ควรรับประทานโปรไบโอติกส์ในช่วงท้องเสียหรือไม่

เผยแพร่ครั้งแรก 30 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ควรรับประทานโปรไบโอติกส์ในช่วงท้องเสียหรือไม่

หลายคนอาจเคยสงสัยว่า การรับประทานนมเปรี้ยว หรือโยเกิร์ตในช่วงที่เกิดอาการท้องเสียนั้นสามารถช่วยรักษาอาการท้องเสียได้หรือไม่ เราได้หาคำตอบมาให้ท่านแล้วสำหรับข้อข้องใจเหล่านั้น

โปรไบโอติกส์ คืออะไร

ตามความหมายขององค์การอาหารและยา สหรัฐอเมริกา และองค์การอนามัยโลก ให้ความหมายโดยรวมว่า โปรไบโอติกส์ คือ จุลินทรีย์มีชีวิตที่เมื่อได้รับเข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่เพียงพอแล้ว จะสามารถสร้างสุขภาพที่ดีให้กับโฮสท์ได้ โปรไบโอติกส์ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบันเป็นแบคทีเรียในกลุ่มแลคโตบาซิลลัส (lactobacillus) ได้แก่ Lactobacillus rhamnosus Lactobacillus reuteri bifidobacteria Lactobacillus casei Lactobacillus acidophilus โปรไบโอติกส์เหล่านี้ถูกเติมลงไปในระหว่างการผลิตในอุตาหกรรมนมเปรี้ยว โยเกิร์ต ซึ่งอาจพบการเติมเชื้อโปรไบโอติกส์ผสมกันมากกว่าหนึ่งชนิดลงในผลิตภัณฑ์ก็ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

กลไกของโปรไบโอติกส์

มีหลายกลไกที่ใช้อธิบายการทำงานของโปรไบโอติกส์ที่ส่งผลดีต่อร่างกาย โดยมักจะมีกลไกการทำงานมากกว่า 1 กลไก ยกตัวอย่างเช่นในการป้องกันและการรักษาการติดเชื้อในกระเพาะอาหารและลำไส้ พบว่ากลไกของโปรไบโอติกส์ คือการผสมผสานระหว่างการทำงานแข่งขันกับแบคทีเรียก่อโรคในทางเดินอาหาร ร่วมกันกับช่วยปรับและส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย การศึกษาพบว่าโปรไบโอติกส์ทำงานเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โปรไบโอติกส์ช่วยทั้งเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในช่วงแรกของการพัฒนาภูมิคุ้มกันในเด็กอายุก่อน 1 ขวบ และช่วยลดการตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่มากเกินไปต่อแอนติเจนที่ทำให้เกิดโรคในวัยเด็ก โปรไบโอติกส์ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการลดกระบวนการอักเสบของร่างกายผ่านกระบวนการหลั่งสารตัวกลางการอักเสบ นอกจากนี้ยังช่วยลดปริมาณแอนติเจนก่อโรคในทางเดินอาหารโดยเข้าไปทำลายที่แอนติเจนก่อโรคโดยตรง หรือผ่านการเปลี่ยนสารโมเลกุลขนาดใหญ่ในระบบทางเดินอาหาร

รับประทานโปรไบโอติกส์ให้ได้ประโยชน์

เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด ชนิดของโปรไบโอติกส์ที่รับประทานควรจะต้องทนทานต่อกรดและน้ำดีเพื่อให้โปรไบโอติกส์สามารถเดินทางผ่านทางเดินอาหารส่วนบน และอยู่รอดไปได้จนถึงระบบทางเดินอาหารส่วนล่าง แต่หลังจากการรับประทานโปรไบโอติกส์แล้วพบว่า โปรไบโอติกส์ที่รับประทานสามารถเจริญอยู่ในอุจจาระได้เพียงหนึ่งถึงสองสัปดาห์หลังจากการรับประทาน ดังนั้นแล้วเพื่อรักษาการเจริญของโปรไบโอติกส์ จึงแนะนำให้รับประทานโปรไบโอติกส์เป็นประจำจะส่งผลดีต่อร่างกายที่สุด

ปริมาณของโปรไบโอติกส์เป็นเรื่องสำคัญ

การพิจารณาถึงประโยชน์ที่จะได้รับของการบริโภคโปรไบโอติกส์ นอกจากในแง่ของการได้รับประทานแล้วปริมาณที่ได้รับก็เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาเพื่อให้ร่างกายได้รับประโยชน์ โดยปกติมีการนับโปรไบโอติกส์ในหน่วยของ CFU (colony forming unit) ต่อหน่วยบริโภค การจะได้รับคุณประโยชน์จากโปรไบโอติกส์นั้นมีความเกี่ยวข้องกับการรับประทานเป็นประจำในแต่ละวัน ปริมาณโปรไบโอติกส์ต่อวันที่จะทำให้ร่างกายได้รับประโยชน์คือ หนึ่งร้อยล้าน CFU ต่อวัน ไปจนถึง หนึ่งล้านล้าน CFU ต่อวัน ขึ้นอยู่กับชนิดของโปรไบโอติกส์และคุณประโยชน์ที่คาดหวังจากการรับประทาน ปริมาณของโปรไบโอติกส์ในผลิตภัณฑ์สามารถตรวจสอบได้บนฉลากว่ามีการระบุปริมาณเท่าไหร่ต่อหน่วยบริโภค การที่ผลิตภัณฑ์นั้นค้างอยู่บนชั้นวางนานก็อาจทำให้โปรไบโอติกส์มีการลดปริมาณ เสื่อมสลายได้ นอกจากนี้การรับประทานโปรไบโอติกส์จะให้คุณประโยชน์กับร่างกายได้ดีที่สุด เมื่อรับประทานเป็นประจำทุกวัน

โปรไบโอติกส์กับอาการท้องเสีย

หลายคนอาจสงสัยว่า แล้วการรับประทานโปรไบโอติกส์ในช่วงท้องเสียนั้นจะมีส่วนช่วยเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้นได้หรือไม่ อ้างอิงจากข้อมูลของ American Family Physician มีการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการรับประทานโปรไบโอติกส์กับอาการท้องเสียไว้ด้วย พบว่าโปรไบโอติกส์สามารถลดการเกิดอุบัติการณ์ของอาการท้องเสียที่เกิดขึ้นจากการใช้ยาปฏิชีวนะได้ รวมถึงสามารถลดระยะเวลาของโรคและความรุนแรงของอาการท้องเสียที่เกิดจากทุกสาเหตุ โดยใช้เป็นการรักษาเพิ่มเติมนอกเหนือจากการรับประทานสารน้ำและเกลือแร่ให้เพียงพอที่ผู้ป่วยท้องเสียจำเป็นต้องได้รับก่อนเป็นลำดับแรก นอกจากนี้การรับประทานโปรไบโอติกส์สามารถช่วยลดความรุนแรงของอาการปวดและอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ในผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวน (irritable bowel syndrome; IBS) ด้วยเช่นกัน


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How to Prevent Diarrhea While You Take Antibiotics. Health Essentials from Cleveland Clinic. (https://health.clevelandclinic.org/how-to-prevent-diarrhea-while-you-take-antibiotics/)
Can probiotics help against diarrhea?. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK373095/)
Probiotics for Diarrhea: Types, Uses, Side Effects, Benefits. WebMD. (https://www.webmd.com/digestive-disorders/probiotics-diarrhea#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รู้จักกับ “มะตูม” สมุนไพรเพื่อสุขภาพ ดับกระหายคลายร้อน
รู้จักกับ “มะตูม” สมุนไพรเพื่อสุขภาพ ดับกระหายคลายร้อน

รู้หรือไม่ว่า มะตูมนอกจากจะเอามาทำเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพได้แล้ว ส่วนอื่นๆ ของมะตูมก็สามารถนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรบำรุงร่างกายได้อีกด้วย!

อ่านเพิ่ม