การวินิจฉัยโรคของต่อมไทรอยด์จะอาศัยข้อมูลประวัติทางการแพทย์และการตรวจร่างกายโดยแพทย์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการประเมินโรคของต่อมไทรอยด์ แพทย์จะมุ้งเน้นที่อาการทางตา ผิวหนัง หัวใจ และอาการทางระบบประสาท
การตรวจเลือด
- การตรวจระดับฮอร์โมน TSH (Thyroid-stimulating hormone): ในกรณีส่วนใหญ่ การตรวจนี้คือการทดสอบในห้องปฏิบัติการเดียวที่มีประโยชน์มากที่สุดในการวินิจฉัยโรคต่อมไทรอยด์ หากร่างกายมีระดับไทรอยด์ฮอร์โมนสูงหรือมีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป (hyperthyroidism) เมื่อตรวจระดับ TSH จะมีระดับต่ำ แต่ถ้าระดับไทรอยด์ฮอร์โมนมีระดับต่ำหรือมีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป (hypothyroidism) เมื่อตรวจระดับ TSH จะมีระดับสูง (พูดง่ายๆ คือ ระดับไทรอยด์ฮอร์โมนและระดับ TSH จะตรงข้ามกัน)
- Free (T4): T4 คือไทรอยด์ฮอร์โมนชนิดหนึ่ง หากระดับ T4 สูงกว่าปกติอาจหมายถึงคุณมีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป หากระดับ T4 ต่ำกว่าปกติ อาจหมายถึงคุณมีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป
- Triiodothyronine (T3): T3 คือไทรอยด์ฮอร์โมนอีกชนิดหนึ่ง หากระดับ T3 สูงกว่าปกติ อาจหมายถึงคุณมีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป หากระดับ T3 ต่ำกว่าปกติ อาจหมายถึงคุณมีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป
- TSH receptor antibody (TSI): เป็นการตรวจสารภูมิคุ้มกัน (แอนติบอดี้) ซึ่งพบในผู้ป่วยโรคเกรฟ (Graves’ disease)
- Antithyroid antibody (thyroperoxidase antibody): เป็นการตรวจสารภูมิคุ้มกันอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งพบในผู้ป่วยโรคเกรฟ และโรค Hashimoto's disease
การสแกนต่อมไทรอยด์ (Nuclear thyroid scan)
ในระหว่างการตรวจสแกนต่อมไทรอยด์ ผู้ป่วยจะต้องกลืนกัมมันตรังสีไอโอดีนปริมาณเล็กน้อย หรือสารอื่นที่คล้ายกัน คือ 99m-technetium ซึ่งจะถูกฉีดเข้าสู่กระแสเลือด และจะทำการถ่ายภาพต่อมไทรอยด์ว่าสารรังสีที่ฉีดเข้าไปนั้นไปอยู่ที่บริเวณใดบ้าง หากพบสารรังสีจับอยู่กับต่อมไทรอยด์มากหมายถึงมีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป (hyperthyroidism) และจะพบว่าการจับของสารรังสีน้อยในภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป (hypothyroidism) การทดสอบด้วยวิธีนี้ไม่ควรทำในผู้หญิงตั้งครรภ์
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อัลตราซาวด์ต่อมไทรอยด์
การอัลตราซาวด์ต่อมไทรอยด์จะช่วยประเมินขนาดและจำนวนเพื่อแยกชนิดของก้อนที่พบที่ต่อมไทรอยด์ การตรวจนี้สามารถตรวจพบการโตของต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid glands) หรือการโตของต่อมน้ำเหลืองใกล้ๆ ต่อมไทรอยด์ได้ด้วย
การเจาะดูดเนื้อเยื่อต่อมไทรอยด์โดยใช้เข็มขนาดเล็ก (Fine-needle aspiration)
กระบวนการนี้แพทย์จะทำการเจาะเข็มขนาดเล็กเข้าไปที่ต่อมไทรอยด์เพื่อดูดเนื้อเยื่อตัวอย่างของต่อมไทรอยด์ออกมา โดยทั่วไปจะดูดจากก้อนโตของต่อม การทดสอบนี้จะต้องทำที่โรงพยาบาล แต่ไม่ต้องเตรียมตัวใดเป็นพิเศษ โดยเจาะดูดเนื้อเยื่อตัวอย่างนี้จะทำไปพร้อมกับการอัลตราซาวด์เพื่อบอกทิศทางของเข็มและต่อมไทรอยด์ เนื้อเยื่อที่เจาะออกมาได้ จะนำไปส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์โดยนักพยาธิวิทยา เพื่อดูว่าเป็นเนื้อเยื่อมะเร็งหรือไม่
การตรวจ CT scan (Computerized axial tomography scan)
การตรวจ CT scan จะถูกทำเป็นครั้งคราวเพื่อดูว่ามีขนาดของคอพอกใหญ่ขึ้นจนไปถึงบริเวณหน้าอกส่วนบนหรือไม่ หรือเพื่อดูว่าหลอดลมตีบแคบจากการโดนเบียดจากคอพอกมากแค่ไหน อย่างไรก็ตามการตรวจนี้ไม่ได้ทำเป็นประจำในการตรวจก้อนของต่อมไทรอยด์หรือคอพอก