการทำงานของสมองและตา
  • การรับประทานไข่เป็นอาหารเช้าจะช่วยควบคุมความหิวและระดับน้ำตาล มีการศึกษาเปรียบเทียบอาหารเช้าเมนูไข่ กับอาหารเช้าแบบ bagel พบว่ากลุ่มที่รับประทานไข่จะหิวน้อยกว่าระหว่างมัน และลดในน้ำหนักได้ถึง 65% เนื่องจากโปรตีนจะช่วยให้การย่อยอาหารและการดูดซึมกลูโคสเกิดขึ้นช้าลง ดังนั้น โปรตีนชนิดที่ไม่มีไขมันจึงควรรวมอยู่ในเมนูอาหารเบาหวาน
  • ไข่ 1 ฟองให้พลังงานเพียง 75 แคลอรีและไม่มีคาร์โบไฮเดรต ไข่ต้มสุกจัดเป็นขนมขบเคี้ยวที่ดีมากในผู้ป่วยเบาหวาน ทำให้คุณสามารถเพิ่มโปรตีนโดยไม่เพิ่มน้ำตาลในกระแสเลือด
  • ไข่ราคาถูกกว่าเนื้อหรือปลาอย่างน้อย 1.5-2 เท่า เมื่อเปรียบเทียบไข่ 1 ฟองกับเนื้อสัตว์ 1 ออนซ์ ทำให้เป็นตัวเลือกที่ดีมากทางการเงิน

บทสรุปส่งท้าย

ถึงแม้ว่าโดยส่วนตัวแล้วฉันจะชอบไข่ไม่ค่อยสุกก็ตาม แต่คุณควรรับประทานไข่สุกเพื่อป้องกันการติดเชื้อ Salmonella ดังนั้น อย่ากินไข่ดิบเด็ดขาด


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Are Eggs Safe for People With Diabetes to Eat?. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/type-2-diabetes/diet/are-eggs-safe-people-with-diabetes-eat/)
Can you eat eggs if you have diabetes?. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324522)
Egg Consumption and Risk of Type 2 Diabetes in Men and Women. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2628696/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การนอน (Sleep)
การนอน (Sleep)

นอนเท่าไหร่ถึงจะพอ? ความรู้เรื่องการนอนเพื่อสุขภาพ

อ่านเพิ่ม