กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา

ก้อนที่เต้านม (Breast Lump)

การพบก้อนที่เต้านม แม้ส่วนใหญ่จะไม่ใช่เนื้อร้ายที่พัฒนาไปเป็นมะเร็ง แต่เพื่อความแน่ใจก็ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและหาแนวทางรักษาที่ถูกต้องต่อไป
เผยแพร่ครั้งแรก 3 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 24 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ก้อนที่เต้านม (Breast Lump)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เนื้อเยื่อเต้านม (Breast Tissue) เป็นเนื้อเยื่อที่พบได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายจะส่งผลต่อเนื้อเยื่อเหล่านี้ นั่นจึงเป็นสาเหตุของการเกิดก้อนที่เต้านมได้ที่พบได้ทุกเพศและทุกวัย
  • สาเหตุของการเกิดก้อนที่เต้านมมีหลายอย่าง ได้แก่ ซีสต์ที่เต้านม ซีสต์ที่มีน้ำนมอยู่ภายใน ไฟโบรซีสติก เนื้องอกชนิดไฟโบรอะดีโนมา เนื้องอกในท่อน้ำนม เต้านมอักเสบ มะเร็งเต้านม
  • ถ้าหากมีอาการเหล่านี้ร่วมอยู่ด้วย เช่น บริเวณเต้านมมีความแตกต่างจากบริเวณอื่นอย่างเห็นได้ชัด ก้อนเนื้อมีการเปลี่ยนแปลง หรือมีขนาดใหญ่ขึ้น ผิวหนังบริเวณเต้านมเป็นสีแดง หรือเริ่มมีรอยย่นคล้ายผิวส้ม ควรไปพบแพทย์ทันที 
  • แพทย์จะประเมินหาสาเหตุของการเกิดก้อนที่เต้านมก่อน แล้วจึงวางแผนการรักษา เช่น กรณีที่เกิดจากการติดเชื้อที่เต้านม แพทย์จะรักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) ในกรณีเป็นซีสต์ที่เต้านม แพทย์จะเจาะเพื่อดูดเอาของเหลวออก
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

แม้การพบก้อนที่เต้านมมักเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่ แต่ความจริงแล้วเนื้อเยื่อเต้านม (Breast Tissue) เป็นเนื้อเยื่อที่พบได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายจะส่งผลต่อเนื้อเยื่อเหล่านี้ 

นั่นจึงเป็นสาเหตุของการเกิดก้อนที่เต้านมได้ที่พบได้ทุกเพศและทุกวัย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การพบก้อนที่เต้านมส่วนใหญ่ มักจะเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง (Benign) ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาว แต่ในบางกรณีก้อนที่เต้านมก็อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งได้ 

หากคลำพบก้อนที่เต้านมแล้วไม่แน่ใจว่า เป็นก้อนเนื้อประเภทใด ควรเข้ารับการตรวจประเมินโดยแพทย์และทำการรักษาอย่างเหมาะสม

สาเหตุของก้อนที่เต้านม

สาเหตุของการเกิดก้อนที่เต้านมมีหลายอย่าง ได้แก่

เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์

แม้ว่าก้อนเนื้อที่เต้านมส่วนใหญ่มักไม่ใช่ก้อนมะเร็ง แต่ถ้าหากพบอาการเหล่านี้ร่วมอยู่ด้วย ก็ควรไปพบแพทย์ทันที

  • บริเวณเต้านมมีความแตกต่างจากบริเวณอื่นอย่างเห็นได้ชัด

  • ก้อนเนื้อที่เต้านมไม่ยุบตัวลง ภายหลังประจำเดือนหมด

  • ก้อนเนื้อมีการเปลี่ยนแปลง หรือมีขนาดใหญ่ขึ้น

  • มีรอยช้ำที่เต้านมโดยไม่ทราบสาเหตุ

  • ผิวหนังบริเวณเต้านมเป็นสีแดง หรือเริ่มมีรอยย่นคล้ายผิวส้ม

  • มีอาการหัวนมบอด (ถ้าตามปกติแล้วหัวนมคุณไม่ได้บอด)

  • มีเลือดออกจากหัวนม

หากไม่แน่ใจว่า ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตนเองมีความร้ายแรงมากน้อยเพียงใด ควรไปพบแพทย์หรือไม่ ปัจจุบันมีบริการปรึกษาสูตินรีแพทย์ออนไลน์ ผ่านวิดีโอคอลแล้ว ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถปรึกษาแพทย์ได้โดยไม่ต้องเดินทางไปที่โรงพยาบาล

 คำแนะนำเบื้องต้นจากแพทย์จะช่วยให้คุณมีแนวทางต่อไปว่า ควรปฏิบัติตนอย่างไรจึงจะเหมาะสม 

การตรวจวินิจฉัยเต้านมโดยแพทย์

เมื่อไปพบแพทย์เนื่องจากพบก้อนที่เต้านม แพทย์จะซักประวัติเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้น และจะทำการตรวจเต้านมให้กับคุณ หากแพทย์ไม่สามารถระบุสาเหตุของก้อนที่เต้านมได้ จะต้องทำการตรวจเพิ่มเติม ดังนี้

  • การทำแมมโมแกรม (Mammogram) การเอกซเรย์เต้านม ซึ่งช่วยบ่งบอกความผิดปกติที่เกิดขึ้นที่เต้านมได้ ในการวินิจฉัยจะทำการเปรียบเทียบผลการตรวจในครั้งนี้กับผลการตรวจแมมโมแกรมในครั้งก่อน (ถ้ามี) เพื่อดูว่า เนื้อเยื่อเต้านมมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่

  • การตรวจอัลตราซาวด์ (Ultrasound) เป็นวิธีการตรวจที่ไม่รุกล้ำร่างกาย ไม่เจ็บ โดยจะใช้คลื่นเสียงเพื่อสร้างเป็นภาพเต้านม

  • การถ่ายภาพทางการแพทย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging (MRI)) เป็นการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุเพื่อถ่ายภาพเต้านม

  • การเจาะดูดก้อนที่เต้านม (Fine-Needle Aspiration) ใช้เข็มขนาดเล็กเพื่อดูดเอาของเหลวออก ในบางกรณีอาจใช้คลื่นอัลตราซาวด์เพื่อช่วยบอกตำแหน่งของเข็มระหว่างการเจาะดูดด้วย ถ้าเป็นซีสต์ที่ไม่ใช่มะเร็งจะยุบตัวลงได้เมื่อดูดเอาของเหลวออกไป ถ้าของเหลวที่ดูดออกมาเป็นเลือดหรือมีลักษณะขุ่น ตัวอย่างที่ดูดออกมานั้นจะถูกส่งไปตรวจวิเคราะห์เพิ่มเติมว่า "ใช่เซลล์มะเร็งหรือไม่"

  • การตรวจชิ้นเนื้อ (Biopsy) คือ กระบวนการนำเนื้อเยื่อของเต้านมไปตรวจภายใต้กล้องจุลทรรศน์ การตรวจชิ้นเนื้อเยื่อเต้านม (Breast Biopsy) มีด้วยกันหลายชนิด ได้แก่

    • การเจาะชิ้นเนื้อจากก้อนเต้านม (Core Needle Biopsy) การเจาะชิ้นเนื้อไปตรวจโดยใช้เข็มที่มีขนาดใหญ่กว่าวิธีแรก และใช้คลื่นอัลตราซาวด์ช่วยบอกตำแหน่งของเข็ม

    • การตัดชิ้นเนื้อด้วยวิธีสูญญากาศ (Vacuum-Assisted Biopsy) การใช้เครื่องมือตัดชิ้นเนื้อที่มีเครื่องสูญญากาศเป็นตัวช่วย โดยเปิดแผลเล็กๆ และใส่เครื่องมือลงไปเก็บชิ้นเนื้อออกมา ซึ่งจะใช้คลื่นอัลตราซาวด์ช่วยบอกตำแหน่ง

    • การเจาะชิ้นเนื้อไปตรวจด้วยวิธี Stereotactic Biopsy การทำแมมโมแกรมเพื่อถ่ายภาพเต้านมจากมุมต่างๆ กัน และใช้เข็มเจาะเก็บชิ้นเนื้อออกมา

    • การเก็บชิ้นเนื้อด้วยการผ่าตัด ที่เรียกว่า "Excisional Biopsy" การผ่าเอาก้อนในเต้านมร่วมกับเนื้อเยื่อข้างเคียงออกไปตรวจ

    • การเก็บชิ้นเนื้อด้วยการผ่าตัด ที่เรียกว่า Incisional Biopsy การผ่าเอาเฉพาะก้อนในเต้านมไปตรวจ

ระหว่างรอผลตรวจ หลายคนอาจมีอาการเครียดกับผลตรวจที่จะออกมา หากรู้สึกว่า มีความเครียดควรปรึกษาคนใกล้ชิดเพื่อขอคำแนะนำ หรือหากมีอาการเครียดมากอาจไปพบจิตแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการความเครียดได้ 

การรักษาก้อนที่เต้านม

แพทย์จะทำการประเมินหาสาเหตุของการเกิดก้อนที่เต้านมก่อน แล้วจึงวางแผนการรักษา เช่น ในกรณีที่เกิดจากการติดเชื้อที่เต้านม แพทย์จะใช้ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) เพื่อทำการรักษาให้กับคุณ 

ในกรณีเป็นซีสต์ที่เต้านม แพทย์จะเจาะเพื่อดูดเอาของเหลวออก ซึ่งซีสต์มักยุบลงเมื่อระบายเอาของเหลวออกไปแล้ว แต่ถ้าก้อนเต้านมที่ตรวจพบเป็นมะเร็งเต้านม การรักษาจะแตกต่างออกไป ได้แก่ 

  • การผ่าตัดเอาเนื้องอกเต้านมออก (Lumpectomy)

  • การผ่าตัดเอาเต้านมออก (Mastectomy)

  • การให้ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) : การใช้ยาเคมีบำบัดเพื่อเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็ง

  • การใช้รังสีรักษา (Radiation)

ในกรณีของการรักษาโรคมะเร็งเต้านม การรักษาแบบใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ ชนิดของมะเร็งเต้านม ขนาดและตำแหน่งของเนื้องอกมะเร็ง และขึ้นกับว่ามะเร็งมีการแพร่กระจายไปนอกเต้านมหรือไม่

อย่างไรก็ตาม ไม่ควรสรุปเองว่า ก้อนที่พบที่เต้านมนั้นเป็นอันตรายหรือไม่อันตราย ให้ไปพบแพทย์เมื่อคลำพบก้อนที่เต้านม เพื่อตรวจวินิจฉัยและพิจารณาให้การรักษาอย่างเหมาะสมจะดีที่สุด

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
MedicineNet, Breast Lumps in Women: Symptoms, Signs, Causes, Types & Treatment (https://www.medicinenet.com/breast_lumps_in_women/article.htm), 5 August 2020.
Medical News Today, Breast lumps: Causes, types, checking, and treatment (https://www.medicalnewstoday.com/articles/186084), 5 August 2020.
WebMD, Breast Lumps: Causes, Types, & What To Do If You Find One (https://www.webmd.com/breast-cancer/benign-breast-lumps), 5 August 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ก้อนที่รักแร้คืออะไร
ก้อนที่รักแร้คืออะไร

สาเหตุของการเกิดก้อนที่รักแร้ รักษาได้หรือไม่

อ่านเพิ่ม