กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ท้องเสียตอนท้อง คุณแม่มือใหม่ต้องกังวลหรือเปล่า?

เผยแพร่ครั้งแรก 17 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ท้องเสียตอนท้อง คุณแม่มือใหม่ต้องกังวลหรือเปล่า?

อาการท้องเสีย ท้องร่วง มักเกิดจากการทานอาหารที่ไม่สะอาด หรือทานอาหารรสจัด ซึ่งใครๆ ก็คงเคยเป็นทั้งนั้น แต่บางทีว่าที่คุณแม่มือใหม่ก็มักมีอาการท้องเสียขณะตั้งครรภ์โดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้คุณแม่รู้สึกกังวลใจ ว่าอาการแบบนี้ผิดปกติไหม และจะส่งผลต่อเจ้าตัวเล็กในท้องหรือไม่ ... วันนี้เรามีคำตอบมาไขข้อสงสัยให้ว่าที่คุณแม่แล้วค่ะ

ท้องเสียขณะตั้งครรภ์ เป็นเรื่องปกติไหม?

หากคุณแม่ระมัดระวังเรื่องอาหารการกินอย่างดีแล้ว แต่ก็ยังไม่วายเกิดท้องเสียขึ้นมาได้ ขอให้คุณแม่ทำใจให้สบายและไม่ต้องกังวล เพราะอาการท้องเสียขณะตั้งครรภ์นั้นเป็นเรื่องปกติ และแตกต่างจากการท้องเสียทั่วๆ ไป สาเหตุที่ทำให้ท้องเสียขณะตั้งครรภ์มักเกิดจากการมีฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวน ส่งผลให้เกิดการบีบตัวของลำไส้มากกว่าปกติ หรือบางครั้งบริเวณลำไส้อาจถูกมดลูกกดทับ ทำให้รู้สึกปวดท้องอยากถ่ายบ่อยๆ นอกจากนี้ การรับวิตามินบางชนิด ก็อาจส่งผลให้เยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ระคายเคืองได้เช่นกัน อาการท้องเสียขณะตั้งครรภ์มักเกิดแค่ช่วงสั้นๆ และคุณแม่บางคนก็อาจท้องเสียสลับกับท้องผูก แต่หากมีอาการท้องเสียนานเกิน 2-3 วัน ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะเราอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะร่างกายขาดน้ำได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ท้องเสียขณะตั้งครรภ์ อันตรายต่อลูกในครรภ์หรือไม่?

อาการท้องเสียขณะตั้งครรภ์ ไม่มีอันตรายต่อทารกในครรภ์แต่อย่างใด นอกเสียจากการที่ลำไส้บีบตัวรุนแรงขึ้น จนไปรบกวนเจ้าตัวเล็กในท้องบ้างเท่านั้น บางครั้งคุณแม่เลยอาจรู้สึกว่าลูกดิ้นแรงขึ้นได้ แต่ถ้าคุณแม่ท้องเสียเกิน 2-3 วัน หรือท้องเสียรุนแรง ถ่ายวันละหลายครั้ง จนเริ่มมีภาวะขาดน้ำ ผิวแห้ง ริมฝีปากแห้ง ตาโหล หน้ามืด อ่อนแรง ถือว่าเป็นภาวะวิกฤตที่ต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพราะภาวะร่างกายขาดน้ำนั้นเป็นอันตรายร้ายแรงทั้งต่อทารกในครรภ์และต่อตัวคุณแม่เองด้วย

การดูแลตัวเองเมื่อท้องเสียขณะตั้งครรภ์

  • หลีกเลี่ยงการทานอาหารรสจัด และอาหารแข็งที่ย่อยยาก เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน และหันมาทานอาหารอ่อนรสจืดๆ เช่น โจ๊ก ซุป เนื้อปลา
  • หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ เช่น นม ชีส ผลไม้แห้ง
  • ดื่มน้ำผสมเกลือแร่เพื่อรักษาสมดุลน้ำและแร่ธาตุในร่างกาย และป้องกันภาวะร่างกายขาดน้ำ
  • นอนพักผ่อนให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ออกแรงมาก

ถ้าไม่ใช่ท้องเสียธรรมดา แต่เป็นอาหารเป็นพิษล่ะ?

ท้องเสียธรรมดาอาจไม่สาหัสเท่าไหร่ แต่ถ้าท้องเสียท้องร่วงนั้นมาพร้อมกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน ไข้ขึ้น อ่อนแรง และปวดท้องบิดรุนแรงแล้วล่ะก็ ไม่ต้องสงสัยเลยว่านั่นคืออาการของ อาหารเป็นพิษ ซึ่งมีความรุนแรงกว่าท้องเสียธรรมดามาก และไม่ใช่ภาวะปกติ ดังนั้น หากเกิดอาการอาหารเป็นพิษระหว่างตั้งครรภ์ ควรปฏิบัติดังนี้

  • รีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด หรือภายใน 24 ชั่วโมงตั้งแต่มีอาการ
  • ไม่ควรซื้อยาทานเอง โดยเฉพาะยาแก้ท้องเสียและยาแก้อาเจียน เพราะนอกจากพิษจากเชื้อโรคจะไม่หายไปแล้ว ยังอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้
  • ต้องรีบแก้ไขภาวะร่างกายขาดน้ำจากการถ่ายและอาเจียนหลายครั้ง โดยการดื่มน้ำผสมเกลือแร่บ่อยๆ หรือถ้าร่างกายอ่อนเพลียมาก อาจต้องรักษาที่โรงพยาบาลและให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ

สิ่งที่ควรระวังอย่างยิ่งในคุณแม่ที่เป็นอาหารเป็นพิษ คือภาวะร่างกายขาดน้ำนี่แหละ เพราะเป็นภาวะที่อันตรายมาก และอาจส่งผลร้ายแรงต่อตัวคุณแม่และลูกในครรภ์ด้วย ดังนั้น หากสังเกตว่าอาการท้องเสียของเราไม่ใช่ท้องเสียธรรมดา ควรรีบไปพบแพทย์จะดีที่สุด


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Food Poisoning and Miscarriage or Stillbirth. Verywell Family. (https://www.verywellfamily.com/can-food-poisoning-cause-a-miscarriage-2371426)
Listeria (food poisoning) | Pregnancy Birth and Baby. Pregnancy, Birth and Baby. (https://www.pregnancybirthbaby.org.au/listeria-food-poisoning)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม