กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ทานยาไม่ระวังขณะตั้งครรภ์อาจแท้ง หรือลูกออกมาพิการ

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 10 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ทานยาไม่ระวังขณะตั้งครรภ์อาจแท้ง หรือลูกออกมาพิการ

ปกติแล้วคุณแม่ก่อนตั้งครรภ์ควรตรวจสุขภาพเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เป็นโรคที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมารดาและทารกในครรภ์ แต่ตลอดช่วงระยะการตั้งครรภ์หลายเดือนนี้คุณแม่หลายคนอาจจะจำเป็นต้องกินยา เช่น ยาแก้อักเสบ ยาลดไข้ ยาแก้แพ้ หรือยาประเภทอื่นๆ การรับประทานยาเองในขณะตั้งครรภ์อาจส่งผลกระทบรุนแรงถึงขั้นแท้ง หรืออาจจะทำให้ลูกพิการได้

ยาบางชนิดมีผลร้ายแรงต่อการตั้งครรภ์ ซึ่งก่อนที่จะตัดสินใจรับประทานยาทุกครั้งคุณแม่จำเป็นจะต้องแน่ใจว่ายานั้นไม่มีอันตราย ควรแจ้งกับคุณหมอทุกครั้งว่ากำลังตั้งครรภ์ เนื่องจากช่วงที่ตั้งครรภ์อ่อนๆ คุณหมอที่จ่ายยาอาจจะยังสังเกตไม่เห็นเพราะท้องยังไม่โต ยาบางชนิดเช่น ยาแก้สิวที่นิยมใช้กันชื่อ โรแอคคิวเทน จะมีผลร้ายแรงถึงกับทำให้ทารกพิการได้ นอกจากนั้นการทานวิตามินอื่นๆ เสริมเข้าไปก็อาจมีผลให้ลูกพิการหรือเป็นอันตรายถึงขึ้นแท้งลูกได้ ปัจจุบันได้มีการออกกฎหมายควบคุมยาและแบ่งยาออกเป็นกลุ่มๆ เพื่อคุ้มครองแม่และทารก ดังนั้นก่อนทีจะรับประทานยาใดๆ ในช่วงตั้งครรภ์ หรือเริ่มวางแผนจะตั้งครรภ์ หากต้องรับประทานยาหรือวิตามินใดๆ ควรปรึกษาคุณหมอหรือสูติแพทย์ก่อนจึงจะปลอดภัยที่สุด ตัวอย่างยาที่ไม่ควรซื้อรับประทานเอง เมื่อตั้งครรภ์ เช่น ยาฆ่าเชื้อ หรือยาปฏิชีวนะ ยารักษาสิว ฝ้า ยาแก้อักเสบ เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องพึงระวังหากหลังคลอดให้นมบุตร เพราะยาบางชนิดสามารถผ่านน้ำนมและเป็นอันตรายต่อทารกได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Trønnes, J. N., Lupattelli, A., & Nordeng, H. (2017). Safety profile of medication used during pregnancy: results of a multinational European study. Pharmacoepidemiology and drug safety, 26(7), 802–811. doi:10.1002/pds.4213

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม