การรักษาโรคหอบหืด ด้วยยาแผนปัจจุบัน และวิธีธรรมชาติบำบัด

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การรักษาโรคหอบหืด ด้วยยาแผนปัจจุบัน และวิธีธรรมชาติบำบัด

หอบหืด คือโรคภูมิแพ้ชนิดหนึ่งที่เป็นสาเหตุให้ระบบทางเดินหายใจ และหลอดลมเกิดการอักเสบ อ่อนไหวง่าย เมื่อยามที่สัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้เช่น ขนสัตว์ ฝุ่น ควัน อากาศหนาวเย็น ผู้ป่วยจะหายใจติดขัด มีน้ำมูก หายใจเสียงดังครืดๆ ไอ ส่วนสาเหตุอาจจะเกิดจากมลพิษ โรคอ้วน ความเครียด ควันบุหรี่ หรืออาจจะเป็นภูมิแพ้แบบธรรมดามาก่อนแล้วพัฒนามาเป็นโรคหอบหืดก็ได้เช่นเดียวกัน

สำหรับผู้ที่เป็นโรคนี้เมื่อเกิดอาการมากๆจะหายใจไม่ออกรุนแรงมาก ดังนั้นจึงควรมีอุปกรณ์ช่วยในการหายใจติดตัว หรือวางไว้ใกล้ตัวจะเป็นการดีที่สุด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การรักษาด้วยยาแพทย์แผนปัจจุบัน

การรักษาด้วยยาแผนปัจจุบัน แพทย์จะให้ยาขยายหลอดลมหรือยา Corticosteroids อย่างใดอย่างหนึ่งสำหรับพ่นหรือทานในตอนเช้าและก่อนนอนเพื่อช่วยให้ทางเดินหายใจเปิดโล่งในระหว่างที่อาการกำเริบ และทำให้หายใจได้สะดวกขึ้น แต่ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยจะไม่หายขาด ซึ่งก็ต้องคอยระวังไม่ให้อาการกำเริบ และควรพบแพทย์อย่างเร่งด่วนเมื่อมีอาการ

Oral corticosteroids

การรักษาด้วยธรรมชาติบำบัด

  1. การออกกำลังกาย
    คนที่เป็นโรคหอบหืดมักคิดว่าตัวเองไม่สามารถออกกำลังกายได้ เพราะมักจะหายใจไม่สะดวกและติดขัด แต่ความเป็นจริง การออกกำลังกายเบาๆเป็นประจำ เช่น ว่ายน้ำ วิ่งเหยาะๆ โยคะ แอโรบิก เป็นสิ่งที่ดี เพราะจะทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นและมีภูมิคุ้มกันที่ดี ทั้งนี้ควรออกกำลังกายในที่โปร่ง โล่ง สดชื่นพยายามหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในสถานที่มีมลพิษ และพกยาขยายหลอดลมติดตัวไว้เสมอ
  2. ทานอาหารที่อุดมด้วยฟลาโวนอยด์เคอร์เซทิน
    การทานอาหารที่อุดมด้วยปลาโวนอยด์เคอร์เซทิน เช่น หัวหอมใหญ่ น้ำเกรฟฟรุต น้ำชา เป็นประจำวันละ 200 มิลลิกรัม จะมีสรรพคุณช่วยลดการอักเสบ และทำให้ทางเดินหายใจทำงานได้เป็นปกติ และเสริมด้วยการรับประทานผักและผลไม้ให้มากก็จะช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้น แต่ควรระวังการทานอาหารที่มีเคอร์เซทินร่วมกับการกินยา corticosteroids ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเพราะ ฟลาโวนอยด์เคอร์เซทินมีส่วนทำให้ยาออกฤทธิ์มากขึ้น
  3. การรับประทานสมุนไพร บอสเวลเลีย
    สมุนไพรบอสเวลเลีย สามารถช่วยบรรเทาอาการหอบหืดได้ ส่วนใบแป๊ะก๊วยจะช่วยให้หลอดลมขยายตัวดีขึ้น ทั้งนี้ควรรับประทานวันละ 120 – 240 มิลลิกรัม เพื่อป้องกันการกำเริบของโรค ส่วนการรับประทานสมุนไพรพิโครไรซา วันละ 1,500 มิลลิกรัม ก็สามารถช่วยควบคุมอาการหอบหืดได้เช่นเดียวกัน
  4. การหายใจที่ถูกต้องแบบบูเทย์โก
    การหายใจแบบบูเทย์โก คือ การหายใจให้ช้าลงและตื้นขึ้น ผ่านทางจมูกสู่ท้องในเวลานอนตอนกลางคืน โดยให้นอนตะแคง แล้วใช้เทปกาวปิดปาก เพื่อบังคับให้ต้องหายใจผ่านจมูกเพียงอย่างเดียวขณะนอนหลับ ซึ่งวิธีนี้ก็เป็นวิธีที่คนส่วนใหญ่ทำแล้วได้ผลดีเช่นเดียวกัน

หอบหืดเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้

เมื่อรู้ตัวว่าเป็นโรคหอบหืด อย่าเพิ่งรู้สึกสิ้นหวังว่าตัวเองจะต้องทนอยู่กับอาหารหอบหืดนี้ไปตลอดชีวิต เพราะวันนี้หอบหืดสามารถรักษาให้หายได้ เพียงทำตามวิธีบำบัดด้วยธรรมชาติ ทั้ง 4 วิธีนี้เท่านั้น ก็จะช่วยให้คุณหายจากโรคหอบหืดได้อย่างถาวรแล้ว


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Asthma - Treatment. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/asthma/treatment/)
Asthma treatment: Controlling asthma, medicines, and in emergency. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323524)
Medications To Treat The Symptoms of Asthma. WebMD. (https://www.webmd.com/asthma/asthma-medications#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป