กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

หัวเราะแล้วดีอย่างไร? มาดูกัน

เผยแพร่ครั้งแรก 14 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
หัวเราะแล้วดีอย่างไร? มาดูกัน

การหัวเราะถือเป็นการตอบสนองทางร่างกายที่มีต่อเรื่องตลก ซึ่งประกอบไปด้วยสองส่วนคือ ท่าทางและเสียงหัวเราะ โดยทั่วไปแล้ว เราจะหัวเราะเพื่อเฉลิมฉลองให้กับสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต และเพื่อแสดงความรู้สึก ทั้งนี้การหัวเราะไม่เพียงแต่ทำให้คุณรู้สึกดีเท่านั้น แต่มันยังทำให้คนรอบข้างพลอยมีความสุขไปด้วย และที่สำคัญคือ การหัวเราะถูกยกให้เป็นยาชั้นดี สำหรับประโยชน์ที่คุณจะได้รับจากการหัวเราะมีดังนี้

ประโยชน์ของการหัวเราะ มีอะไรบ้าง?

1. เป็นการออกกำลังกายภายใน

การหัวเราะถือเป็นเทคนิคการออกกำลังกายภายในที่ดีที่สุด เมื่อคุณหัวเราะ นั่นก็เท่ากับว่าคุณได้ออกกำลังกายส่วนกระบังลม ช่องท้อง ระบบหายใจ และแม้แต่หัวไหล่ นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมกล้ามเนื้อถึงผ่อนคลายหลังจากหัวเราะ นอกจากนี้การหัวเราะอย่างหนักจะทำให้เราหายใจลึกขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ทางเดินหายใจโล่ง และเพิ่มการนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

2. คลายเครียด

การหัวเราะเป็นหนึ่งในวิธีคลายเครียดที่ดี เพราะมันสามารถทำให้ฮอร์โมนแห่งความเครียดอย่างคอร์ติซอลและอิพิเนฟฟรินลดลง รวมถึงเพิ่มฮอร์โมนที่ช่วยให้มีสุขภาพดีในเวลาเดียวกัน ยิ่งไปกว่านั้น การหัวเราะยังทำให้กล้ามเนื้อได้ออกกำลังกาย และกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต หากคุณกำลังเครียด เพียงแค่คุณดูรายการตลก คุณจะพบว่าตัวเองรู้สึกดีขึ้นได้ในไม่ช้า

3. ช่วยให้การนอนมีคุณภาพมากขึ้น

ถ้าคุณมีปัญหากับการนอนในตอนกลางคืน การหัวเราะคือหนึ่งในยาที่ดีที่สุด ทั้งนี้การหัวเราะทำให้ร่างกายผลิตเมลาโทนินออกมามากขึ้น ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้เรานอนหลับ ยิ่งไปกว่านั้น มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการนอนและโรคนอนไม่หลับพบว่า การหัวเราะช่วยให้คนมีรูปแบบการนอนที่ดีขึ้น ซึ่งมีประโยชน์ต่อการรักษาโรคนอนไม่หลับ

4. ต่อสู้กับโรคซึมเศร้า

การหัวเราะสามารถช่วยรักษาโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล นอกจากนี้มีงานวิจัยที่ถูกเผยแพร่ใน The journal Geriatrics Gerontology International พบว่า การบำบัดโดยการหัวเราะสามารถช่วยลดอาการซึมเศร้าในคนสูงอายุ ในขณะที่หัวเราะ ฮอร์โมนแห่งความเครียดจะลดลง และถูกแทนที่ด้วยฮอร์โมนที่ทำให้เรารู้สึกดีนั่นเอง

5. กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน

ถ้าคุณมีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ การหัวเราะก็เป็นหนึ่งในวิธีที่สามารถช่วยคุณได้ เพราะมีหลายงานวิจัยพิสูจน์แล้วว่า การหัวเราะทำให้เรามีระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น โดยไปเพิ่ม Anti-infection Antibodies และ T-cells ในเลือด หากมีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง มันก็จะช่วยต้านทานโรคร้ายได้ดีขึ้น ทำให้คุณมีโอกาสเจ็บคอ เป็นโรคหวัด หรือติดเชื้ออื่นๆ น้อยลง

6. บรรเทาอาการปวด

การหัวเราะเปรียบเสมือนกับยาบรรเทาปวดตามธรรมชาติ ซึ่งความจริงข้อนี้ได้รับการพิสูจน์จาก Oxford University โดยพบว่า คนที่หัวเราะสามารถทนต่อความปวดได้เกือบ 10% เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ค่อยได้หัวเราะ ทั้งนี้ในขณะที่เราหัวเราะ ร่างกายจะหลั่งสารเอนโดรฟีนออกมา ซึ่งทำหน้าที่ลดอาการปวดได้ดีกว่ามอร์ฟีน นอกจากนี้การหัวเราะยังช่วยทำให้คุณลืมความเจ็บหรือปวดได้ชั่วขณะ

7. ควบคุมเบาหวาน

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า การหัวเราะสามารถช่วยควบคุมโรคเบาหวานได้ เพราะมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ทำโดย The University of Tsukuba ในประเทศญี่ปุ่นพบว่า การหัวเราะสามารถช่วยลดระดับของน้ำตาลในเลือดหลังจากทานอาหารในคนที่เป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 อย่างไรก็ตาม แม้ยังไม่รู้สาเหตุที่แน่ชัด แต่เชื่อกันว่าการหัวเราะส่งผลโดยตรงต่อระบบต่อมไร้ท่อ ซึ่งคอยติดตามระดับกลูโคสของร่างกาย หรืออาจเป็นเพราะว่ากล้ามเนื้อหน้าท้องมีการใช้พลังงานในขณะที่หัวเราะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

8. ทำให้มีพลังงาน

การหัวเราะสามารถช่วยเติมพลังให้จิตใจและร่างกาย เมื่อคุณหัวเราะ อากาศก็จะถูกบังคับให้ออกมาจากปอด ส่งผลให้คุณสูดหายใจเข้าลึกขึ้น ทำให้ออกซิเจนไหลเวียนไปยังกล้ามเนื้อและอวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย คุณจึงมีพลังมากขึ้นนั่นเอง เมื่อเรามีพลัง นั่นก็หมายความว่า เราก็จะมีความตื่นตัว มีความคิดสร้างสรรค์ และมีความจำดีขึ้น

นอกจากการหัวเราะจะมีประโยชน์ทั้งต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตตามที่เรากล่าวไปแล้ว มันก็ยังช่วยให้ชีวิต และความสัมพันธ์ของคุณกับคนรอบข้างราบรื่นขึ้น ดังนั้นถ้าอยากมีความสุข และมีร่างกายที่แข็งแรง คุณก็อย่าลืมหัวเราะทุกวันค่ะ

ที่มา: https://www.top10homeremedies....


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป