Domperidone กับการกระตุ้นน้ำนม และความเสี่ยงต่อหัวใจ

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
Domperidone กับการกระตุ้นน้ำนม และความเสี่ยงต่อหัวใจ

แม้จะมีการใช้ Domperidone (ดอมเพอริโดน) เป็นยาเพิ่มน้ำนมมานานแล้วในหลาย ๆ ประเทศ รวมทั้งในประเทศไทย แต่ก็ยังถือเป็น “off-label use” หรือการยาใช้นอกข้อบ่งใช้ค่ะ

แต่เนื่องจากพบรายงานอาการไม่พึงประสงค์ต่อหัวใจอยู่เรื่อย ๆ ในผู้ที่ใช้ยาดอมเพอริโดน โดยเฉพาะการที่หัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรงและเสียชีวิตฉับพลัน ซึ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้นในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป หรือใช้ยาในขนาดที่มากกว่าวันละ 30 มิลลิกรัม จึงได้มีการทบทวนการใช้ยานี้เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โดยแนะนำให้ใช้ในขนาดน้อยที่สุดที่ให้ประสิทธิภาพในการรักษา และใช้ในระยะเวลาสั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อีกทั้งห้ามใช้ในผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดความเป็นพิษต่อหัวใจ

ควรรับประทานปริมาณเท่าไร?

ซึ่งในผู้ใหญ่ จะแนะนำให้รับประทานครั้งละ 10 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง (นั่นคือ มีการใช้ไม่เกิน 30 มิลลิกรัมใน 24 ชั่วโมง) และไม่ควรใช้ต่อเนื่องกันนานเกิน 1 สัปดาห์ โดยใช้เพื่อบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน แต่ไม่ได้แนะนำให้ใช้สำหรับอาการท้องอืด หรือแสบร้อนยอดอกอีกแล้วนะคะ

ส่วนการใช้เพื่อเพิ่มการหลั่งน้ำนม ที่ไม่เคยถูกระบุให้เป็นข้อบ่งใช้มาตรฐานของดอมเพอริโดนอยู่แล้ว ก็ยังไม่มีการกำหนดให้เป็นข้อบ่งใช้ใหม่ของยาค่ะ

และแม้ว่าจะนิยมใช้ดอมเพอริโดนในขนาด 60 – 80 มิลลิกรัม/วัน สำหรับหญิงหลังคลอดที่มีปัญหาน้ำนมหลั่งน้อย โดยแบ่งรับประทานวันละ 3 – 4 ครั้ง แต่ก็ยังไม่พบรายงานผลอันไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงต่อหัวใจ ซึ่งอาจเป็นเพราะผู้ใช้กลุ่มนี้ยังมีอายุที่ไม่มากนัก

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากขนาดการใช้ดังกล่าวสูงกว่าวันละ 30 มิลลิกรัม ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงต่อหัวใจ อีกทั้งเมื่อพิจารณาการใช้เพื่อเพิ่มการหลั่งน้ำนมในงานวิจัยหลายชิ้น ก็พบว่าการรับประทานครั้งละ 10 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง สามารถเพิ่มการหลั่งน้ำนมได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน

ควรใช้ดอมเพอริโดนเมื่อไร?

ดังนั้น เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้ดอมเพอริโดนเพื่อเพิ่มการหลั่งน้ำนม ควรใช้ในกรณีที่

  • ล้มเหลวจากการรักษาโดยไม่ใช้ยา
  • ไม่ใช่ผู้ป่วยโรคหัวใจ และไม่ได้ใช้ยาอื่น ๆ ที่อาจทำให้คลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ โดยมีช่วง QT ยาวขึ้น (QT prolongation) เช่น Erythromycin, Ketoconazole และ Moxifloxacin เป็นต้น
  • เป็นการใช้ตามคำสั่งแพทย์ ซึ่งผ่านการประเมินแล้วว่ามีประโยชน์มากกว่าผลเสีย แต่ไม่แนะนำให้ซื้อยามารับประทานเองนะคะ
  • ใช้ในขนาดไม่เกิน 30 มิลลิกรัม/วัน ติดต่อกันไม่เกิน 1 สัปดาห์ หรือตามที่แพทย์สั่ง

ซึ่งในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ดอมเพอริโดนต่อเนื่องกันมากกว่า 1 สัปดาห์ หรือมีการใช้ยาที่อาจทำให้เกิด QT prolongation ร่วมด้วย แพทย์อาจพิจารณาเลือกใช้ยาตัวอื่นที่ไม่พบความเสี่ยงต่อหัวใจ มาใช้เพิ่มการหลั่งน้ำนมแทนตามความเหมาะสมค่ะ


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How to Request Domperidone for Expanded Access Use. U.S. Food and Drug Administration (FDA). (https://www.fda.gov/drugs/investigational-new-drug-ind-application/how-request-domperidone-expanded-access-use)
Domperidone: anti-sickness medicine used to treat nausea and vomiting. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/medicines/domperidone/)
Domperidone - Drugs and Lactation Database (LactMed). National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK501371/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป