ยา Losartan

เผยแพร่ครั้งแรก 11 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ยา Losartan

ตัวอย่างยี่ห้อของยา Losartan ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

Cozaar, Lanzaar, Loranta, Losacar 50, Tanzaril, Tosan

รูปแบบและส่วนประกอบของยา Losartan

ลอซาร์แทน (losartan) เป็นยากลุ่มต้านการทำงานของแองจิโอเทนซิน 2 (angiotensin 2 antagonist) ยาสำหรับรับประทาน ยาเม็ดประกอบด้วยลอซาร์แทน ขนาด 50 และ 100 มิลลิกรัม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

กลไกการออกฤทธิ์ของยา Losartan

กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ ลอซาร์แทน ต้านการทำงานที่บริเวณตัวรับแองจิโอเทนซิน 2 ลอซาร์แทนยับยั้งการหดตัวของหลอดเลือดและการหลั่งอัลโดสเตอโรน แบบแข่งขันและจำเพาะเจาะจงจากฤทธิ์ของแองจิโอเทนซิน 2 โดยการแย่งจับกับตัวรับ AT1

ข้อบ่งใช้ของยา Losartan

ยาลอซาร์แทน ชนิดรับประทาน มีข้อบ่งใช้ คือ รักษาโรคความดันโลหิตสูง ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาด 50 มิลลิกรัม วันละครั้ง หรือแบ่งรับประทานวันละ 2 ครั้งตามความจำเป็น ขนาดการใช้ยาในผู้ป่วยภาวะ intravascular volume depletion ขนาดเริ่มต้น 25 มิลลิกรัม วันละครั้ง ขนาดการใช้ยาในผู้สูงอายุ อายุมากกว่า 75 ปี ขนาดการใช้ยาเริ่มต้น 25 มิลลิกรัมต่อวัน

ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาโรคหัวใจล้มเหลว ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาดเริ่มต้น 12.5 มิลลิกรัม วันละครั้ง อาจเพิ่มขนาดได้เป็นสองเท่าหลังจากใช้ยาได้ 1 สัปดาห์ ขนาดยา maintenance 50 มิลลิกรัม วันละครั้ง ขนาดยาสูงสุดต่อวัน คือ 150 มิลลิกรัม

ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาโรคไตจากเบาหวาน ชนิดที่ 2 ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาดเริ่มต้น 50 มิลลิกรัม วันละครั้ง อาจเพิ่มขนาดยาได้ถึง 100 มลลิกรัม ขึ้นอยู่กับค่าความดันโลหิตที่ตอบสนองหลังจากการใช้ยา

ข้อปฏิบัติเมื่อลืมรับประทานยา Losartan

หากลืมรับประทานยาตามเวลาปกติที่รับประทาน ถ้าปกติรับประทาน 1 เม็ด ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้จำนวน 1 เม็ดโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ดแทนเม็ดที่ลืมรับประทาน ในกรณีลืมรับประทานยาใกล้กับเวลารับประทานถัดไป ให้รับประทานยาในมื้อถัดไปในขนาด 1 เม็ด โดยข้ามยาในมื้อที่ลืมไปและไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ด

ข้อควรระวังของการใช้ยา Losartan

  • ไม่ใช้ยานี้ร่วมกับยาอะลิสไคเรน (aliskiren) ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • ไม่ใช้ยานี้ในผุ้ป่วยโรคไต ที่มี GFR <60 mL/นาที
  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยโรคตับรุนแรง
  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยตั้งครรภ์
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยของเหลวในร่างกายต่ำ เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับยาขับปัสาวะในขนาดสูง
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงไตตีบสองข้าง
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคไต และโรคตับ ความรุนแรงระดับน้อยถึงปานกลาง
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยสตรีให้นมบุตร

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา Losartan

อาจก่อให้เกิดอาการปวดหลัง มึนงง อาการไอ คัดจมูก การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง ได้แก่ อาการวูบ การสลายตัวของกล้ามเนื้อลาย โรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน ไตวายเฉียบพลัน  

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ข้อมูลการใช้ยา Losartan ในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร

สำหรับการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม category D คือ ไม่แนะในการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ เว้นแต่ในกรณีช่วยชีวิตหรือรักษาอาการรุนแรงที่ยาที่ปลอดภัยกว่ารักษาไม่ได้ผล

ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย

ยาจัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย จำหน่ายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งเป็นผู้จ่ายยาเท่านั้น

ข้อมูลการเก็บรักษายา Losartan

ควรเก็บรักษายาที่อุณหภูมิ 15-30 องศาเซลเซียส เก็บให้พ้นจากแสงแดด


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Losartan: medicine to treat high blood pressure. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/medicines/losartan/)
Losartan potassium: Uses, effectiveness, warnings, and side effects. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324028)
Losartan | Side Effects, Dosage, Uses, and More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/losartan/oral-tablet)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง

ภาวะนี้คืออะไร อันตรายหรือไม่ และเมื่อไหร่ที่ต้องใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ

อ่านเพิ่ม
ประวัติของ การแพทย์แผนโบราณ ในประเทศไทย ในอดีต จนถึงปัจจุบัน
ประวัติของ การแพทย์แผนโบราณ ในประเทศไทย ในอดีต จนถึงปัจจุบัน

ประวัติ และการเปลี่ยนแปลงของแพทย์แผนโบราณในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

อ่านเพิ่ม