ก้านสมองตาย (Brain stem death) หรือ สมองตาย (Brain death)

เผยแพร่ครั้งแรก 8 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ก้านสมองตาย (Brain stem death) หรือ สมองตาย (Brain death)

ภาวะก้านสมองตาย หรือ ภาวะสมองตาย คือสภาวะที่ก้านสมองถูกทำลายจนหมดความสามารถในการทำงานอย่างสิ้นเชิง เมื่อวินิจฉัยภาวะสมองตายแล้ว จะถือว่าผู้ป่วยรายนั้นเป็นผู้เสียชีวิต เพราะผู้ป่วยจะไม่สามารถฟื้นกลับขึ้นมาได้อีกหลังจากสมองตาย 

บทนำ

ก้านสมองตาย (brain stem death) คือสภาวะที่ก้านสมองไม่มีความสามารถในการทำงานอีกต่อไป และผู้ป่วยจะหมดสติถาวร และสูญเสียความสามารถในการหายใจด้วยตนเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หากเกิดภาวะก้านสมองตายเกิดขึ้น การใช้เครื่องช่วยหายใจจะช่วยให้หัวใจยังเต้นอยู่และช่วยให้มีออกซิเจนไหลเวียนในเลือด

คนที่ได้รับการตรวจยืนยันว่าเสียชีวิตคือผู้ที่ได้รับการยืนยันว่ามีภาวะก้านสมองตายนั่นเอง

การยืนยันการเสียชีวิต

การยืนยันการเสียชีวิตในอดีตจะเป็นแบบตรงไปตรงมา โดยจะถือว่าเสียชีวิตเมื่อหัวใจหยุดเต้น และคนๆ นั้นไม่ตอบสนอง และไม่หายใจอีกต่อไป การขาดออกซิเจนจะเกิดขึ้นเนื่องจากไม่มีเลือดไหลเวียน และนำไปสู่การสูญเสียหน้าที่การทำงานของก้านสมองถาวรอย่างรวดเร็ว

ปัจจุบันการยืนยันการเสียชีวิตมีความซับซ้อนกว่าแต่ก่อน เพราะยังสามารถช่วยให้หัวใจของคนๆ นั้นเต้นต่อไปได้ภายหลังก้านสมองหยุดการทำงานแล้วถาวรแล้ว ซึ่งทำได้โดยการใช้เครื่องช่วยหายใจ (ventilator) ทำให้ร่างกายและหัวใจยังคงได้รับออกซิเจนอยู่ อย่างไรก็ตามคนๆ นั้นจะไม่สามารถฟื้นขึ้นมาได้อีก หรือไม่สามารถกลับมาหายใจด้วยตนเองได้อีกต่อไป

เมื่อก้านสมองหยุดการทำงานถาวร จะไม่มีทางย้อนกลับไปทำงานได้อีก และในที่สุดหัวใจก็จะหยุดทำงาน แม้ว่าจะใช้เครื่องช่วยหายใจอยู่ก็ตาม

หากมีหลักฐานที่ชัดเจนว่ามีสภาวะสมองตายเกิดขึ้น คนๆ นั้นถูกหยุดใช้เครื่องช่วยหายใจ เพื่อช่วยให้คนในครอบครัวและเพื่อนไม่ทุกข์จนเกินไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ก้านสมอง

ก้านสมองคือส่วนล่างของสมองที่เชื่อมต่อกับไขสันหลัง (ส่วนหนึ่งของระบบประสาทส่วนกลางที่อยู่ภายในกระดูกสันหลัง)

ก้านสมองมีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของร่างกายที่เป็นระบบอัตโนมัติและสำคัญกับการมีชีวิต ได้แก่:

ก้านสมองจะมีหน้าที่ในการถ่ายทอดข้อมูลไปยังสมอง และจากสมองไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย จึงมีบทบาทสำคัญในหน้าที่การทำงานหลักของสมอง เช่น การมีสติรู้สึกตัว การรับรู้ และการเคลื่อนไหวร่างกาย

ผู้ที่มีภาวะสมองตายจะไม่สามารถฟื้นกลับมามีสติได้อีก

การตายของสมองเกิดขึ้นได้อย่างไร

สมองตายสามารถเกิดขึ้นเมื่อเลือด และ/หรือ ออกซิเจน ที่ไปเลี้ยงสมองถูกหยุดไป โดยมีสาเหตุจาก:

  • หัวใจหยุดเต้น (cardiac arrest) คือสภาวะที่หัวใจหยุดเต้น และสมองจะเกิดการขาดออกซิเจนขึ้น
  • กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (heart attack) เป็นภาวะร้ายแรงฉุกเฉินทางการแพทย์ ที่เกิดขึ้นจากการที่เลือดไปเลี้ยงหัวใจถูกปิดกั้นกะทันหัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและตายเฉียบพลันได้
  • โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) เป็นภาวะร้ายแรงฉุกเฉินทางการแพทย์ ที่เกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงสมองถูกปิดกั้น หรือถูกขัดขวาง
  • ลิ่มเลือดอุดตัน คือ มีการอุดตันของหลอดเลือด ทำให้เกิดการขัดขวางหรือปิดกั้นการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย

สมองตายยังสามารถเกิดขึ้นได้เนื่องจาก:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สภาพ “ผัก” (Vegetative state)

มีความแตกต่างระหว่างสมองตาย และ สภาพผัก ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้หลังจากสมองได้รับความเสียหายอย่างมาก

ในคนที่มีสภาพผักจะยังสามารถแสดงลักษณะของการตื่นตัวได้ เช่น อาจลืมตาได้ แต่ไม่ตอบสนองต่อสิ่งรอบข้าง

ในบางกรณีที่พบได้น้อย ผู้ป่วยอาจแสดงการตอบสนองบางอย่างที่สามารถตรวจพบได้โดยการสแกนสมอง แต่จะไม่สามารถตอบสนองกับสิ่งรอบข้างได้

อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างสมองตายและสภาพผักคือ ผู้ที่มีสภาพผัก ก้านสมองจะยังทำงานได้ ซึ่งหมายความว่า:

  • รูปแบบของการมีสติรับรู้บางอย่างอาจยังคงมีอยู่
  • โดยทั่วไปยังหายใจได้เองโดยไม่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
  • มีโอกาสฟื้นตัวได้บ้าง เพราะหน้าที่หลักของก้านสมองอาจไม่ได้รับผลกระทบ

ในขณะที่ผู้ที่สมองตายจะไม่มีโอกาสฟื้นขึ้นมาได้อีก เพราะร่างกายจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้หากขาดการช่วยเหลือด้วยเครื่องมือทางการแพทย์

การยืนยันภาวะสมองตาย

จะมีบางกรณีที่พบว่า มีบางอย่างที่ทำให้ดูเหมือนว่าคนๆ นั้นมีภาวะสมองตายเกิดขึ้น

ซึ่งรวมถึงการใช้ยาเกินขนาด (โดยเฉพาะยาในกลุ่มบาร์บิทูเรต (barbiturates) และภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำอย่างรุนแรง (อุณหภูมิร่างกายลดลงต่ำกว่า 28 องศาเซลเซียส)

ดังนั้นจะมีการทดสอบหลายการทดสอบเพื่อตรวจยืนยันว่าสมองตายแล้วจริงหรือไม่ เช่น การส่องไฟฉายเข้าไปที่ดวงตาทั้งสองข้างและดูการตอบสนองที่เกิดขึ้น

การบริจาคอวัยวะ

ภายหลังการเกิดภาวะสมองตาย อาจมีความเป็นไปได้ที่จะนำอวัยวะของผู้ที่มีภาวะสมองตายไปใช้ในกระบวนการปลูกถ่ายอวัยวะเพื่อช่วยชีวิตผู้อื่น

ในกรณีที่ผู้ตายไม่ได้แสดงความประสงค์ในการบริจาคอวัยวะไว้ก่อนตาย จะถือเป็นเรื่องยากสำหรับญาติและคู่ของเขาที่จะตัดสินใจว่าจะบริจาคอวัยวะของผู้ตายหรือไม่ เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลตระหนักถึงประเด็นนี้เป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน โดยจะต้องแน่ใจว่าประเด็นนี้จะได้รับการดูแลจัดการอย่างละเอียดและรอบคอบ

การวินิจฉัย

มีเกณฑ์หลายข้อสำหรับการวินิจฉัยความตายของก้านสมอง

สำหรับการจะเริ่มวินิจฉัยภาวะสมองตาย ผู้ป่วยจะต้องมีอาการเข้าได้กับเกณฑ์ดังนี้:

  • คนๆ นั้นต้องหมดสติและไม่ตอบสนองต่อการกระตุ้นจากภายนอกร่างกาย
  • การเต้นของหัวใจและการหายใจมีอยู่ได้เพราะการใช้เครื่องช่วยหายใจเท่านั้น
  • ต้องมีหลักฐานชัดเจนว่ามีความเสียหายร้ายแรงที่สมอง และไม่สามารถรักษาได้

