พีรศักดิ์ คานทองดี
เขียนโดย
พีรศักดิ์ คานทองดี

รักษาโรค ด้วยการฝังเข็มบนร่างกาย

การฝังเข็มบนร่างกาย การรักษาและฟื้นฟูสุขภาพแบบทางเลือกด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีน ซึ่งได้รับการรับรองจาก WHO ว่าสามารถรักษาโรคอย่างได้ผล
เผยแพร่ครั้งแรก 21 พ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 7 ธ.ค. 2022 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
รักษาโรค ด้วยการฝังเข็มบนร่างกาย

ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบัน ทำให้เกิดแนวทางการป้องกันและการรักษาโรคหลากหลายรูปแบบ โดยหากกล่าวถึงรูปแบบการรักษาที่มีมาอย่างยาวนานนับพันปี คงจะหนีไม่พ้น การฝังเข็ม ซึ่งถึงแม้ว่าการฝังเข็มจะเป็นศาสตร์เวชกรรมโบราณตามหลักแพทย์แผนจีน แต่การรักษารูปแบบนี้กลับเป็นที่นิยมของคนในปัจจุบัน ทั้งยังได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลกหรือ WHO (World Health Organization) ว่าเป็นทางเลือกการรักษาที่ได้ผลจริงอีกด้วย

หลักการของการฝังเข็มบนร่างกาย

การฝังเข็ม คือ รูปแบบหนึ่งในการรักษาโรค ป้องกันโรค ฟื้นฟู และสร้างเสริมสุขภาพจากภายในสู่ภายนอก โดยการนำเข็มที่มีขนาดเล็กและบางกว่าเข็มฉีดยาทั่วๆไป ประมาณ 4-6 เท่า ปักลงตามจุดต่างๆ ของร่างกาย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ดูแลสุขภาพด้วยแพทย์แผนจีนวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 77 บาท ลดสูงสุด 76%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ตามทฤษฎีแพทย์แผนจีนเชื่อว่า ร่างกายของคนเราประกอบไปด้วยพลัง 2 ประการ ได้แก่ หยิน และ หยาง ซึ่งเมื่อใดที่หยิน-หยางในตัวขาดความสมดุล ก็อาจก่อให้เกิดภาวะเจ็บป่วยเป็นโรคต่างๆ ตามมา

การฝังเข็มบนร่างกาย ก็เป็นรูปแบบการดูแลรักษาสุขภาพที่เน้นการปรับสมดุลของร่างกายจากภายในสู่ภายนอกนั่นเอง

ฝังเข็มบนร่างกายรักษาโรคอย่างไร?

นอกจากการฝังเข็มบนร่างกายจะช่วยในการรักษาสมดุลแล้ว จากการศึกษายังพบว่า การฝังเข็มนั้นช่วยให้เกิดการหลั่งสารสื่อประสาทให้ออกฤทธิ์ต่อประสาทส่วนกลางที่ระดับไขสันหลัง เพื่อช่วยระงับปวด ทำให้กล้ามเนื้อคลายจุดปวด ปรับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน รวมทั้งกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดให้สะดวกขึ้น

กล่าวโดยสรุป การฝังเข็มเพื่อรักษาโรคสามารถดูแลรักษาระบบต่างๆ ของร่างกายได้ดังนี้

การรักษาด้วยการฝังเข็มบนร่างกายนั้น จะกระทำโดยการนำเข็มฝังตามจุดเส้นลมปราณ ซึ่งในร่างกายของมนุษย์จะมีเส้นลมปราณใหญ่อยู่ 14 เส้น โดยจุดที่มีการบันทึกไว้อย่างชัดเจนในเอกสารตำราแพทย์จีนโบราณและในเอกสารอ้างอิงขององค์การอนามัยโลก (WHO) มีอยู่ด้วยกันจำนวน 349 จุด ขึ้นอยู่กับอาการหรือสภาวะร่างกายของผู้ป่วย เช่น

  • การฝังเข็มบนจุด "เน่ยกวาน" บนเส้นลมปราณเยื่อหัวหัวใจ ซึ่งจะอยู่บริเวณข้อมือ ในจุดนี้จะสามารถช่วยปรับการเต้นของหัวใจในผู้ป่วยที่มีการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ ทั้งยังสามารถทำให้หลอดเลือดหัวใจขยายตัวได้อีกด้วย
  • การฝังเข็มบนจุด "จู๋ซานหลี่" ของเส้นลมปราณกระเพาะอาหาร ซึ่งจะอยู่ที่บริเวณหน้าแข้ง การฝังเข็มจุดนี้จะช่วยกระตุ้นให้กระเพาะอาหารที่หดเกร็ง มีการคลายตัวและบีบตัวเป็นจังหวะดีขึ้น ทั้งยังสามารถปรับการหลั่งของกรดในผู้ป่วยที่มีภาวะกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป ให้ลดน้อยลงสู่สภาวะปกติได้

ขั้นตอนการฝังเข็มบนร่างกาย

แบ่งออกได้เป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ดูแลสุขภาพด้วยแพทย์แผนจีนวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 77 บาท ลดสูงสุด 76%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ขั้นตอนที่ 1 พบแพทย์และวินิจฉัยโรค

แพทย์จะทำการพูดคุย สอบถาม และตรวจอาการของผู้ป่วยอย่างละเอียด ว่ามีอาการป่วยด้วยโรคอะไร มีสาเหตุมาจากอะไร มีโรคประจำตัวอะไร สภาพร่างกาย ณ ขณะนั้น ตลอดจนประวัติการรักษา โดยผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องตอบคำถามอย่างครบถ้วน เพื่อให้การดำเนินการฝังเข็มไปเป็นอย่างมีประสิทธิภาพ

ขั้นตอนที่ 2 กำหนดการรักษา

หลังจากการวินิจฉัยโรคแล้ว แพทย์จะนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อวางแผนการรักษา เช่น กำหนดจุดในการฝังเข็ม อยู่ตรงตำแหน่งไหนบ้าง ฝังทั้งหมดกี่จุด จุดใดเป็นจุดหลัก หรือจุดใดเป็นจุดรอง

ขั้นตอนที่ 3 จัดท่าเพื่อทำการฝังเข็ม

แพทย์จะทำการจัดท่าผู้ป่วยให้อยู่ในท่าที่เหมาะสมกับการกำหนดการรักษา เช่น หากจุดที่ทำการฝังเข็มอยู่บริเวณหลัง หรือเอว ผู้ป่วยก็จะถูกจัดให้อยู่ในท่านอนคว่ำ แต่หากจุดที่จะทำการฝังเข็มอยู่บริเวณ หน้าท้อง แขน ขา ผู้ป่วยก็ต้องนอนหงาย หรือบางกรณีอาจใช้ท่านั่งหรือนอนตะแคง ขึ้นอยู่กับแพทย์กำหนด

ขั้นตอนที่ 4 ดำเนินการฝังเข็ม

แพทย์จะใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคทำความสะอาดบริเวณผิวหนัง เช่นเดียวกับการฉีดยาทั่วไป จากนั้นจะนำเข็มที่มีขนาดประมาณ 0.2 มิลลิเมตรฝังลงตามจุดต่างๆ ที่ได้กำหนดการรักษาไว้ โดยในขณะที่ทำการฝังเข็ม ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บ แต่อาจจะรู้สึกเจ็บเพียงเล็กน้อย และอาจมีอาการหน่วงๆ บริเวณกล้ามเนื้อส่วนนั้นๆ

ขั้นตอนที่ 5 กระตุ้นเข็ม

โดยปกติ หากฝังเข็มบนใบหน้าจะไม่มีการกระตุ้นเข็มร่วมด้วย แต่การฝังเข็มบนร่างกายในบางกรณีจะอาศัยการกระตุ้นเพื่อให้การฝังเข็มมีประสิทธภาพเพิ่มขึ้น โดยสามารถกระตุ้นได้ 2 รูปแบบ ได้แก่

  1. กระตุ้นด้วยการใช้มือ แพทย์จะหมุนเข็มไปทางซ้ายขวาสลับกัน หรือทำการปักและดึงเข็มขึ้นลงสลับกัน วิธีดังกล่าวนี้ เป็นแบบฉบับดั้งเดิมของเวชกรรมฝังเข็มแบบจีน โดยจะทำการกระตุ้นประมาณ 1 นาที ในระยะทุกๆ 5-10 นาที
  2. กระตุ้นด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า โดยใช้สายไฟที่เชื่อมต่อกับเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าชนิดพิเศษเข้ากับเข็ม ซึ่งกระแสไฟฟ้าจะเป็นเพียงกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ หรืออยู่ที่ประมาณ 9 โวลท์ ซึ่งไม่สามารถทำให้เกิดไฟดูดได้

ขั้นตอนที่ 6 นำเข็มออก 

โดยทั่วไปการฝังเข็มจะใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที ซึ่งเมื่อครบเวลาที่กำหนดไว้ แพทย์จะทำการนำเข็มที่ได้ฝังไว้ในแต่ละจุดออกตามลำดับ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การเตรียมตัวก่อนฝังเข็มบนร่างกาย

เนื่องจากกลไกการฝังเข็มบนร่างกาย มีผลต่อการกระตุ้นและปรับสมดุลส่วนต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สภาวะเลือดลม และการไหลเวียนของโลหิต เป็นต้น ซึ่งอาจทำให้ผู้เข้ารับการฝังเข็มเกิดภาวะหน้ามืด วิงเวียน หรือเป็นลมได้ ดังนั้นผู้ที่จะเข้ารับการฝังเข็ม จำเป็นจะต้องเตรียมตัว ดังต่อไปนี้

  • พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ออกกำลังกายหนักเกิน เพื่อไม่ให้ร่างกายไม่มีอาการอ่อนเพลีย
  • ห้ามปล่อยให้ท้องว่าง ไม่งดน้ำและอาหาร หรือไม่ควรรับประทานจนอิ่มเกินไป โดยควรรับประทานอาหารมาก่อนประมาณ 1-2 ชั่วโมง
  • หากมีโรคประจำตัวสามารถรับประทานยาได้ตามปกติ แต่ต้องแจ้งแพทย์ก่อนการฝังเข็มทุกครั้ง

ข้อควรปฏิบัติหลังฝังเข็มบนร่างกาย

ในช่วงแรกหลังการฝังเข็ม ผู้ป่วยอาจมีอาการอ่อนเพลีย ดังนั้นเพื่อสุขภาพจึงควรปฏิบัติดังนี้

  • งดทำกิจกรรมหนักๆ และควรหยุดพักผ่อนประมาณ 1 วัน
  • หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเย็นหรืออยู่ในที่อากาศเย็นจัด เพื่อให้ร่างกายปรับสมดุล
  • ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการไข้ต่ำๆ ให้รับประทานยาลดไข้ได้ตามปกติ
  • หากหลังการฝังเข็ม ผู้รับการฝังเข็มมีอาการผิดปกติ เช่น มีเลือดออกมาก มีอาการบวม ปวดรุนแรงในบริเวณจุดฝังเข็ม หรือมีไข้สูง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิด

ค่าใช้จ่ายในการทำการฝังเข็มบนร่างกาย

ผู้สนใจสามารถเข้ารับบริการฝังเข็มบนร่างกายได้ในสถานพยาบาลที่มีแผนกเกี่ยวกับแพทย์แผนจีน หรือคลินิกการฝังเข็มเฉพาะทาง โดยจะมีอัตราค่าบริการประมาณ 400-3,000 บาท ขึ้นอยู่กับอาการที่เป็นของผู้จะรับการฝังเข็ม และข้อกำหนดของสถานพยาบาลนั้นๆ

การฝังเข็ม เป็นทางเลือกการรักษารูปแบบหนึ่งในปัจจุบันที่ได้รับการรับรองว่าสามารถรักษาโรคต่างๆ อย่างได้ผลจริง

อย่างไรก็ดี ข้อควรคำนึงในการเข้ารับการรักษาในรูปแบบการฝังเข็มควรเป็นไปเช่นเดียวกับการรักษาในรูปแบบทั่วไป คือ ผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องเลือกเลือกสถาพยาบาลที่น่าไว้วางใจ มีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนให้ความร่วมมือทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการรักษาอย่างเคร่งครัด เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด

บทความที่เกี่ยวข้อง

รีวิว ฝังเข็มออฟฟิศซินโดรม กระตุ้นไฟฟ้า ที่ สวนกวางตุ้งคลินิก | HDmall
รีวิว ฝังเข็ม Office Syndrome กระตุ้นไฟฟ้า และโคมไฟอินฟาเรด ที่ สวนกวางตุ้งคลินิก | HDmall
รีวิวฝังเข็ม บรรเทาภูมิแพ้ ที่ ดวงกมลคลินิกกายภาพบำบัด และการแพทย์แผนจีน | HDmall
รีวิวทุกขั้นตอน ฝังเข็ม ครอบแก้ว ติดหมุดใบหู ที่ Mandarin Clinic | HDmall
รีวิวฝังเข็ม รักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ที่ สวนกวางตุ้งคลินิก | HDmall

รีวิวการรักษาอาการไหล่ติด ด้วยวิธีผสมผสาน 3 ศาสตร์ กายภาพบำบัด นวดคลายกล้ามเนื้อ และฝังเข็ม ที่ ดวงกมลคลินิกกายภาพบำบัด และการแพทย์แผนจีน | HDmall


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ฝังเข็มแบบจีนกับแบบตะวันตก แตกต่างกันอย่างไร? ควรเลือกแบบไหนให้เหมาะกับอาการของเรา? (https://hdmall.co.th/c/what-difference-dry-needling-vs-acupuncture).
ฝังเข็ม อันตรายไหม? ช่วยอะไรได้บ้าง? (https://hdmall.co.th/c/what-is-chinese-acupuncture).
การฝังเข็มแบบตะวันตกคืออะไร? Dry Needling รักษาโรคอะไรได้บ้าง? (https://hdmall.co.th/c/what-is-dry-needling-puncture).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)