เภสัชกรรีวิว: เปรียบเทียบยาคุมกำเนิดไดแอน และแผ่นแปะคุมกำเนิดอีฟรา

เผยแพร่ครั้งแรก 12 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เภสัชกรรีวิว: เปรียบเทียบยาคุมกำเนิดไดแอน และแผ่นแปะคุมกำเนิดอีฟรา

“เดือนนี้เป็นเดือนแห่งการใช้แผ่นแปะคุมกำเนิดหรืออย่างไร ทำไมถึงมีแต่บทความเปรียบเทียบยาเม็ดคุมกำเนิดยี่ห้อต่าง ๆ กับอีฟราตั้งหลายบทความ” 
...ผู้ดูแลเว็บไซต์และผู้อ่านอาจคิดเช่นนี้เมื่อเจอบทความเกี่ยวกับอีฟราเป็นบทความที่ 3 ในเดือนเดียวกัน

อย่าให้ต้องบอกความจริงเลยค่ะว่าการเขียนเรื่องเดิม ๆ ทำให้ประหยัดเวลาหาข้อมูล เหมาะกับช่วง “ไฟลนก้น” ที่ต้องเร่งส่งต้นฉบับอย่างนี้ (ฮ่า)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

และในเมื่อเราจะไม่บอกความจริงนั้นกัน (ฮ่า) ก็ขอให้หลับหูหลับตาเชื่อว่าดิฉันเพียงแค่อยากให้เห็นมุมมองที่ต่างไป เมื่อเปรียบเทียบแผ่นแปะคุมกำเนิดตัวเดิมกับยาเม็ดคุมกำเนิดตัวใหม่ ๆ ที่มีลักษณะหรือรูปแบบที่แตกต่างกันนะคะ จริง...จริ๊งงงงงงง... (ฮ่า) 

  1. รูปแบบและวิธีการใช้

    ใน 1 แผงมียา 21 เม็ด ซึ่งแต่ละเม็ดประกอบด้วยตัวยา

    • Ethinylestradiol 0.035 มิลลิกรัม
    • Cyproterone acetate 2 มิลลิกรัม
    • Ethinylestradiol 750 มิลลิกรัม
    • Norelgestromin 6 มิลลิกรัม
    • Ethinylestradiol 0.020 มิลลิกรัม
    • Norelgestromin 0.150 มิลลิกรัม

    ใน 1 กล่องมียา 3 แผ่น ซึ่งแต่ละแผ่นประกอบด้วยตัวยา

     

    โดยจะมีการปลดปล่อยตัวยา

    เข้าสู่ร่างกายในแต่ละวันอย่างสม่ำเสมอ

    ยา 1 แผงสำหรับ 28 วัน

    นั่นคือรับประทานยา 21 วันและเว้นว่าง 7 วัน

    ยา 1 กล่องสำหรับ 28 วัน

    นั่นคือติดแผ่นแปะสัปดาห์ละแผ่น ติดต่อกัน 3 สัปดาห์ รวมเป็น 21 วัน แล้วเว้นว่าง 7 วัน

     ผู้ใช้ไดแอนและผู้ใช้อีฟรา จะได้รับฮอร์โมนต่อเนื่องเป็นเวลานานเท่า ๆ กันค่ะ นั่นคือ หากใช้เป็นยาเม็ดคุมกำเนิด จะต้องมีการรับประทานยาวันละเม็ด ติดต่อกันนาน 21 วัน แล้วเว้นว่าง 7 วันเป็นช่วงปลอดฮอร์โมน ซึ่งมักจะมีประจำเดือนมาหลังใช้ยาหมด 2 – 3 วัน ในขณะที่การใช้แผ่นแปะคุมกำเนิด จะติดแผ่นยาไว้ในบริเวณที่แนะนำ ได้แก่ หน้าท้อง, สะโพก, ต้นแขนส่วนบน และลำตัวส่วนบน (ยกเว้นบริเวณเต้านม) สัปดาห์ละแผ่น เมื่อใช้ครบ 3 สัปดาห์จึงเว้นว่าง 1 สัปดาห์ และจะมีประจำเดือนมาหลังจากหยุดใช้ 2 – 3 วันค่ะ

    ดังนั้น จึงถือว่าอีฟรามีความสะดวกในการใช้มากกว่าไดแอนนะคะ เนื่องจากไม่ต้องบริหารยาบ่อย แต่แค่เปลี่ยนแผ่นแปะสัปดาห์ละครั้งเท่านั้นเอง

  2. ประสิทธิภาพ

    มีโอกาสตั้งครรภ์ 0.3 – 9%

    มีโอกาสตั้งครรภ์ 0.3 – 9%


    เมื่อพิจารณาด้านประสิทธิภาพ พบว่าทั้ง 2 วิธีไม่แตกต่างกันค่ะ แต่อีฟราจะไม่แนะนำให้ใช้กับผู้ที่มีน้ำหนักมากกว่า 90 กิโลกรัมเพราะอาจไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการป้องกันการตั้งครรภ์ ในขณะที่ไดแอนสามารถใช้ได้หากไม่มีความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดอุดตันนะคะ

  3. ผลข้างเคียง

    • คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ บวมน้ำ คัดตึงเต้านม เป็นฝ้า : พบน้อย
    • สิว หน้ามัน ขนดก : พบน้อย
    • คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ บวมน้ำ คัดตึงเต้านม เป็นฝ้า : พบน้อย
    • ระคายเคืองเคืองบริเวณที่ติดแผ่นยา

     

     แม้จะมีการปลดปล่อย Ethinylestradiol ออกมาจากอีฟราในแต่ละวัน น้อยกว่าที่มีในยาคุมไดแอน แต่เนื่องจากยาดูดซึมได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านตับ ทำให้ปริมาณยาในเลือดไม่แตกต่างกัน ผลข้างเคียงจากเอสโตรเจนในเรื่องคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ บวมน้ำ คัดตึงเต้านม และเป็นฝ้า จึงสามารถพบได้ไม่แตกต่างกัน (แต่ก็พบผลข้างเคียงที่กล่าวมานี้ น้อยกว่ายาคุมรุ่นเก่าที่มีปริมาณเอสโตรเจนสูงนะคะ)               

    เมื่อมาดูในส่วนของฮอร์โมนโปรเจสตินบ้าง จะเห็นว่า Norelgestromin ในอีฟรา เป็นโปรเจสตินรุ่นใหม่ จึงไม่ค่อยพบผลข้างเคียงจากฤทธิ์แอนโดรเจน ได้แก่ สิว หน้ามัน ขนดก เหมือนกับในยาคุมที่ใช้โปรเจสตินรุ่นเก่า ส่วน Cyproterone acetate ในไดแอนเป็นโปรเจสตินรุ่นใหม่ที่มีผลต้านฤทธิ์แอนโดรเจนได้ดีมากค่ะ นอกจากจะไม่พบปัญหาหน้ามันและขนดกแล้ว ยังใช้รักษาสิวในระดับปานกลางถึงรุนแรงได้ แต่การที่ไม่มีผลของแอนโดรเจนเลย ก็ถือเป็นข้อเสียในแง่ที่อาจทำให้มีปัญหาช่องคลอดแห้งและขาดอารมณ์ได้นะคะ อ้าว! ซะงั้น!! ...เซ็งเลยดิงานนี้!!! (ฮ่า)

    แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
    ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

    แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

    ผลข้างเคียงอื่น ๆ ของอีฟราก็คือ อาจมีการระคายเคืองหรือคันเล็กน้อยบริเวณที่แปะแผ่นยาค่ะ แนะนำให้เปลี่ยนบริเวณที่ติดแผ่นยาไปเรื่อย ๆ เมื่อต้องเปลี่ยนแผ่นใหม่ตามกำหนด เพื่อลดปัญหาดังกล่าวนะคะ 

    เมื่อเปรียบเทียบกันจะเห็นว่า แม้อีฟราจะมีผลข้างเคียงน้อยอยู่แล้ว แต่ไดแอนมีน้อยกว่านะคะ

  4. ราคา

    แผงละ 160 – 200 บาท

    กล่องละ 450 – 580 บาท


    อีฟรามีราคาสูงกว่าไดแอน 2 – 3 เท่าค่ะ

    เนื่องจากมีราคาที่ต่างกันมาก อีฟราจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจเฉพาะกับผู้ที่ต้องการความสะดวกในการใช้ที่ไม่ต้องบริหารยาบ่อย ๆ แต่สำหรับผู้ที่มีปัญหาสิวฮอร์โมนในระดับปานกลางถึงรุนแรง หรือต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย ไดแอนจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากกว่าค่ะ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Birth Control and Hair Loss: Understanding the Link, Treatment & More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/birth-control/birth-control-and-hair-loss)
When Fertility Will Return After Stopping Birth Control. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/when-does-fertility-return-after-stopping-birth-control-4056322)
Get Pregnant After Birth Control: What You Must Know. Verywell Family. (https://www.verywellfamily.com/get-pregnant-after-birth-control-what-you-must-know-1960296)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)