การวินิจฉัยแยกโรคอื่นๆ

ก่อนการตรวจยืนยันภาวะสมองตาย แพทย์จะต้องตรวจให้แน่ใจก่อนว่าอาการของผู้ป่วยที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้มีสาเหตุจากปัจจัยอื่น เช่น:

  • การใช้ยาเสพติด, ยากล่อมประสาทเกินขนาด, การได้รับสารพิษ หรือสารเคมีอื่นๆ
  • อุณหภูมิร่างกายต่ำผิดปกติ (hypothermia)
  • ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไปอย่างรุนแรง

เมื่อแพทย์ตรวจแล้วพบว่าอาการของผู้ป่วยไมได้เกิดจากปัจจัยข้างต้น แพทย์จึงจะเริ่มการตรวจยืนยันภาวะสมองตายต่อไป ในการวินิจฉัยภาวะสมองตายจะต้องทำโดยแพทย์อาวุโสจำนวน 3 ท่าน โดยแพทย์ทั้ง 3 ท่านนี้จะต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับทีมแพทย์ปลูกถ่ายอวัยวะ

แพทย์จะอธิบายเกี่ยวกับการตรวจให้คุณทราบ และแจ้งให้คุณทราบเกี่ยวกับสภาวะของคนที่คุณรักตลอดระยะเวลาที่อยู่ในความดูแลของแพทย์

การตรวจยืนยันภาวะสมองตาย

แพทย์จะทำการทดสอบที่เกี่ยวข้อง โดยแพทย์ทั้ง 2 ท่านต้องลงนามความเห็นตรงกันเกี่ยวกับผลการตรวจ เพื่อยืนยันภาวะสมองตายของผู้ป่วยรายนั้น ในการทดสอบเพื่อยืนยันภาวะสมองตายจะต้องทำทั้งหมด 2 ครั้ง เพื่อลดโอกาสข้อผิดพลาดของผลการตรวจที่อาจเกิดขึ้น  

การทดสอบที่ใช้ตรวจเพื่อยืนยันว่าผู้ป่วยมีภาวะก้านสมองตายหรือไม่ มีดังนี้:

  • การใช้ไฟฉายส่องไปที่ดวงตาทั้งสองข้าง เพื่อดูการตอบสนองต่อแสง
  • กระจกตา (ส่วนโปร่งใสชั้นนอกสุดของดวงตา) ซึ่งโดยปกติจะมีความไวมาก โดยจะนำสำลีที่ถูกดึงยาวปั่นให้แหลมไปแตะเบาๆ ที่บริเวณกระจกตาเพื่อดูการตอบสนองของตา
  • ใช้แรงกดลงไปที่หน้าผาก และจมูกจะถูกบีบเพื่อดูว่ามีการเคลื่อนไหวตอบสนองหรือไม่
  • น้ำเย็น/น้ำแข็ง จะถูกสอดเข้าไปในหูแต่ละข้าง ซึ่งมักจะทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของตา
  • ท่อพลาสติกบางๆ จะถูกใส่เข้าไปในหลอดลม เพื่อดูว่ามีการสำลักหรือการไอหรือไม่

·       ผู้ป่วยจะถูกนำเครื่องช่วยหายใจออกในช่วงเวลาสั้นๆ เพื่อดูว่าผู้ป่วยพยายามหายใจด้วยตัวเองหรือไม่

จะได้รับการยืนยันการวินิจฉัยภาวะสมองตายเมื่อผู้ป่วยรายนั้นไม่ตอบสนองต่อการทดสอบทั้งหมดข้างต้น

ในบางครั้งแม้ว่าได้รับการวินิจฉัยก้านสมองตายแล้ว แต่อาจพบว่าแขนขาและลำตัว (ส่วนบนของร่างกาย) ยังมีการเคลื่อนไหว

การเคลื่อนไหวดังกล่าวคือรีเฟลกซ์ของไขสันหลัง (spinal reflex movements) ซึ่งเกิดจากไขสันหลังและไม่เกี่ยวข้องกับสมอง ดังนั้นการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อการวินิจฉัยภาวะสมองตายที่ได้ให้การวินิจฉัยไปแล้ว

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/brain-stem-death#introduction

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/brain-stem-death#diagnosis


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The diagnosis of brain death. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2772257/)
Brain death. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/brain-death/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)