7 ประโยชน์ของนมถั่วเหลืองที่บอกเลยว่าไม่ธรรมดา

เผยแพร่ครั้งแรก 20 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
7 ประโยชน์ของนมถั่วเหลืองที่บอกเลยว่าไม่ธรรมดา

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า นมเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก อีกทั้งยังทานได้ทุกเพศทุกวัย แต่นอกจากนมวัวจะเป็นตัวเลือกแรกๆ ที่หลายคนนึกถึงแล้ว " นมถั่วเหลือง " ก็เป็นนมอีกชนิดหนึ่งที่ฮอตไม่แพ้กันเลยค่ะ เพราะนอกจากจะหาทานง่าย หรือเป็นผลิตภัณฑ์ที่โดนใจคนที่เป็นมังสวิรัติ เพราะไม่มีส่วนผสมของนมสัตว์แล้ว นมถั่วเหลืองก็ยังเปี่ยมไปด้วยคุณค่าทางอาหารชนิดที่เรียกว่าไม่น้อยหน้านมชนิดอื่นๆ เลยค่ะ ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณไปดูหลากประโยชน์ของนมถั่วเหลืองที่หลายคนอาจยังไม่เคยรู้ แต่จะมีอะไรบ้างนั้น เราลองมาดูพร้อมกันเลยค่ะ

1. ลดความดันโลหิต

หากคุณเป็นโรคความดันโลหิตสูง นมถั่วเหลืองก็นับว่าเป็นเครื่องดื่มที่เหมาะกับคุณมากค่ะ เพราะมันมีสรรพคุณช่วยรักษาโรคดังกล่าว โดยจะไปลดความดันซิสโตลิก (Systolic pressure) และไดแอสโตลิก  (Diastolic pressure) นอกจากนี้นมถั่วเหลืองยังมีสารโพลีฟีนอลที่สามารถช่วยควบคุมความดันไม่ให้อยู่ในระดับสูงเกินไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

2. รักษาโรคเบาหวานประเภท 2

ด้วยความที่นมถั่วเหลืองมีแคลเซียมสูง และไขมันต่ำ ทำให้มันเป็นทางเลือกสุดเพอร์เฟ็กต์สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ทั้งนี้นมถั่วเหลืองมีคุณสมบัติช่วยลดคอเลสเตอรอล และป้องกันโรคเกี่ยวกับหัวใจ ซึ่งการดื่มนมถั่วเหลืองจะมีผลต่อระดับไขมันในทางบวกที่จะเป็นประโยชน์ในการรักษาโรคเบาหวาน เพียงแต่คุณต้องจำกัดการดื่มให้อยู่ในระดับปานกลาง เพราะการได้รับโปรตีน และคาร์บมากเกินไปก็อาจทำให้แผนการทานอาหารที่วางไว้พังลงได้

3. ช่วยให้น้ำหนักลดลง

ไฟเบอร์ที่พบได้ในนมถั่วเหลืองมีผลกระทบที่สำคัญต่อดัชนีมวลกาย ระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี และน้ำหนักตัว ซึ่งมีประโยชน์สำหรับคนที่ต้องการลดความอ้วน  ความดันโลหิต และระดับไขมันส่วนเกิน เมื่อผสมผสานการทานนมถั่วเหลืองกับอาหารที่มีไขมันต่ำชนิดอื่นๆ โปรตีนในถั่วเหลืองจะช่วยให้น้ำหนักลดลง แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งมวลของกล้ามเนื้อในคนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน

4. ช่วยให้สุขภาพหัวใจดีขึ้น

จากข้อมูลของ USFDA มีการระบุว่า ถั่วเหลืองเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย และป้องกันโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองอย่างนมถั่วเหลืองสามารถช่วยทำให้ระดับไขมันในพลาสมาลดลง อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ โดยเฉพาะในคนที่มีคอเลสเตอรอลสูง นอกจากนี้ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน วิตามิน ไฟเบอร์ และแร่ธาตุที่พบในถั่วเหลือง ประกอบกับการมีไขมันอิ่มตัวต่ำก็ล้วนแต่ช่วยให้หัวใจมีสุขภาพดี

5. ป้องกันโรคกระดูกพรุน

นมถั่วเหลืองสูตรที่มีการใส่แคลเซียมเพิ่มสามารถช่วยลดโอกาสการเกิดโรคกระดูกพรุนได้ ซึ่งนมถั่วเหลืองปกติ 240 มิลลิลิตร มีแคลเซียมประมาณ 31 มิลลิกรัม ในขณะที่นมถั่วเหลืองชนิดที่มีการเพิ่มแคลเซียม  (Calcium-enriched soy milk) มีแคลเซียมมากถึง 210 มิลลิกรัม ทั้งนี้คุณควรพิจารณาสารอาหาร โดยอ่านฉลากก่อนซื้อให้ถี่ถ้วนค่ะ

6. แก้ปัญหาผิว

การทานอาหารที่มีส่วนผสมของถั่วเหลืองอาจช่วยลดสิวได้ค่ะ นอกจากนี้ถั่วเหลืองเป็นหนึ่งในส่วนผสมที่ใช้รักษาปัญหาผิวอย่าง Hyperpigmentation ซึ่งทำให้ผิวมีสีเข้มมากผิดปกติ ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการค้นพบด้วยว่า สารประกอบที่พบในถั่วเหลืองสามารถช่วยต้านความแก่ชราได้ ด้วยเหตุนี้ นมถั่วเหลืองจึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่อยากมีผิวสวย หรือมีผิวที่ดูเด็กกว่าวัย

7. เหมาะสำหรับคนที่แพ้แลคโตส

สำหรับคนที่แพ้แลคโตสในนม การหันมาดื่มนมถั่วเหลืองก็นับว่าเป็นตัวเลือกที่ดีค่ะ เพราะมันก็มีโปรตีน และแคลเซียมมากไม่แพ้นมวัว อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณแพ้นมวัว มันก็ยังมีโอกาสค่อนข้างสูงที่คุณจะแพ้นมถั่วเหลือง ดังนั้นคุณอย่าลืมสังเกตอาการของตัวเองหลังดื่มนมถั่วเหลืองเช่นกัน

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว เพื่อนๆ จะเห็นได้ว่า นมถั่วเหลืองเป็นเครื่องดื่มที่อัดแน่นไปด้วยประโยชน์อย่างแท้จริง ไล่ตั้งแต่บำรุงผิวไปจนถึงป้องกันโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ แต่คุณก็อย่าลืมควบคุมการดื่มนมถั่วเหลืองให้เหมาะสม เพราะอะไรที่มากเกินไปก็ไม่ดีต่อสุขภาพทั้งนั้นค่ะ


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Almond milk vs. soy milk: Which is best?. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324746)
Is Soy Good or Bad for Your Health?. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/soy-good-or-bad)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป