กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ. พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล แพทย์ทั่วไป
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ. พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล แพทย์ทั่วไป

โรคเบาหวาน (Diabetes)

โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus) มีหลายชนิด สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศ ทุกวัย
เผยแพร่ครั้งแรก 2 ธ.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 12 พ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
โรคเบาหวาน (Diabetes)

โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus) เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (non-communicable diseases: NCDs) ที่สามารถพบได้ในทุกเพศ ทุกวัย เกิดจากภาวะร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เมื่อเวลาผ่านไปจะทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพตามมา 

โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus) คืออะไร

โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus) คือ โรคที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีการนำพลังงานไปใช้ผิดปกติส่งผลให้เกิดระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงกว่าปกติ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

น้ำตาลกลูโคสในเลือดเป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกายที่ได้รับจากอาหารที่รับประทาน  โดยมีฮอร์โมนอินซูลิน (insulin) เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อน ทำหน้านี้นำน้ำตาลกลูโกสเข้าสู่เซลล์ต่างๆ สำหรับใช้เป็นพลังงานให้กับเซลล์ 

ในกรณีที่ร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ ผลิตได้ไม่เพียงพอ หรือร่างกายไม่สามารถนำอินซูลินไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะทำให้น้ำตาลกลูโคสเกิดการสะสม เมื่อเวลาผ่านไป น้ำตาลในเลือดที่สูงกว่าปกตินี้ จะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา แม้ว่าโรคเบาหวานจะไม่ใช่โรคที่รักษาหายขาด แต่ปัจจุบันมีวิธีในการจัดการเกี่ยวกับโรคเบาหวาน ทำให้ผู้ป่วยมีสุขภาพที่แข็งแรงได้

โรคเบาหวาน (Diabetes) มีกี่ชนิด

โรคเบาหวานที่พบบ่อยในปัจจุบันมี 3 ชนิด คือ โรคเบาหวานชนิดที่  1 โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

โรคเบาหวานชนิดที่ 1

โรคเบาหวานชนิดที่ 1 คือภาวะที่ร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้ โรคเบาหวานชนิดนี้ เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเข้าไปทำลายเซลล์ของตับอ่อนที่มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนอินซูลิน พบได้บ่อยในเด็ก
คนที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 จำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนอินซูลินฉีดทุกวัน เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตามปกติ

โรคเบาหวานชนิดที่ 2

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 คือภาวะที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ลดลง หรือผลิตแล้ว แต่ร่างกายไม่สามารถนำฮอร์โมนอินซูลินไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถพบได้ทุกช่วงอายุ  อย่างไรก็ตามมักพบบ่อยในช่วงอายุตั้งแต่วัยกลางคนจนถึงผู้ที่มีอายุมาก  เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational diabetes)

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะพบได้ในผู้หญิงตั้งครรภ์บางราย ส่วนใหญ่แล้ว ผู้หญิงที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะหายจากโรคนี้หลังจากคลอดลูก อย่างไรก็ตามผู้ที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะมีโอกาสในการพัฒนาเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอนาคตมากกว่าคนทั่วไป บางครั้งโรคเบาหวานที่ถูกวินิจฉัยขณะตั้งครรภ์อาจเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โรคเบาหวานชนิดอื่นๆ

พบได้น้อย เช่น โรคเบาหวานที่เกี่ยวกับพันธุกรรม (Monogenic diabetes) หรือ เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนที่ผิดปกติ

โรคเบาหวานพบได้บ่อยแค่ไหน

ข้อมูลเมื่อปี 2015 พบว่าประชากรในสหรัฐอเมริกาถึง 30.3 ล้านคน หรือคิดเป็น 9.4% ของประชากรทั้งหมดป่วยเป็นโรคเบาหวาน โดยมีมากถึง 1 ใน 4 ของผู้ป่วยเบาหวานไม่รู้ตัวว่าตนเองเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งประชากรอายุมากกว่า 65 ปี ถึง 1 ใน 4 ได้รับผลกระทบจากโรคเบาหวาน  และประมาณ 90-95% ของผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมดเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2

ใครบ้างที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2

  • เมื่อมีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่าคนทั่วไป 
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน 
  • มีน้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน  
  • ไม่ค่อยออกกำลังกาย,
  • ปัญหาทางสุขภาพบางชนิด เช่น ความดันโลหิตสูง 
  • ภาวะก่อนเป็นเบาหวาน (Prediabetes) หรือเคยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มาก่อน จะมีโอกาสพัฒนาเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้มากขึ้น

โรคแทรกซ้อนที่ตามมาหากเป็นโรคเบาหวาน 

เมื่อเวลาผ่านไป ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงกว่าปกติจะส่งผลให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น

ปัจจุบันมีวิธีลดโอกาสการเกิดโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้ เช่น การตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด หรือระดับน้ำตาลสะสมเป็นประจำ ช่วยให้ร่างกายมีระดับค่าน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ปกติ เป็นต้น

 

 


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Harrison’s Principle of Internal Medicine. Chapter396: Diabetes Mellitus: Diagnosis, Classification, and Pathophysiology

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)