ประโยชน์ดีๆ ของแตงโม ผลไม้สัญลักษณ์ของหน้าร้อน

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ประโยชน์ดีๆ ของแตงโม ผลไม้สัญลักษณ์ของหน้าร้อน

ฤดูร้อน ต่อเนื่องกับฤดูฝนแบบนี้ ผลไม้ที่น่ารับประทานมากอย่างหนึ่งก็คือ “แตงโม” เพราะเป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ของหน้าร้อน มีรสชาติหวานๆเย็นๆฉ่ำชื่นใจ ถ้าได้แช่ในตู้เย็นแล้วเอาออกมารับประทานก็ยิ่งอร่อยชื่นใจไปใหญ่ และไม่เพียงจะมีดีที่ความอร่อยเท่านั้น แตงโมยังมีประโยชน์อีกหลายอย่าง ที่เรียกได้ว่ารับประทานครั้งเดียวคุ้มค่าได้ทั้งความอร่อยและประโยชน์

อ่าน: ประโยชน์ของแตงโม สุดยอดผลไม้สีแดง ที่มีวิตามินและแร่ธาตุมากมาย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

แตงโมกับคนอ้วนและเบาหวาน

ในแตงโมมีสารชนิดหนึ่งคือ ซิทรูไลน์ (Citrulline) ซึ่งสารชนิดนี้มีประโยชน์ ช่วยในเรื่องของการขยายหลอดเลือดแดงภายในร่างกาย อีกทั้งสารนี้ยังเป็นประโยชน์ต่อคนที่เป็นโรคอ้วนและโรคเบาหวาน โดยสามารถพบสารนี้ได้มากที่บริเวณเปลือกของแตงโม ดังนั้นหากจะรับประทานแตงโมให้มีประโยชน์มากที่สุด ก็ควรจะรับประทานส่วนที่เป็นเนื้อและเปลือกสีขาวๆด้วย และก่อนจะผ่าแตงโมก็ควรล้างน้ำให้สะอาดเพื่อป้องกันสารพิษที่อาจตกค้างบริเวณเปลือกได้
นอกจากนี้ แตงโม ยังเหมาะที่จะเป็นผลไม้ช่วยลดน้ำหนัก เพราะมีแคลอรี่ต่ำ รับประทานแล้วไม่อ้วน อีกทั้งยังช่วยป้องกันและลดการสะสมของไขมันที่จับอยู่ภายในหลอดเลือดได้ เพราะในแตงโมมี ไลโคปีน (Lycopene) ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งในส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ และยังรวมไปถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ

ไม่เพียงเท่านี้ แตงโมยังช่วยบำรุงเส้นผมให้แข็งแรง ช่วยบำรุงดูแลสายตา และสามารถใช้ล้างพิษจากอาหารที่ทานเข้าไปก่อนหน้าได้ รวมถึงช่วยลดอาการไข้ คอแห้ง และรักษาแผลภายในปากได้

แตงโมกับการบำรุงผิว

แตงโมไม่ได้มีประโยชน์แต่เพียงภายในร่างกายเท่านั้น แต่แตงโมยังสามารถดูแลผิวพรรรให้ดูดี โดยการใช้แตงโมมาพอกหน้า หรือจะนำมาทำทรีทเม้นท์เพื่อบำรุงผิว ก็จะทำให้ผิวชุ่มชื้น แก้ปัญหาผิวแห้งกร้านได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้การนำแตงโมมาพอกหน้ายังช่วยดูดซับความมันบนใบหน้า ลดอาการแสบแดงที่เกิดจากผิวไหม้แดด สำหรับสาวๆจึงไม่ควรพลาดที่จะนำแตงโมมาพอกหน้าอย่างเด็ดขาด

สำหรับวิธีการนำแตงโมมาพอกหน้า แค่เพียงนำเนื้อแตงโมมาฝานให้เป็นแผ่นบางๆ นำไปวางในผ้าขาวบาง แล้วนำมาวางปิดลงบนใบหน้าให้ทั่ว ทิ้งไว้ 15 นาที จากนั้นจึงล้างหน้าด้วยน้ำสะอาด แค่นี้ก็เป็นอันว่าเรียบร้อยแล้ว

แตงโมกับการออกฤทธิ์ด้านเพศ

ได้มีงานวิจัยออกมาบอกว่าในเนื้อและเปลือกของแตงโมมีสารที่ออกฤทธิ์คล้ายกับไวอากร้า โดยต้องรับประทานเข้าไปมาก ๆจนสาร Citrulline ในแตงโมออกมาทำปฏิกิริยากับเอนไซม์ในร่างกาย แล้วเกิดกรดอะมิโนอาร์จินีนขึ้นมา แล้วไปออกฤทธิ์กระตุ้นให้หลอดเลือดคลายตัว พร้อมๆกับระบบหมุนเวียนเลือดดีขึ้น จนมีความรู้สึกคล้าย ๆกับการออกฤทธิ์ของไวอากร้า
แต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญเกิดเห็นแย้งว่า แม้มันจะมีคุณสมบัติดังกล่าวจริง แต่การรับประทานแตงโมเข้าไปมาก ๆก็คงช่วยเรื่องอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศไม่ได้ เพราะคงมีผลแค่ทำให้ร่างกายปัสสาวะบ่อยขึ้นเท่านั้น เนื่องจากในอดีตแตงโมจะนำไปใช้เป็นยาขับปัสสาวะมากกว่านำไปเป็นยารักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ อีกทั้งผลเสียที่ตามมาก็คือ การรับประทานแตงโมมากเกินไป น้ำตาลในแตงโมอาจแพร่เข้าสู่กระแสเลือด จนมีผลทำให้เป็นตะคริวได้

แม้ว่าแตงโมจะมีประโยชน์มากมาย แต่ผู้ป่วยหรือผู้ที่มีความผิดปกติบางอย่าง เช่น ผู้ที่มีอาการอาหารไม่ย่อย ท้องอืด หรือเป็นโรคเยื่อบุลำไส้อักเสบเรื้อรัง ความดันต่ำ มีแก๊สในกระเพาะอาหาร มีไข้สูงหรือท้องเสียบ่อยๆ ก็อาจต้องหลีกเลี่ยงไม่รับประทานแตงโมไปก่อนไม่เช่นนั้นอาจเกิดอันตรายได้


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Watermelon Guide: Nutrition, Carbs, Benefits, and More on the Summer Staple. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/diet-nutrition/diet/watermelon-nutrition-carbs-benefits-more-on-summer-staple/)
Watermelon: Health benefits, nutrition, and risks. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/266886)
Top 9 Health Benefits of Eating Watermelon. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/watermelon-health-benefits)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป