สาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง

เผยแพร่ครั้งแรก 26 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
สาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมองมีอยู่ 2 ชนิดหลัก ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือด (Ischaemic strokes) และ โรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออกในสมอง (Haemorrhagic strokes) ซึ่งส่งผลต่อสมองที่แตกต่างกันและอาจมีสาเหตุของการเกิดโรคที่แตกต่างกันด้วย  

โรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือด (Ischaemic strokes)

โรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือด คือโรคหลอดเลือดสมองชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด ซึ่งเกิดขึ้นจากการมีลิ่มเลือดอุดตันไปขัดขวางการไหลของเลือดและออกซิเจนไปที่สมอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ลิ่มเลือดเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นที่บริเวณหลอดเลือดตีบแคบหรือมีการอุดตันจากไขมันสะสมที่เรียกว่า พลัก (plaques) กระบวนการดังกล่าวนี้เรียกว่าการเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis)

เมื่อคุณมีอายุมากขึ้น หลอดเลือดแดงจะหดตัวเล็กลงตามธรรมชาติ แต่ก็มีบางอย่างที่จะเร่งให้เกิดกระบวนการนี้เร็วขึ้น ได้แก่:

สำหรับสาเหตุอื่นของโรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือด คือ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดหัวใจห้องบนสั่นพริ้ว (atrial fibrillation) ซึ่งจะทำให้ลิ่มเลือดในหัวใจหลุดออกมาจากหัวใจไปตามหลอดเลือดและไปอุดตันหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ทำให้สมองขาดเลือดในที่สุด

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดหัวใจห้องบนสั่นพริ้ว (atrial fibrillation) มีสาเหตุมาจากหลายสาเหตุ ได้แก่ โรคปอด, โรคลิ้นหัวใจ, การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป, โรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary heart disease) และโรคต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ (hyperthyroidism)

โรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออกในสมอง (Haemorrhagic strokes)

โรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออกในสมอง เป็นโรคที่พบได้น้อยกว่า โรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือด โรคนี้เกิดขึ้นเมื่อเส้นเลือดภายในกะโหลกศีรษะแตกออก ทำให้มีเลือดออกในสมองและรอบๆ สมอง

สาเหตุหลักของโรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออกในสมองคือ โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งจะทำให้เส้นเลือดแดงในสมองอ่อนแอ และทำให้มีแนวโน้มที่จะฉีกขาดหรือแตกออกได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่:

  • น้ำหนักตัวมาก หรือ อ้วน
  • ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
  • สูบบุหรี่
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • ความเครียด ซึ่งจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นชั่วคราว

โรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออกในสมอง อาจเกิดจากการฉีกขาดของหลอดเลือดที่โป่งพองในสมอง (brain aneurysm) และเส้นเลือดที่มีรูปร่างผิดปกติในสมอง

คุณสามารถลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างไร

คุณไม่สามารถป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ 100% เนื่องจากปัจจัยบางอย่างนั้นไม่สามารถควบคุมหรือเปลี่ยนได้ ได้แก่:

  • อายุ-คุณจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองเมื่อมีอายุมากกว่า 65 ปี อย่างไรก็ตามมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองประมาณ 1 ใน 4 ที่เกิดโรคขึ้นตั้งแต่อายุน้อยกว่านี้
  • ประวัติครอบครัว-ถ้าญาติสนิท (พ่อแม่, ปู่ย่า ตายาย, พี่น้อง) เป็นโรคหลอดเลือดสมอง คุณจะมีแนวโน้มที่จะมีความเสี่ยงมากขึ้น
  • เชื้อชาติ-ถ้าคุณเป็นชาวเอเชียใต้, ชาวแอฟริกัน หรือชาวแคริบเบียน ความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดสมองจะสูงขึ้น นั่นเป็นเพราะว่าอัตราการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของคนเชื้อชาติเหล่านี้จะสูงกว่าเชื้อชาติอื่น
  • ประวัติทางการแพทย์-ถ้าคุณเคยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง, ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (TIA) หรือ เคยมีภาวะหัวใจขาดเลือด คุณจะมีความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ตามคุณสามารถลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เป็นโรคหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) และโรคความดันโลหิตสูง ด้วยการรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่สูบบุหรี่ และลดการดื่มแอลกอฮอล์ลง

และเนื่องจากโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดหัวใจห้องบนสั่นพริ้ว (atrial fibrillation) จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองอย่างมาก ดังนั้นหากคุณสงสัยว่าตัวคุณเองหัวใจเต้นผิดจังหวะ คุณจะต้องเข้าพบแพทย์เพื่อขอรับการตรวจ หากคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้แล้ว คุณควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับทางเลือกในการรับประทานยาละลายลิ่มเลือดเพื่อลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดสมองในอนาคต

ที่มา : https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/stroke#causes


33 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Top 10 Causes of Strokes - Risk Factors and How You Can Lower Your Risks. WebMD. (https://www.webmd.com/stroke/guide/stroke-causes-risks)
Benjamin Wedro, MD, FACEP, FAAEM , Stroke (https://www.medicinenet.com/stroke_symptoms_and_treatment/article.htm).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)