สาเหตุที่พบบ่อยของอาการปวดหลัง

เผยแพร่ครั้งแรก 9 ก.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
สาเหตุที่พบบ่อยของอาการปวดหลัง

อาการปวดหลังเป็นอาการที่พบได้บ่อย โดยผู้ใหญ่ 4 ใน 5 คนเคยมีอาการนี้อย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต หลังของมนุษย์นั้นเป็นโครงสร้างที่ซับซ้อน โดยประกอบด้วยกระดูกสันหลังทั้งหมด 33 ชิ้น กล้ามเนื้อมากกว่า 30 มัด เอ็นนับไม่ถ้วน ข้อต่อมากมายและหมอนรองกระดูก ดังนั้นคุณจะเห็นได้ว่ามีหลายโครงสร้างที่อาจทำให้เกิดอาการปวดหากมีการบาดเจ็บหรือได้รับผลกระทบ

สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการปวดหลังนั้นเกิดจากการปวดกล้ามเนื้อ ภาวะนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีแรงดึง หรือผลักเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อที่หลังมัดใดมัดหนึ่งหรือหลายมัด ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการฉีกขาดซึ่งจะทำให้เกิดอาการปวดที่บริเวณหลังได้ อีกภาวะหนึ่งที่พบได้บ่อยเช่นกันคือภาวะเอ็นอักเสบ เป็นภาวะที่เอ็นที่หลังนั้นถูกยืดมากกว่าปกติ ภาวะนี้มักเกิดร่วมกับอาการปวดกล้ามเนื้อ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ภาวะหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท (herniated discs) นั้นทำให้เกิดอาการปวดหลังได้โดยการกดเส้นประสาทที่ออกมาจากไขสันหลัง ภาวะนี้มักเกิดจากการเคลื่อนไหวแบบสั่นซ้ำๆ (เช่นในคนขับรถบรรทุกหรือใช้เครื่องจักร) หรือเกิดจากการยกของหนักทันที (เกิดจากการยกของด้วยท่าที่ไม่เหมาะสม) ภาวะนี้จะทำให้เกิดอาการปวดร้าวจากหลังไปตามเส้นประสาทที่ถูกกดทับ ตัวอย่างเช่นอาการปวดร้าวไปตามขา

ภาวะโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (spinal stenosis) นั้นเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการปวดหลัง โดยมักจะเกิดในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป เป็นภาวะที่โพรงกระดูกสันหลังนั้นเกิดการตีบซึ่งอาจเกิดได้จากเส้นเอ็นที่เกิดการหนาตัวขึ้นตามโพรงกระดูกสันหลัง กระดูกที่ยื่นออกมา หรือกระดูกอ่อนบริเวณข้อต่อที่มีขนาดใหญ่ขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของภาวะข้อเสื่อม ภาวะนี้มักทำให้เกิดอาการปวดที่เป็นมากขึ้นหากนั่งนานๆ หรือเดินนานๆ บางครั้งผู้ป่วยที่มีภาวะนี้อาจจะต้องเข้ารับการผ่าตัด

ภาวะข้อเสื่อมนั้นอาจเกิดขึ้นกับกระดูกสันหลังได้เช่นกัน โดยมักพบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี โดยกระดูกอ่อนนั้นจะเริ่มเกิดการเสื่อมที่บริเวณหมอนรองกระดูกที่อยู่ระหว่างกระดูกสันหลังและข้อต่อระหว่างกระดูกสันหลัง เมื่อไม่มีหมอนรองกระดูกเหล่านี้ก็จะทำให้กระดูกจะเริ่มเสียดสีระหว่างกัน ทำให้เกิดการอักเสบ บวม และข้อยึดซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดหลังได้ และเมื่อโรคนี้ดำเนินไปมากขึ้นอาจทำให้เกิดกระดูกยื่นและเส้นเอ็นหนาตัวซึ่งจะทำให้เกิดภาวะโพรงกระดูกตีบแคบตามมา

ภาวะกระดูกพรุนเป็นภาวะที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังที่พบบ่อยโดยเฉพาะในผู้หญิง โรคนี้เป็นโรคที่กระดูกจะค่อยๆ มีความหนาแน่นลดลงเรื่อยๆ การที่กระดูกบางลงทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกหักมากขึ้น ภาวะนี้ส่งผลต่อกระดูกสันหลังอย่างมาก การบาดเจ็บจากการหกล้ม การยกของหนัก หรือแม้แต่การไอหรือจามอาจทำให้เกิดกระดูกสันหลังหักที่มีอาการปวดรุนแรงได้

ภาวะสุดท้ายที่จะพูดถึงคือ fibromyalgia โรคนี้เป็นสาเหตุของการเกิดอาการปวดหลังเรื้อรังที่พบบ่อย โดยเป็นโรคที่เกิดอาการปวดเนื้อเยื่อต่างๆ อย่างรุนแรง อ่อนเพลีย มีอาการนอนไม่หลับและมีอาการปวดตามบริเวณต่างๆ ในการจะวินิจฉัยโคนี้นั้นต้องมีอาการปวดอย่างน้อย 3 เดือนและมีอาการปวดอย่างน้อย 11 จาก 18 จุด

แล้วอะไรที่ทำให้เกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้น? บางครั้งอาการปวดหลังก็อาจเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ เมื่อเกิดอาการลักษณะนี้ เชื่อว่าเกิดจากความเครียดที่เกิดขึ้นที่หลังซ้ำๆ จากท่านั่งที่ไม่เหมาะสม ควรเข้าพบนักกายภาพบำบัดเพื่อเรียนรู้การนั่งในท่าที่ถูกต้องและเพื่อรับการรักษาอาการปวดหลังหรือปวดร้าวลงขา


17 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Back pain: Causes, symptoms, and treatments. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/172943)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป