กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ยาคุมกับรอบประจำเดือน

ตอบปัญหาคาใจ ยาคุมฉุกเฉินมีผลอย่างไรกับร่างกาย แล้วหากกินยาคุมฉุกเฉินแล้วประจำเดือนไม่มาควรทำอย่างไร?
เผยแพร่ครั้งแรก 20 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 8 ก.พ. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 28 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ยาคุมกับรอบประจำเดือน

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การรับประทานยาคุมเพื่อให้มีประสิทธิภาพที่สุด ควรรับประทานหลังมีเพศสัมพันธ์ภายใน 72 ชั่วโมง
  • หลายคนมักเชื่อว่า หากประจำเดือนมาภายใน 7 วันหลังรับประทานยาคุมแล้วแสดงว่า ไม่ตั้งครรภ์อย่างแน่นอน ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิด
  • เพราะฮอร์โมนที่อยู่ในยาคุม อาจทำให้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนของผู้หญิงแกว่งได้ จนทำให้รอบเดือนคลาดเคลื่อน และอาจมาช้ากว่า 7 วันอย่างที่หลายคนเข้าใจ
  • วิธีพิสูจน์ให้มั่นใจว่า คุณไม่ได้ตั้งครรภ์แน่นอนแม้จะรับประทานยาคุมฉุกเฉินแล้ว คือ รอให้รอบเดือนครั้งถัดไปมาเสียก่อน หรือไปตรวจกับแพทย์โดยตรง
  • หากคุณไม่มั่นใจในรอบเดือน หรือเลือดที่ออกมาหลังจากรับประทานยาคุมว่า ใช่เลือดประจำเดือนหรือไม่ คุณควรไปตรวจกับสูตินรีแพทย์เพื่อความมั่นใจ (ดูแพ็กเกจตรวจภายใน มะเร็งปากมดลูก และรังไข่ได้ที่นี่)

เมื่อใช้ยาคุมฉุกเฉิน หลายคนก็มักจะตั้งคำถามขึ้นมาในภายหลังว่า "หากกินยาคุมฉุกเฉินแล้วประจำเดือนไม่มา จะท้องหรือไม่?" และคำตอบก็คือ "อาจท้อง หรือไม่ท้องก็ได้"

สำหรับที่มาของคำถามนี้ อาจมาจากความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน ว่าหลังจากใช้แล้วประจำเดือนจะต้องมาภายใน 7 วัน เพื่อการันตีว่า ไม่มีการตั้งครรภ์อย่างแน่นอน

จริงอยู่ที่ประจำเดือนมานั้น เป็นสัญญาณบอกว่า คุณไม่ได้ตั้งครรภ์อย่างแน่นอน แต่ด้วยสภาวะร่างกาย และสุขภาพของผู้หญิงแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน จึงไม่สามารถการันตีได้ว่า ประจำเดือนจะต้องมาภายใน 7 วันแน่นอน 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

และในปัจจุบันมียาคุมฉุกเฉินหลากหลายรูปแบบ และยี่ห้อให้คุณได้เลือกใช้ เช่น ยาคุมแบบรายเดือน ยาคุมแบบฉุกเฉิน หรือยาคุมเพื่อใช้เลื่อนประจำเดือน

ดังนั้นผู้ที่ยังมีความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับรอบเดือน และยาคุมฉุกเฉิน ควรลองอ่านบทความนี้ดูซักรอบ เพื่อจะได้เข้าใจถึงที่มาที่ไป และกลไกการเกิดประจำเดือน รวมถึงการออกฤทธิ์ของยาคุมฉุกเฉินอย่างถูกต้องด้วย

วิธีดูรอบวันตกไข่

คุณสามารถรู้วันตกไข่ของตนเอง โดยหาระยะห่างของวันแรกที่ประจำเดือนมาแต่ละครั้ง และให้ทำแบบนี้ซ้ำๆ หลายเดือนๆ จากนั้นคุณจะเริ่มเห็นแนวโน้มว่า รอบประจำเดือนที่ผ่านมานั้น มาทุกกี่วัน และมาตรงสม่ำเสมอหรือไม่

หากประจำเดือนของคุณมาตรง และสม่ำเสมอตลอด คุณก็จะสามารถคาดเดาวันตกไข่ของตนเองได้

กลไกการเกิดประจำเดือน 

ในช่วงที่คุณมีประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดระดับลงจนถึงขีดสุด รวมถึงต่อมใต้สมองส่วนหน้าจะหลั่งฮอร์โมนกระตุ้นรังไข่ (Follicle Stimulating Hormone: FSH) ออกมา เพื่อกระตุ้นให้ไข่โตขึ้น 

จากนั้นเยื่อบุผิวด้านในของโพรงไข่ก็จะหลั่งฮอร์โมนเอสโตรเจนออกมา ทำให้เยื่อบุมดลูกหนาตัวขึ้น เมื่อไข่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ต่อมใต้สมองส่วนหน้าก็จะหลั่งฮอร์โมนลูทิไนซิง (Luteinizing Hormone) ซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นรังไข่ เพื่อทำให้ไข่ตกออกมาจากรังไข่ และทำให้มีการตกไข่เกิดขึ้นใรช่วงกลางวงรอบเดือนนั่นเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เกิดไข่ตกออกมาแล้ว โพรงไข่ก็จะพัฒนาเป็นคอร์ปัสลูเทียม มีลักษณะเป็นเยื่อสีเหลืองซึ่งคอยทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน เพื่อออกมาเปลี่ยนแปลงหลอดเลือด และต่อมต่างๆ ในเยื่อบุมดลูก ให้พร้อมรับการฝังตัวของไข่ที่ผสมกับตัวอสุจิแล้ว 

นอกจากนี้ คอร์ปัสลูเทียมจะคอยยับยั้งการหลั่งของฮอร์โมน FSH และฮอร์โมนลูทิไนซิงจากต่อมสมองส่วนหน้า เพื่อให้หยุดการเลี้ยงไข่ และป้องกันการตกไข่ซ้ำซ้อนกันด้วย

หากคุณมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่มีการตกไข่ แล้วตัวอสุจิได้ผสมกับไข่ที่ตกออกมา ก็ถือว่ามีการปฏิสนธิเกิดขึ้น และไข่กับอสุจิที่ผสมกันก็จะเคลื่อนตัวจากท่อนำไข่มาที่เยื่อบุมดลูก ซึ่งหากฝังตัวได้สำเร็จ ก็ถือว่ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นแล้ว

แต่หากไม่มีการฝังตัว คอร์ปัสลูเทียมจะฝ่อ และสลายตัวไป ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนก็จะลดลง ส่งผลให้เกิดการหลุดลอกของเยื่อบุมดลูก และออกมาเป็นประจำเดือนนั่นเอง

วิธีกินยาคุมฉุกเฉินอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

ยาคุมฉุกเฉินจะป้องกันการตั้งครรภ์ด้วยการยับยั้งการตกไข่ และรบกวนการเตรียมความพร้อมของเยื่อบุมดลูกเพื่อรับการฝังตัว ดังนั้นหากคุณใช้ยาคุมก่อนที่ฮอร์โมนลูทิไนซิงจะเพิ่มขึ้น ก็จะช่วยเลื่อนวันที่ไข่ตกออกไปได้ 

แต่หากตัวยาไม่สามารถชะลอการตกไข่ได้ทัน ก็จะทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกพร้อมสำหรับการฝังตัวได้ และทำให้โอกาสที่ไข่ซึ่งผสมกับอสุจิแล้วฝังตัวได้สำเร็จมีสูงขึ้น ดังนั้นการกินยาคุมฉุกเฉินควรรับประทานภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากมีเพศสัมพันธ์ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เพราะหากหลังจากนั้น ไข่อาจจะผสมกับตัวอสุจิไปเรียบร้อยแล้ว

ไขกระจ่างเรื่อง ประจำเดือนมาช้าลง หรือมาเร็วไปกว่าที่คิด หลังรับประทานยาคุม

คุณจะเห็นได้ว่า กว่าที่เยื่อบุมดลูกจะหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือนได้ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนต้องลดต่ำลงมากจนถึงขีดสุด 

ดังนั้นการได้รับยาคุมฉุกเฉินซึ่งเป็นฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเช่นกัน จึงอาจทำให้ระดับฮอร์โมนแกว่งขึ้นแล้วลดลงหลังหยุดใช้ แต่ก็ไม่ได้ลดต่ำจนถึงขีดสุดอย่างที่ควรจะเป็น ทำให้ประจำเดือนอาจไม่มาภายใน 7 วันหลังรับประทานยาได้อย่างที่หลายคนคาดการณ์ 

อย่างไรก็ตาม ยาคุมฉุกเฉินจะมีผลให้ประจำเดือนมาเร็วขึ้น หรือช้าลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยอาจคลาดเคลื่อน มาช้าลง หรือมาเร็วขึ้นไม่เกิน 2-4 วัน 

สำหรับกลุ่มผู้ที่โอกาสประจำเดือนจะมาช้าลง คือ ผู้ที่มีรอบประจำเดือนน้อยกว่า 26 วัน หรือผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปี หรือใช้ยาคุมฉุกเฉินหลังจากที่มีไข่ตกไปแล้ว 

แต่หากคุณใช้ยาคุมกำเนิดก่อนที่จะมีไข่ตก ประจำเดือนมักจะมาเร็วขึ้นเล็กน้อย ซึ่งจะสอดคล้องกับข้อมูลด้านประสิทธิภาพของยาคุมฉุกเฉิน ในการลดช่วงเวลาหลังไข่ตกให้สั้นลงได้ดีกว่า เมื่อรับประทานก่อนที่ระดับฮอร์โมนลูทิไนซิงจะเพิ่มขึ้นมาก

และถึงแม้รอบประจำเดือนอาจคลาดเคลื่อนได้เมื่อใช้ยาคุมฉุกเฉิน แต่ส่วนมากในเดือนถัดไป รอบเดือนของคุณก็จะมาตามปกติ และอาจมีคลาดเคลื่อนได้บ้างเล็กน้อย

และอีกสิ่งสำคัญที่คุณจะรู้ คือ อาจมีเลือดซึ่งไม่ใช่ประจำเดือนออกมาภายใน 7 วันหลังรับประทานยาคุมฉุกเฉินได้ แต่จะพบได้เป็นส่วนน้อย โดยยังไม่ทราบกลไกการเกิดที่แน่ชัด อีกทั้งเลือดที่ออกก็มักมีปริมาณเล็กน้อย เท่านั้น และจะมีระยะเวลาที่ไหลออกมาประมาณ 2-4 วัน

เลือดที่ออกมาหลังยากินยาคุม คือประจำเดือนใช่หรือไม่

บางคนมีความเข้าใจที่ผิดว่า เลือดที่ออกมาหลังรับประทานยาคุมฉุกเฉิน คือ เลือดประจำเดือนเท่านั้น และถ้าเลือดไหลออกมาภายใน 7 วัน ก็แสดงว่าไม่ตั้งครรภ์อย่างแน่นอน ซึ่งคงต้องบอกว่า นี่เป็นความเชื่อที่ผิด

จริงอยู่ว่า ถ้ามีประจำเดือนมาแล้ว แสดงว่าในรอบเดือนนั้นคุณไม่ได้ตั้งครรภ์อย่างแน่นอน แต่ปัญหาก็คือ ถ้าเลือดที่ออกมาเป็นแค่เลือดกะปริบกะปรอยอันเป็นผลข้างเคียงจากยา ก็ถือว่ายังมีโอกาสตั้งครรภ์ได้อยู่ 

และแม้จะไม่มีเลือดใดๆ ออกมาเลยภายใน 7 วันหลังรับประทานยาคุมฉุกเฉิน ก็ไม่ได้มีความเกี่ยวว่าคุณจะตั้งครรภ์เสมอไป โดยคุณอาจต้องรอไปอีกสักพัก เพื่อให้ถึงเวลาวงจรรอบเดือนปกติก่อน หรือเพื่อความมั่นใจ คุณควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้แน่ใจว่า ตนเองไม่ได้ตั้งครรภ์

ดูแพ็กเกจตรวจภายใน มะเร็งปากมดลูก และรังไข่ได้ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ตอบปัญหาเรื่องยาโดยเภสัชกรหน่วยคลังข้อมูลยา (https://www.pharmacy.mahidol.a...), 2 พฤศจิกายน 2556

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป