วิตามินดีสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดข้อได้ไหม?

เผยแพร่ครั้งแรก 5 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
วิตามินดีสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดข้อได้ไหม?

วิตามินดีเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อสุขภาพกระดูก ซึ่งมีหลายงานวิจัยพบว่า การมีระดับของวิตามินดีต่ำสามารถทำให้เราปวดข้อต่อและกล้ามเนื้อมากขึ้น ทั้งนี้การขาดวิตามินดีสามารถส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต แต่มีหลายคนที่ไม่รู้ตัวว่ามีระดับของวิตามินดีต่ำ สำหรับอาการทางกายที่บ่งบอกว่าเราขาดวิตามินดีคือ การปวดกล้ามเนื้อในข้อต่อ หรือการเป็นโรครูมาตอยด์ ที่มักเกิดขึ้นในหัวเข่า ขา และสะโพก สำหรับบทความในวันนี้ เราจะพาคุณไปดูหลักฐานที่แสดงความเชื่อมโยงระหว่างวิตามินดีและการเจ็บข้อต่อ และแหล่งของวิตามินดี

ทำไมวิตามินดีถึงเป็นสารอาหารที่จำเป็น?

ร่างกายสามารถสร้างวิตามินดีจากการสัมผัสแสงแดด ซึ่งมันเป็นสารอาหารที่ช่วยควบคุมปริมาณแคลเซียมในร่างกาย วิตามินชนิดนี้สำคัญต่อสุขภาพกระดูก ทั้งนี้การขาดวิตามินดีสามารถทำให้กระดูกนุ่มลงและอ่อนแอ ซึ่งเรียกว่า โรคกระดูกอ่อน โดยพบได้ทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก นอกจากนี้วิตามินดีสามารถช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคกระดูกพรุน ซึ่งเป็นอีกโรคหนึ่งที่ทำให้กระดูกอ่อนแอ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ยิ่งไปกว่านั้น วิตามินดีอาจส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน และสามารถช่วยรับมือกับโรคที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น โรครูมาตอยด์ โรคเบาหวานประเภท 1 โรคเอ็มเอส ฯลฯ สำหรับอาการของคนที่ร่างกายได้รับวิตามินดีไม่เพียงพอนั้นจะแตกต่างกันออกไป สำหรับอาการที่พบได้ทั่วไป เช่น อ่อนล้า ปวดข้อต่อ เจ็บกล้ามเนื้อและกล้ามเนื้ออ่อนแอ เจ็บกระดูก มีปัญหากับระบบหายใจ ปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาท เช่น เหน็บชา อารมณ์ไม่ดี โดยเฉพาะการเป็นโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล

วิตามินดีและการเจ็บข้อต่อ

วิตามินดีเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อการทำงานของกระดูกและกล้ามเนื้อ และอาจมีฤทธิ์ช่วยต้านการอักเสบ หลายคนจึงเชื่อว่าวิตามินดีสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดข้อต่อ โดยเฉพาะเมื่อมีต้นเหตุมาจากการอักเสบ ทั้งนี้นักวิจัยบางคนได้หาความสัมพันธ์ระหว่างการขาดวิตามินดีกับโรครูมาตอยด์ ซึ่งเป็นโรคที่เกิดการอักเสบเรื้อรังบริเวณข้อต่อ

  • มี Review ของงานวิจัยเมื่อปี ค.ศ.2016 พบว่า คนที่เป็นโรครูมาตอยด์มีวิตามินดีในเลือดน้อยกว่าคนที่ไม่ได้เป็นโรคดังกล่าวอย่างเห็นได้ชัด รวมถึงยังพบว่าคนที่เป็นโรครูมาตอยด์มีความเสี่ยงที่จะขาดวิตามินดีมากกว่า
  • มีงานวิจัยเมื่อปี ค.ศ.2012 พบว่า การขาดวิตามินดีอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกี่ยวกับการอักเสบอย่างโรครูมาตอยด์ และอาจทำให้ความรุนแรงของโรคมากขึ้น
  • อาหารเสริมแบบวิตามินช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน คนที่เป็นโรครูมาตอยด์มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุน และมีอาการปวดข้อต่อมากกว่าปกติ ดังนั้นอาหารเสริมจึงเป็นสิ่งที่แนะนำ
  • วิตามินดีอาจช่วยให้อารมณ์ และอาการของโรคซึมเศร้าดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยเมื่อปีค.ศ.2015 สรุปว่าหลักฐานที่พบนั้นยังไม่หนักพอที่จะตัดสินว่าการขาดวิตามินดีและการเป็นโรคเรื้อรังอย่างโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์มีความสัมพันธ์กัน ดังนั้นนักวิจัยยังจำเป็นต้องหาหลักฐานมาสนับสนุนเพิ่มเติม

วิธีที่ช่วยให้เราได้รับวิตามินดี

ร่างกายสามารถสร้างวิตามินดีได้จากการสัมผัสแสงแดด หรือได้รับจากการทานอาหาร

1.แสงแดด

เมื่อผิวที่เปลือยเปล่าของเราสัมผัสกับแสงแดด ร่างกายจะสร้างวิตามินดีจากรังสีอัลตราไวโอเลต แม้ว่าแสงแดดจะเป็นแหล่งของวิตามินที่ยอดเยี่ยม แต่เราก็ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดในช่วงเที่ยงวันเพื่อป้องกันไม่ให้ผิวไหม้ การสัมผัสแสงแดดมากเกินไปสามารถทำให้ผิวเสียหาย และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง ในช่วงฤดูหนาว การได้รับแสงแดดอย่างเพียงพออาจเป็นเรื่องยาก ในกรณีนี้คุณอาจต้องทานอาหารที่มีวิตามินดีหรืออาหารเสริมแทนค่ะ

2.อาหาร

เห็ดเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินดี The National Institutes of Health (NIH) แนะนำว่า ผู้ใหญ่ควรได้รับวิตามิน 15 ไมโครกรัมต่อวัน นอกจากนี้ยังมีอาหารชนิดอื่นๆ ที่มีวิตามินดีสูง ตัวอย่างเช่น ปลาที่มีไขมันสูงอย่างแซลมอน แมคเคอเรล ทูนา นมชนิดฟอร์ติไฟด์ ตับวัว ไข่แดง เห็ด ซีเรียลแบบฟอร์ติไฟด์ ฯลฯ

3.อาหารเสริม

คนที่เป็นมังสวิรัติหรือคนสูงอายุอาจได้รับวิตามินดีไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว ทั้งนี้ NIH แนะนำว่าอาหารเสริมอาจเหมาะสำหรับ

  • ผู้สูงอายุ เพราะผิวสูญเสียความสามารถในการสังเคราะห์วิตามินดีได้อย่างมีประสิทธิผล
  • คนที่มีผิวเข้ม เพราะเป็นเรื่องยากสำหรับผิวที่จะใช้แสงแดดในการผลิตวิตามินดี
  • ทารกที่กินนมแม่ เพราะปริมาณของวิตามินดีที่จะได้รับนั้นขึ้นอยู่กับแม่

อย่างไรก็ตาม การได้รับวิตามินดีมากเกินไปสามารถทำให้เกิดพิษต่อร่างกาย ดังนั้นคุณควรปรึกษาแพทย์ก่อนทานอาหารเสริมชนิดใหม่ทุกครั้ง และยึดปริมาณการทานตามที่เขาแนะนำ 

ที่มา: https://www.medicalnewstoday.c...


30 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
7 Supplements That Help Back Pain. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/pictures/best-worst-supplements-help-back-pain/)
Vitamin D and joint pain: What does the research say?. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/321923)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป