โดยทั่วไปแล้ว ช่วงวัยที่เหมาะสำหรับมีบุตรของผู้หญิง จะอยู่ที่ 20-30 ปี หรือที่เรียกว่า วัยเจริญพันธุ์ ในช่วงนี้ระบบสืบพันธุ์และไข่จะสมบูรณ์ที่สุด
แต่หลายคนอาจเพิ่งจะมีความพร้อมหรือความต้องการมีบุตรตอนอายุเกินกว่า 30 ปีแล้ว ยิ่งหากอายุมากก็ทำให้มีบุตรยากขึ้น หรือเสี่ยงที่เด็กในครรภ์จะเกิดมาผิดปกติ
IVF, IUI, ICSI, IMSI ฝากไข่ แช่แข็งไข่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 7760 บาท ลดสูงสุด 59%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ปัจจุบันมีอีกทางเลือกสำหรับผู้หญิงที่ต้องการเก็บไข่ไว้ก่อน ในช่วงที่ไข่เจริญมากที่สุด และสามารถรับบริการได้ตามโรงพยาบาลต่างๆ เรียกกันว่า “การฝากไข่”
การฝากไข่คืออะไร?
การฝากไข่ (Eggs freezing หรือ Oocyte cryopreservation) คือการนำเอาไข่สภาพดีในวัยเจริญพันธุ์ออกมาจากรังไข่
จากนั้นนำมาแช่แข็งเก็บไว้ที่อุณหภูมิต่ำกว่า -150 องศาเซลเซียส ด้วยเทคนิค Vitrification หรือการใช้ไนโตรเจนเหลวในการเก็บรักษา
โดยไข่ที่ถูกเก็บจะเหมือนถูกหยุดอายุเอาไว้ ทำให้ไม่เสื่อมสภาพและสามารถนำกลับมาผสมกับอสุจิ เพื่อส่งตัวอ่อนกลับเข้าไปฝังในมดลูก จนเกิดการปฏิสนธิและเจริญเป็นตัวอ่อนในครรภ์ได้เมื่อถึงเวลาที่ต้องการ
การใช้ไข่ในช่วงวัยเจริญพันธุ์ ช่วยลดความเสี่ยงที่ลูกจะเกิดมาพร้อมความผิดปกติ เพราะเมื่ออายุมากขึ้น ไข่อาจบรรจุโครโมโซมที่ผิดปกติเอาไว้ได้
การฝากไข่มีประโยชน์กับใคร?
สำหรับคนที่ต้องการมีบุตร การมีเพศสัมพันธ์ด้วยวิธีธรรมชาติยังถือว่ามีประสิทธิภาพที่สุด แต่ผู้หญิงบางคนอาจมีข้อจำกัดบางอย่าง ทำให้ต้องใช้วิธีฝากไข่ไว้แล้วค่อยผสมเทียมภายหลัง
IVF, IUI, ICSI, IMSI ฝากไข่ แช่แข็งไข่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 7760 บาท ลดสูงสุด 59%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
การฝากไข่มีประโยชน์สำหรับผู้ที่อยู่ในเงื่อนไขต่อไปนี้
1. คนที่กำลังรักษาโรคมะเร็ง
เนื่องจากการรักษาโรคมะเร็งอาจส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์เพศหญิง เช่น การรับเคมีบำบัดอาจทำให้ไม่มีการตกไข่ ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ หรือในบางรายอาจต้องจำเป็นต้องตัดรังไข่ออก
การนำไข่มาฝากไว้ก่อน จึงเป็นทางเลือกที่ดีในการวางแผนมีบุตรหลังจากที่รักษาโรคมะเร็งจนหายดีแล้ว
2. คนในครอบครัวเคยมีประวัติประจำเดือนหมดเร็ว
โดยปกติผู้หญิงจะตกไข่ได้ประมาณ 400-500 ใบ ตลอดช่วงชีวิต ซึ่งจะอยู่ระหว่างช่วงอายุ 47-50 ปี
แต่หากคนในครอบครัวหมดประจำเดือนไวกว่านี้ ก็เป็นไปได้ว่าคุณจะหมดประจำเดือนไวเช่นกัน ทำให้ระยะเวลาที่สามารถตั้งครรภ์ได้ สั้นกว่าคนอื่นๆ หากต้องการมีบุตรควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการฝากไข่
3. คนที่ยังไม่พร้อมมีบุตรในตอนนี้ แต่อยากมีบุตรในอนาคต
เนื่องจากผู้หญิงหลายคนกำลังวางแผนที่จะเรียนต่อต่างประเทศ หรือกำลังให้ความสำคัญกับการทำงาน จึงทำให้ไม่พร้อมต่อการมีบุตร
หากอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ที่ไข่มีความสมบูรณ์ ก็สามารถนำฝากไข่เพื่อเก็บไว้ผสมหลังจากที่ตนเองมีความพร้อมแล้ว
4. ผู้มีปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่อการมีบุตรและระบบสืบพันธุ์ในอนาคต
เช่น ผู้มีแนวโน้มที่จะเป็นเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) มีช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate cyst) ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการฝากไข่
การฝากไข่ควรทำเมื่อไร?
หากมีความต้องการฝากไข่ ควรทำตั้งแต่อยู่ในช่วงวัยเจริญพันธุ์และไข่มีความแข็งแรงสมบูรณ์ที่สุด คือช่วงอายุ 20-30 ปี
ดูแลสุขภาพด้วยแพทย์แผนจีนวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 77 บาท ลดสูงสุด 76%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
แต่หากมาฝากไข่หลังจากอายุ 40 ปีขึ้นไป โอกาสที่จะตั้งครรภ์สำเร็จเมื่อนำไข่ออกมาใช้จะน้อยลง ฉะนั้นการฝากไข่จึงเป็นเรื่องที่ต้องวางแผนในระยะยาว
อย่างไรก็ตาม การฝากไข่เพื่อตั้งครรภ์ในภายหลังไม่ใช่วิธีทีได้ผล 100% เนื่องจากขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ความแข็งแรงของผู้ฝากไข่ ความแข็งแรงของสเปิร์ม อายุของทั้ง 2 ฝ่าย เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม: ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจฝากไข่
การเตรียมตัวก่อนฝากไข่
หลายคนคิดว่า หากตัดสินใจได้แล้วว่าจะฝากไข่ ก็สามารถเข้าไปติดต่อเพื่อจัดการได้เลย แต่ความจริงแล้วการฝากไข่ต้องอาศัยการเตรียมการเพื่อให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนี้
1. ซักประวัติทั่วไป
แพทย์จะทำการซักประวัติทางการแพทย์ทั่วไป เช่น ประวัติสุขภาพ โรคประจำตัว ประเมินความสม่ำเสมอของรอบเดือน ระดับฮอร์โมนในเลือด
2. วางแผนการเพิ่มปริมาณตกไข่
เมื่อซักประวัติและตรวจเลือดแล้ว แพทย์จะพิจารณาให้ฉีดฮอร์โมนตามความเหมาะสม เพื่อเพิ่มปริมาณการตกไข่ในให้มากกว่า 1 ใบ
เนื่องจากปกติรังไข่จะสลับกันตกไข่เดือนละใบเท่านั้น แต่การฝากไข่นิยมเก็บพร้อมกันทีเดียวหลายๆ ใบ อาจอยู่ระหว่าง 10-30 ใบ เพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการฝากไข่และการนำไข่มาใช้ภายหลัง
3. ฉีดฮอร์โมนเพิ่มปริมาณตามคำแนะนำของแพทย์
แพทย์อาจให้ฮอร์โมนมาฉีดเองได้ที่บ้านหลายชนิด ได้แก่
- Follicle-stimulating hormone (FSH) และ Luteinizing hormone (LH) เป็นฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นให้รังไข่ผลิตไข่มากขึ้น อาจฉีดต่อเนื่องเป็นเวลา 2 สัปดาห์
- Gonadotropin-releasinh hormone (GnRH) เป็นฮอร์โมนที่ป้องกันไม่ให้ประจำเดือนมาเร็วกว่าปกติ แพทย์อาจให้ฉีดเมื่อผ่านไปเมื่อรอบเดือนผ่านไปครึ่งรอบ
- Human chorionic gonadotropin (HCG) เป็นฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นให้ไข่สุก
อ่านเพิ่มเติม: ฮอร์โมนคืออะไร?
อย่างไรก็ตาม ขนาดและความถี่ในการฉีดฮอร์โมนอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์
ขั้นตอนการฝากไข่ทำอย่างไร?
ขั้นตอนของการฝากไข่มีดังต่อไปนี้
- เมื่อถึงกำหนดวันไข่ตกตามที่แพทย์นัด แพทย์จะให้ยาสลบระยะสั้นและยาแก้ปวดก่อนเริ่มกระบวนการ
- แพทย์จะใช้อัลตราซาวด์ (Ultrasound) ในการฉายภาพรังไข่เพื่อหาตำแหน่งตกไข่ จากนั้นจะดูดออกมาผ่านทางช่องคลอด แต่หากใช้อัลตราซาวด์หาตำแหน่งไม่เจอ แพทย์อาจใช้การผ่าทางช่องท้องเพื่อนำไข่ออกมา
- หลังจากได้ไข่ออกมา แพทย์จะตรวจความสมบูรณ์ของไข่ภายในห้องปฏิบัติการ จากนั้นก็จะนำไปเข้ากระบวนการแช่แข็ง
- หากคู่รักที่มีสเปิร์มจากสามีอยู่แล้ว อาจปรึกษาแพทย์เพื่อผสมตัวอ่อนเอาไว้เลย จากนั้นค่อยนำไปแช่แข็ง (Embryo freezing) ซึ่งการผสมตัวอ่อนก่อนแช่แข็ง มีแนวโน้มจะสำเร็จมากกว่าการฝากไข่เพียงอย่างเดียว
ฝากไข่ราคาแพงไหม?
การฝากไข่จะมีราคาประมาณ 100,000-150,000 บาท ซึ่งราคาจะต่ำหรือสูงนั้นขึ้นอยู่กับว่าเป็นโรงพยาบาลของรัฐหรือเอกชน และยังมีค่าฝากไข่รายปีอีกด้วย ประมาณ 1,500 บาทต่อปี
นอกจากนี้บางโรงพยาบาลอาจมีค่าเก็บรักษาไข่เป็นรายปีอยู่ระหว่าง 2,000-5,000 บาท ขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลและจำนวนไข่
ผลข้างเคียงของการฝากไข่?
แม้การฝากไข่ค่อนข้างปลอดภัย หลังจากทำเสร็จแล้วสามารถใช้ชีวิตตามปกติได้ แต่การฉีดฮอร์โมนเข้าไปในร่างกาย อาจทำให้ร่างกายเสียสมดุลธรรมชาติ ทำให้อาจมีผลกระทบจากกระบวนการฝากไข่ ดังนี้
การฝากไข่สามารถทำได้ที่ใดบ้าง
โรงพยาบาลรัฐที่มีบริการฝากไข่ มีดังต่อไปนี้
- โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
- โรงพยาบาลธรรมศาสตร์
- โรงพยาบาลรามาธิบดี
- โรงพยาบาลศิริราช
- โรงพยาบาลวิภาวดี
ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการฝากไข่
การจะนำไข่ออกมาผสมกับอสุจิในภายหลังนั้น กฎหมายได้ระบุว่าให้ทำได้กับคู่ที่มีการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายแล้วเท่านั้น หากไม่มีคู่สามีตามกฎหมาย ก็ไม่สามารถนำไข่ออกมาผสมเพื่อทำการตั้งครรภ์ได้
หากกรณีฝ่ายชายมีข้อจำกัดในการมีลูก เช่น เป็นหมัน การรับบริจาคจากธนาคารสเปิร์มจะต้องได้รับการยินยอมจากทั้งสามีและภรรยาเท่านั้น
ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจตามมาในอนาคต เช่น เด็กที่เกิดมาไม่มีพ่อในการดูแลคุ้มครอง หรืออาจเกิดการรับจ้างตั้งครรภ์ขึ้นได้
โดยสรุปแล้ว การฝากไข่เป็นการแก้ปัญหาให้กับผู้ที่ยังไม่พร้อมจะมีบุตร แต่ยังคงต้องการมีบุตรได้ในอนาคต ซึ่งอาจจะยังพบข้อเสียอยู่บ้าง เช่น ยังมีราคาที่ค่อนข้างแพงและอาจต้องใช้การกระตุ้นไข่หลายครั้งจากการฉีดฮอร์โมน
รวมถึงคุณภาพของไข่ก็ยังไม่เป็นที่แน่นอนว่าไข่ที่เก็บมีคุณภาพดีเท่าตอนเก็บหรือไม่ โดยปัญหาเหล่านี้ผู้ที่ต้องการฝากไข่จำเป็นที่จะต้องทราบเพื่อเตรียมทั้งเงิน เตรียมทั้งกายและใจให้พร้อมก่อนตัดสินใจฝากไข่
ดูแพ็กเกจฝากไข่และแช่แข็งไข่ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android