วงแหวนคุมกำเนิด

เผยแพร่ครั้งแรก 6 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
วงแหวนคุมกำเนิด

วงแหวนคุมกำเนิดมีวิธีการใช้โดยการสอดเข้าไปในช่องคลอดคล้ายกับการเหน็บยา โดยวงแหวนจะปล่อยฮอร์โมนเช่นเดียวกับยาเม็ดคุมกำเนิดและดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ข้อมูลต่อไปนี้จะช่วยให้คุณรู้จักวงแหวนคุมกำเนิดมากขึ้น

วงแหวนคุมกำเนิดคืออะไร

วงแหวนคุมกำเนิดมีลักษณะเป็นวงแหวนพลาสติกนุ่มยืดหยุ่นได้ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 เซนติเมตร มีวิธีการใช้โดยการสอดเข้าไปในช่องคลอดคล้ายกับการเหน็บยาโดยวงแหวนจะปล่อยฮอร์โมนเช่นเดียวกับยาเม็ดคุมกำเนิดและดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งฮอร์โมนที่ฝังอยู่ในวงแหวนจะออกฤทธิ์เช่นเดียวกับสารเคมีในร่างกายที่คอยควบคุมการทำงานของอวัยวะแต่ละส่วนและฮอร์โมนจะส่งผลต่อรังไข่และมดลูกสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

วงแหวนคุมกำเนินทำงานอย่างไร

การรวมกันของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและฮอร์โมนเอสโตรเจนในวงแหวนคุมกำเนิดจะเป็นตัวป้องกันการตกไข่ของคุณผู้หญิงและเมื่อไม่มีการตกไข่การตั้งครรภ์ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากจะไม่มีไข่ให้อสุจิของคุณผู้ชายปฏิสนธิได้ นอกจากนี้ ฮอร์โมนที่อยู่ในวงแหวนจะช่วยให้เมือกบริเวณปากมดลูกหนาขึ้นทำให้อสุจิเข้าถึงไข่ที่อาจหลุดออกมาได้ยาก ฮอร์โมนในวงแหวนบางครั้งอาจส่งผลกระทบต่อเยื่อบุโพรงมดลูกส่งผลให้ไข่ไม่สามารถเกาะติดกับผนังมดลูกทำให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้

การใช้วงแหวนคุมกำเนิดจะมีลักษณะคล้ายกันกับการทานยาคุมกำเนิดหรือการใช้ห่วงคุมกำเนิด คือ จะใช้ตามรอบของการมีประจำเดือน การสอดวงแหวนจะมีลักษณะเช่นเดียวกับการใช้ผ้าอนามัยแบบสอดในวันแรกที่เริ่มมีประจำเดือนหรือประมาณ 5 วันก่อนการมีประจำเดือน โดยจะสอดวงแหวนทิ้งไว้ประมาณ 3 สัปดาห์ แล้วจึงดึงวงแหวนออก จากนั้นอีกไม่กี่วันรอบเดือนของคุณสาวๆ ก็จะมาตามปกติ และเมื่อครบ 4 สัปดาห์ซึ่งตรงกับช่วงรอบเดือนพอดี คุณผู้หญิงก็สามารถสอดวงแหวนอันใหม่เข้าไปในช่องคลอด ซึ่งช่วงวันเวลาของการสอดวงแหวนจะตรงกันเสมอในทุกๆ รอบเดือนแม้จะเป็นช่วงระหว่างที่มีประจำเดือนก็ตาม

เนื่องจากฮอร์โมนในวงแหวนจะไม่ถูกปล่อยออกมาในทันที ดังนั้นการคุมกำเนินอื่นๆ เช่น การใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วยก่อนถึงช่วงสอดวงแหวนรอบใหม่จะช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิผล อย่างไรก็ตาม การใช้ถุงยางอนามัยไปด้วยจะช่วยป้องกันการโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี

ตำแหน่งที่เหมาะสมในการสอดวงแหวนนั้นไม่ได้ถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะขึ้นอยู่กับความรู้สึกสบายของผู้ใช้ เนื่องจากตัววงแหวนเองไม่ได้ทำหน้าที่คุมกำเนิดแต่เป็นฮอร์โมนที่ปล่อยออกมาตังหากที่จะเป็นตัวคุมกำเนิด ดังนั้น หากสาวๆ รู้สึกอึดอัดบริเวณช่องคลอดก็สามารถดันหรือดึงวงแหวนออกมาแล้วใส่เข้าไปใหม่ได้ และหากวงแหวนอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมคุณจะรู้สึกเบาสบายตัว ซึ่งจะไม่มีอุปสรรคใดๆ ต่อการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตของคุณ ไม่ว่าจะเป็นการว่ายน้ำ แช่อ่างน้ำ ออกกำลังกาย หรือแม้แต่ช่วงที่มีเพศสัมพันธ์ก็ไม่ได้ส่งผลหรือเป็นอุปสรรคแต่อย่างใด

วงแหวนจะถูกจัดให้อยู่ในที่ๆ เหมาะสมอย่างอัตโนมัติโดยกล้ามเนื้อช่องคลอดซึ่งยากมากที่จะหลุดออกมาได้ แต่หากวงแหวนหลุดออกมา คุณเพียงล้างทำความสะอาดด้วยน้ำเย็นปกติ (ห้ามล้างด้วยน้ำอุ่นเด็ดขาด) แล้วสอดกลับเข้าไปที่เดิมภายใน 3 ชั่วโมง เพราะหากนานกินกว่า 3 ชั่วโมง วงแหวนจะลดประสิทธิภาพลงและอาจทำให้ตั้งครรภ์ได้ โดยจะต้องใช้วิธีการคุมกำเนิดอื่นๆ ประมาณ 7 วัน เพื่อให้แน่ใจว่าวงแหวนจะกลับไปทำงานเช่นเดิมอีกครั้ง และหากวงแหวนหลุดออกมานานกว่า 3 ชั่วโมง ในช่วงสัปดาห์ที่สามของการใส่วงแหวน แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อสอดวงแหวนอันใหม่เข้าไปแทนหรือแพทย์อาจบอกให้คุณหยุดการใช้ไปก่อนจนกว่าจะครบรอบเดือน เพราะการสอดวงแหวนอันใหม่เข้าไปแทนจะทำให้รอบเดือนของคุณมาเร็วขึ้น ดังนั้นแพทย์จะแนะนำให้คุณใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบอื่นไปก่อน

วงแหวนคุมกำเนิดมีประสิทธิภาพมากเพียงใดต่อการคุมกำเนิด

ประสิทธิภาพของวงแหวนคุมกำเนิดนั้นให้ผลเช่นเดียวกับการใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนอื่นๆ เช่น แผ่นแปะคุมกำเนิดหรือยาคุมกำเนิด จากผลทางสถิติแสดงให้เห็นว่า การใช้วงแหวนในระยะเวลา 1 ปี ประมาณ 8 จาก 100 คู่รักมีโอกาสตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งแน่นอนว่าโอกาสในการตั้งครรภ์นั้นขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้วงแหวนว่าถูกต้องตามคำแนะนำหรือไม่ ซึ่งการสอดวงแหวนไม่ตรงเวลา การลืมสอดวงแหวนในบางเดือน หรือ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การถอดวงแหวนก่อนเวลาครบกำหนด อาจเป็นสาเหตุให้เกิดการตั้งครรภ์ได้

โดยปกติแล้ว ประสิทธิภาพของการคุมกำเนิดแต่ละวิธีนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ผู้ใช้มีปัญหาทางสุขภาพหรือไม่ หรือผู้ใช้มีการใช้ยารักษาโรคอื่นๆ ร่วมด้วยหรือไม่ ดังนั้น คุณจึงต้องแจ้งแพทย์ให้ทราบว่าคุณกำลังทานยารักษาโรคหรือทานอาหารเสริมใดๆ อยู่ด้วย เพื่อแพทย์จะได้หาวิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสม และเนื่องจากวงแหวนคุมกำเนิดมีข้อดีที่คุณไม่ต้องเตือนตัวเองอยู่ทุกวันว่าต้องกินยาคุมกำเนิดหรือแปะแผ่นคุมกำเนิด แต่อย่างไรก็ตาม คุณสาวๆ ก็ยังต้องคอยเตือนตัวเองทุก 3 สัปดาห์ เพื่อถอดวงแหวนออกและใส่วงแหวนอีกครั้งในอีก 1 สัปดาห์ การไม่ใช้วงแหวนตามรอบเวลาจะเกิดความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์สูง

วงแหวนคุมกำเนิดป้องกันการโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่

วงแหวนคุมกำเนิดไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ คู่รักที่มีเพศสัมพันธ์จะต้องใช้ถุงยางอนามัยร่วมกับการใช้วงแหวนเพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งการคุมกำเนิดแบบงดมีเพศสัมพันธ์ (Abstinence) เป็นวิธีการเดียวที่จะช่วยป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้วงแหวนคุมกำเนิด

การใช้วงแหวนคุมกำเนิดเป็นวิธีการคุมกำเนิดที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่ง หญิงสาวส่วนใหญ่ที่ใช้วงแหวนไม่มีปัญหาเกี่ยวกับผลข้างเคียงใดๆ แต่ทว่า การสูบบุหรี่อาจส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงได้ ดังนั้น แพทย์จะไม่แนะนำให้สูบบุหรี่เมื่อใช้วงแหวนคุมกำเนิด

ผลข้างเคียงจากการใช้วงแหวนคุมกำเนิดจะมีอาการคล้ายกับผลข้างเคียงจากการทานยาคุมกำเนิด ดังนี้

ผลข้างเคียงอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้จากการใช้วงแหวน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • เกิดการระคายเคืองหรืออักเสบบริเวณช่องคลอด
  • มีอาการตกขาว
  • มีปัญหาเมื่อใช้คอนแทคเลนส์ เช่น ระยะการมองเห็นของสายตาเปลี่ยนหรืออาจไม่สามารถใส่คอนแทคเลนส์ได้ตามปกติ

อาการข้างเคียงต่างๆ เหล่านี้จะเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยและจะหายไปเมื่อใช้วงแหวนไปแล้ว 2-3 เดือน

วงแหวนคุมกำเนิดสามารถใช้ได้กับสาวๆ ทุกคนหรือไม่

วงแหวนคุมกำเนิดเหมาะกับสาวๆ วัยรุ่นที่มักลืมทานยาคุมกำเนิดหรือผู้ที่มีปัญหากับการกลืนยาเม็ด ซึ่งผู้ใช้จะต้องรู้สึกสะดวกใจที่จะสอดวงแหวนเข้าไปในช่องคลอดด้วย ซึ่งไม่ได้หมายความว่าสาวๆ ทุกคนสามารถใช้วงแหวนคุมกำเนิดได้ การใช้ยารักษาโรคอื่นๆ หรือปัญหาทางสุขภาพอาจส่งผลต่อการใช้วงแหวนได้ เช่น วงแหวนคุมกำเนิดจะไม่แนะนำให้ใช้กับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการแข็งตัวของลิ่มเลือด ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคมะเร็งบางชนิด มีอาการปวดหัวไมเกรน หรือเป็นโรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ด้วย เป็นต้น

หญิงสาวที่มีเลือดออกทางช่องคลอดในช่วงที่ไม่มีประจำเดือน หรือผู้ที่อาจสงสัยว่ากำลังตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ หยุดใช้วงแหวนทันที และเปลี่ยนไปใช้วิธีการคุมกำเนิดรูปแบบอื่นแทน

สาวๆ ที่สนใจและต้องการทราบเกี่ยวกับผลข้างเคียงของวิธีการคุมกำเนิดรูปแบบต่างๆ รวมถึงการใช้วงแหวนคุมกำเนิด สามารถปรึกษาแพทย์เฉพาะทางหรือสูตินรีแพทย์เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้องเหมาะสม

แล้วจะหามาใช้ได้อย่างไร

การใช้วงแหวนคุมกำเนิดจะต้องได้รับคำแนะนำและใบสั่งจากแพทย์หรือพยาบาล โดยแพทย์จะทำการซักประวัติทางสุขภาพและตรวจเช็คร่างกายของคุณ เช่น ตรวจวัดความดันโลหิตและตรวจภายใน สาวๆ ที่

เริ่มใช้วงแหวนจะต้องพบแพทย์เพื่อตรวจวัดความดันโลหิตอีกครั้งและเพื่อให้แน่ใจว่าการใช้วงแหวนไม่ได้มีปัญหาใดๆ หลังจากการใช้ไปแล้วประมาณ 1-2 เดือน หลังจากนั้น แพทย์จะนัด 1-2 ครั้งต่อปี หรือเมื่อจำเป็น เพื่อดูว่าการใช้วงแหวนเป็นไปอย่างปกติดีหรือไม่

วงแหวนคุมกำเนิดมีราคาแพงไหม

วงแหวนคุมกำเนิดมีราคาอยู่ที่ 900 – 2,500 บาทต่ออัน ซึ่งการซื้อตามโรงพยาบาลรัฐหรือศูนย์อนามัยของรัฐอาจมีราคาถูกกว่าซื้อตามร้านขายยา โดยการปรึกษาแพทย์เพื่อการคุมกำเนิดและการคุมกำเนิดมักได้รับการครอบคลุมอยู่ในแผนสุขภาพของประกันสุขภาพด้วย

 ที่มาของข้อมูล http://kidshealth.org/en/teens/contraception-ring.html


15 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Vaginal ring. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/contraception/vaginal-ring/)
How the NuvaRing Works and Its Pros and Cons. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/nuvaring-description-advantages-and-effectiveness-906865)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป