การตรวจสแกนกระดูก (Bone scan) คืออะไร และเป็นอย่างไร

เผยแพร่ครั้งแรก 1 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
การตรวจสแกนกระดูก (Bone scan) คืออะไร และเป็นอย่างไร


แพทย์อาจจะสั่งการตรวจสแกนกระดูกเมื่อเขาสงสัยว่าอาจจะมีพยาธิสภาพ หรือร่องรอยโรคบางอย่างที่กระดูก ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดเรื้อรั้งของคุณ ตัวอย่างเช่น โรคกระดูกอักเสบ (osteomyelitis) โรคข้ออักเสบ (arthritis) หรือเนื้องอกในกระดูก (tumors in the bone) การตรวจสแกนกระดูกอาจจะถูกสั่งเพิ่มเติมจากการตรวจอื่น ๆ เช่น x-ray หรือ MRI

การตรวจสแกนกระดูกเป็นอย่างไร

ก่อนที่คุณจะได้รับการตรวจสแกนกระดูก คุณจะได้รับการฉีดสารเภสัชรังสีเข้าเส้นเลือด หลังจากนั้นต้องรออยู่ 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้สารเภสัชรังสีที่ฉีดเข้าเส้นเลือดเข้าไปไหลเวียนในร่างกาย หลังจากนั้นคุณจะเข้าสู่การถ่ายภาพสแกนกระดูก โดยจะมีการจับภาพจากกล้องที่ตรวจดูการกระจายตัวของสารเภสัชรังสีที่อาจสะสมได้ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งเป็นพิเศษ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจกระดูกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 534 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การตรวจสแกนกระดูกและความปลอดภัย

แม้ว่าเรื่องสารเภสัชรังสีฟังแล้วอาจจะดูน่ากลัว แต่ว่าระดับสารที่ใช้นั้นต่ำมาก และมักถูกดูดซึมภายในไม่กี่วันโดยไม่มีสารตกค้างอยู่ อย่างไรก็ตามหากคุณกำลังตั้งครรภ์แพทย์อาจจะเลื่อนการตรวจไปเวลาอื่นแทน

การเตรียมตัวก่อนการตรวจสแกนกระดูก

เช่นเดียวกับการตรวจ MRI หรือ CT scan ที่คุณต้องเปลี่ยนเป็นเสื้อผู้ป่วย และถอดเครื่องประดับทั้งหมดออก โดยจะใช้เครื่อง Gamma scan ซึ่งคล้ายกับ CT scan คุณจะต้องนอนหงายบนเตียงตรวจที่มีเครื่องสแกนอยู่รอบ ๆ นอกจากนี้คุณอาจต้องขยับเปลี่ยนท่าระหว่างการตรวจซึ่งเป็นจุดที่แตกต่างจากการตรวจ CT หรือ MRI โดยปกติแล้วการตรวจสแกนกระดูกจะใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมง โดยไม่รวมเวลาที่ต้องรอช่วงการฉีดสารเภสัชรังสี


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
พว.มาลีวรรณ พนาเวศร์, รศ.พญ.ชนิกา ศรีธรา, การเตรียมตัวตรวจสแกนกระดูก (Bone Scan) (https://med.mahidol.ac.th/radiology/th/xrayservices/08212018-1148-th), 1 ส.ค. 61

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การมีเพศสัมพันธ์ในขณะที่คนใดคนหนึ่ง หรือทั้งคู่มีอาการปวดหลัง
การมีเพศสัมพันธ์ในขณะที่คนใดคนหนึ่ง หรือทั้งคู่มีอาการปวดหลัง

คนปวดหลังต้องอ่าน...สิ่งที่ควรทำก่อนมีเพศสัมพันธ์ รวมถึงคำแนะนำและข้อควรระวังเพื่อให้มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

อ่านเพิ่ม
วิตมินบี 6
วิตมินบี 6

ประโยชน์ทางด้านสุขภาพ การใช้ ผลข้างเคียง และอื่นๆ

อ่านเพิ่ม