กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

สารอันตรายใน “ยาลดน้ำหนัก” ที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต!

เผยแพร่ครั้งแรก 16 พ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
สารอันตรายใน “ยาลดน้ำหนัก” ที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต!

“ความอ้วน” เป็นสิ่งที่ใครก็ไม่อยากจะให้เกิดขึ้นกับร่างกายของตัวเองแน่นอน จริงไหมคะ? เพราะ นอกจากจะทำให้รูปร่างไม่น่ามองแล้ว ยังเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือโรคความดันโลหิต

แถมในปัจจุบันนี้ ยังพบว่า ความอ้วนของคนส่วนใหญ่ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้มีผู้ผลิตยาลดน้ำหนักเกิดขึ้นมากมาย แต่ทราบหรือไม่ว่ายาลดน้ำหนักที่วางขายอยู่ตามท้องตลาดนั้น จริงๆ แล้วประกอบไปด้วยสารอะไรบ้าง? และก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของคุณอย่างไร วันนี้เรามีคำตอบมาฝากกันค่ะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สารอันตรายในยาลดน้ำหนัก

1. เฟนเทอร์มีน

เป็นสารที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง ถูกจัดให้เป็นวัตถุต่อจิตประสาทที่อาจก่อให้เกิดอาการติดยาได้ โดยหน้าที่ของสารนี้จะมีหน้าที่เพื่อควบคุมความอยากอาหาร จึงทำให้เมื่อรับประทานยาลดน้ำหนักเข้าไปแล้ว จึงไม่รู้สึกหิวได้ แต่ก็มีผลข้างเคียงคือ อาจจะทำให้นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ปวดศีรษะ หงุดหงิดง่าย และหากรับประทานมากจนเกินไปก็อาจจะทำให้เกิดภาพหลอนได้

2. ไซบูทรามีน

เป็นสารอันตรายชนิดหนึ่ง โดยกลไกการออกฤทธิ์ของสารนี้จะไปขัดขวางการทำงานของฮอร์โมนในร่างกาย ส่งผลให้เกิดการเผาผลาญไขมันที่สะสมตามร่างกาย จึงทำให้ร่างกายผอมลงได้อย่างรวดเร็ว แต่ไซบูทรามีนมีผลข้างเคียงร้ายแรงต่อร่างกาย เป็นสารเสพติดที่จะทำให้ร่างกายมีความต้องการยาตัวนี้เรื่อย ๆ หากรับประทานไปนาน ๆ จะทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อฝ่อจนส่งผลให้มีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย และอาจจะรุนแรงถึงขั้นเป็นอัมพาตได้

3. ยาขับปัสสาวะ

โดยจะมีหน้าที่ขับน้ำในร่างกายให้ลดลง เพื่อทำให้น้ำหนักลดลงได้ ซึ่งเป็นสารอีกประเภทที่มักมีอยู่ในยาลดน้ำหนักทั่วไป แต่การขับน้ำออกจากร่างกายไม่ได้ทำให้น้ำหนักลดลงหรือขับสารพิษได้ตามสรรพคุณที่อวดอ้าง แต่ยังขับเอาแร่ธาตุที่จำเป็นออกจากร่างกายไปอีกด้วย ซึ่งหากร่างกายขาดแร่ธาตุที่จำเป็น อาจจะส่งผลข้างเคียงต่อสภาวะการทำงานของหัวใจและสมอง ทำให้เกิดความผิดปกติจนอาจทำให้หัวใจวายได้  

ดังนั้น ยาลดน้ำหนักที่ไม่มีคุณภาพ และผสมสารอันตราย แม้จะเห็นผลเร็ว แต่ก็อาจส่งผลร้ายแรงต่อร่างกายมากกว่าที่คิด

การควบคุมน้ำหนักดูแลรูปร่างอย่างปลอดภัย จึงควรหันมาควบคุมอาหารและออกกำลังกายกันอย่างสม่ำเสมอ มีวินัยในเรื่องการรับประทาน และดูแลสุขภาพของตัวเองเป็นประจำ แค่นี้ ก็ช่วยให้เราควบคุมดูแลรูปร่างกันได้ง่ายๆ อย่างปลอดภัยแล้วล่ะค่ะ


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Harmful Substances to Watch for In Diet Supplements. Verywell Fit. (https://www.verywellfit.com/research-finds-harmful-substances-in-supplements-4154453)
Over-the-counter weight-loss pills: Do they work?. Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/weight-loss/in-depth/weight-loss/art-20046409)
Things You Should Never Do to Lose Weight. WebMD. (https://www.webmd.com/diet/obesity/features/lose-weight-dangers)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)