กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง

เผยแพร่ครั้งแรก 24 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง

ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจะไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด เราเรียกว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ แต่จะมีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่ทราบสาเหตุของการมีความดันโลหิตสูง เช่น เป็นโรคไต เป็นโรคลูปัส หรือกำลังใช้ยาบางชนิด เป็นต้น

 โรคความดันโลหิตสูงมีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ชนิดไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด (primary high blood pressure หรือ essential high blood pressure) คือความดันโลหิตสูงที่ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดที่แน่ชัด
  • ชนิดทราบสาเหตุ (secondary high blood pressure) คือ ความดันโลหิตสูงที่สัมพันธ์กับโรคอื่นๆ ที่เป็น เช่น โรคไต หรือ เกิดจากยาบางชนิดที่คุณใช้อยู่

ความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ (primary high blood pressure)

ยังไม่ทราบว่าอะไรคือสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงชนิดนี้ แต่มีข้อมูลหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่ายิ่งมีปัจจัยเสี่ยงมาก ยิ่งเพิ่มโอกาสที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่:

  • อายุ: อายุมากขึ้นจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากขึ้น
  • มีประวัติครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง: โรคนี้มีโอกาสพบได้ในคนในครอบครัวเดียวกัน
  • เป็นคนแอฟริกันแคริบเบียน (Afro-Caribbean) หรือ เอเชียใต้
  • รับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำ
  • รับประทานเกลือ มีเกลือในอาหารที่รับประทานสูงเป็นประจำ
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • น้ำหนักเกิน อ้วน
  • สูบบุหรี่
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
  • ความเครียด

โรคอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน และโรคไต มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มโอกาสในการเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูงชนิดทราบสาเหตุ (Secondary high blood pressure)

ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงบางราย ประมาณ 5-10% เกิดแบบทราบสาเหตุ เราเรียกว่า เป็นโรคความดันโลหิตสูงชนิดทราบสาเหตุ

ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงชนิดทราบสาเหตุ ได้แก่:

  • ปัญหาที่เกิดขึ้นที่ไต เช่น โรคไต หรือ การติดเชื้อที่ไต
  • หลอดเลือดแดงตีบแคบ (คือหลอดเลือดที่นำเลือดจากหัวใจไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย)
  • ปัญหาที่เกิดกับฮอร์โมนในร่างกาย เช่น โรคคูชชิ่ง (Cushing’s syndrome) คือสภาวะที่ร่างกายที่มีการผลิตสเตียรอยด์ฮอร์โมนที่มากเกินไป
  • สภาวะบางอย่างที่ส่งผลต่อเนื้อเยื่อในร่างกาย เช่น โรคลูปัส (lupus) คือสภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำลายเซลล์ปกติในร่างกาย หรือที่เรียกว่าภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง
  • ยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน, ยาแก้ปวดบางชนิด ได้แก่ ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (nonsteroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs)) เช่น ยาไอบูโพรเฟน (ibuprofen)
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
  • ยาเสพติด เช่น โคเคน, ยาบ้า

ในบางครั้ง การใช้สมุนไพร เช่นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพร อาจเป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูงได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง

การวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูงจะทำโดยการวัดความดันโลหิตสูงด้วยเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดั้งเดิม คือต้องอาศัยการฟังเสียงการเต้นของหัวใจไปพร้อมกับการวัด หรือการวัดโดยการใช้เครื่องอัตโนมัติ นอกจากนั้นยังอาจต้องตรวจเลือดและปัสสาวะเพื่อหาว่ามีโรคหรือสาเหตุใดที่ทำให้มีความดันโลหิตสูงหรือไม่ด้วย

 วิธีเดียวที่จะรู้ได้ว่าคุณมีภาวะความดันโลหิตสูงหรือไม่ คือการตรวจวัดระดับความดันโลหิตเป็นประจำ ดังนั้นให้สอบถามแพทย์ที่ดูแลคุณว่า คุณควรตรวจความดันโลหิตอีกครั้งเมื่อใด

ก่อนการตรวจวัดความดันโลหิต คุณควรนั่งพักอย่างน้อย 5 นาที และควรไปปัสสาวะมาก่อนการวัดความดันโลหิตแล้ว และเพื่อให้ผลการวัดความดันโลหิตแม่นยำ คุณควรนั่งลงและไม่พูดคุยระหว่างการวัดความดันโลหิต

การวัดความดันโลหิตแล้วพบว่าสูงเพียง 1 ครั้ง ไม่ได้หมายความว่าคุณเป็นโรคความดันโลหิตสูง ปกติแล้วความดันโลหิตจะเปลี่ยนแปลงตลอดทั้งวัน ความวิตกกังวลหรือความเครียดที่เกิดขึ้นขณะมาพบแพทย์ก็สามารถทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้ (เราเรียกว่า white coat syndrome เปรียบง่ายๆ คือ ความดันโลหิตสูงเฉพาะขณะเจอบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งสวมเสื้อกาวน์หรือเครื่องแบบสีขาวนั่นเอง)

ดังนั้นในการวัดความดันโลหิต แพทย์จะต้องการวัดความดันโลหิตคุณหลายๆ ครั้งในหลายช่วงเวลา เช่น ทุกๆ เดือน เพื่อดูว่าระดับความดันโลหิตของคุณสูงคงที่ทุกครั้งที่วัดหรือไม่

การตรวจเลือดและตรวจปัสสาวะอาจถูกตรวจร่วมด้วย เพื่อค้นหาโรคที่เป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูง เช่น การติดเชื้อที่ไต

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

คุณอาจได้รับคำแนะนำให้วัดความดันโลหิตด้วยเครื่องที่บ้าน และทำการจดบันทึกไว้ เพื่อใช้บอกได้ว่าคุณเป็นความดันโลหิตสูงจริงๆ หรือมีความดันโลหิตสูงเฉพาะเวลามาโรงพยาบาลเท่านั้น (white coat syndrome) และจะช่วยค้นหาทางเลือกในการรักษาที่เหมาะสมสำหรับคุณด้วย

เครื่องวัดความดันโลหิต (Sphygmomanometer)

การวัดความดันโลหิตแบบดั้งเดิม จะใช้เครื่องมือวัดความดันโลหิตที่ชื่อว่า sphygmomanometer เครื่องมือชนิดนี้จะมีผ้าพันที่ต้นแขน ซึ่งจะพองตัวเมื่อทำการบีบรัดแขน และจะมีสเกลปรอท คล้ายๆ กับปรอทวัดไข้

บุคลากรทางการแพทย์จะฟังจังหวะการเต้นของหัวใจเพื่อวัดความดันโลหิต โดยใช้หูฟัง (stethoscope) วางไว้บนหลอดเลือดแดง

เครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติ (Digital sphygmomanometer)

ในปัจจุบันหลายๆ โรงพยาบาลและคลินิกจะนิยมใช้เครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติ โดยเครื่องจะวัดจังหวะการเต้นของหัวใจผ่านเซ็นเซอร์ที่อยู่ในสายรัดที่พันอยู่ที่ต้นแขน

สายรัดจะถูกปั้มให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อบีบรัดและจำกัดการไหลของเลือดที่บริเวณแขน และค่อยๆ คลายตัวเพื่อให้เลือดไหลได้ตามเดิมอย่างช้าๆ

 https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/heart-and-blood-vessels/conditions/high-blood-pressure-hypertension#causes


19 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
High blood pressure: What is high, symptoms, causes, and more. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/159283)
Causes: High blood pressure (hypertension). (2019). (https://www.nhs.uk/conditions/high-blood-pressure-hypertension/causes/)
Hypertension: Causes, symptoms, and treatments. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/150109)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รู้จักอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่พบได้บ่อยๆ
รู้จักอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่พบได้บ่อยๆ

หากอยากรู้ว่า อุปกรณ์การแพทย์ชิ้นไหน ทำงานอย่างไร ต้องไม่พลาดบทความนี้

อ่านเพิ่ม
8 ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้คุณเป็นโรคไต
8 ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้คุณเป็นโรคไต

โรคไตสามารถป้องกันได้ หากรู้จักและเข้าใจอย่างถูกต้อง

อ่านเพิ่ม