ยาที่ใช้รักษาโรคหอบหืด มีอะไรบ้าง

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ยาที่ใช้รักษาโรคหอบหืด มีอะไรบ้าง

ยาที่ใช้รักษาโรคหอบหืด มีอะไรบ้าง

ยาควบคุมอาการหอบหืดแบบระยะยาว (controller)

มีคุณสมบัติป้องกันการบมหรือการอักเสบของหลอดลม เช่น สเตียรอยด์แบบสูดดม ยากระตุ้นระบบประสาทซิมพาเทติกแบบออกฤทธิ์นาน ยาทีโอฟิลลีน ซึ่งสเตียรอยด์แบบสูดดมเป็นยาที่มีผลในการรักษาดีที่สุด ยาชนิดนี้เห็นผลช้า ปกติหลายสัปดาห์จึงเห็นผล ควรใช้ทุกวัน แม้ไม่มีอาการหอบต้องใช้พ่นสูด “ตามเวลาที่แพทย์สั่ง” ถ้าหยุดยาเอง อาการอาจกลับมากำเริบ และถ้าพ่นขณะหอบ ยาจะไม่ช่วยให้อาการทุเลา

ยาบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน (reliever)

ใช้เมื่อมีอาการจับหอบ เพื่อบรรเทาอาการอย่างรวดเร็ว ยานี้ช่วยเปิดช่องทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น ลดการบีบตัวของหลอดลม สามารถควบคุมอาการของโรคได้ทันที ยาออกฤทธิ์ภายใน 5-10 นาที และออกฤทธิ์อยู่ประมาณ 4-6 ชั่วโมง เช่น สเตียรอยด์ประเภทกินหรือฉีด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ยาขยายหลอดลม

ยาชนิดนี้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ยากระตุ้นประสาทซิมพาเทติก (แบบเห็นผลช้าและแบบเห็นผลเร็ว) ยาต้านประสาทพาราซิมพาเทติกและยาทีโอฟิลลีน ยากระตุ้นประสาทซิมพาเทติกแบบเห็นผลเร็วเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคหอบหืดแบบเฉียบพลัน ยากระตุ้นประสาทซิมพาเทติกแบบเห็นผลช้า แต่ออกฤทธิ์นานเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคหอบหืดแบบต่อเนื่องและอาการหนัก สามารถลดอาการไอในเวลากลางคืนหรืออาการหอบหืด มักใช้คู่กับยาสเตียรอยด์ในกรณีที่ร่างกายรับยาสเตียรอยด์ได้ไม่ดีนัก

ยาต้านประสาทพาราซิมพาเทติกจะให้ผลในการรักษาช้า ยากลุ่มแซนทีน ยาประเภททีโอฟิลลีน (ทั้งเห็นผลช้าและเห็นผลเร็ว) จะทำให้กะบังลมหดตัวดีขึ้น ขยายหลอดลม ลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อหลอดลม ป้องกันหลอดเลือดฝอยแตก กำจัดเสมหะ และป้องกันการอักเสบ

ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroids)

สาเหตุของหอบหืดไม่ได้เกิดจากการหดตัวของหลอดลมเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากการอักเสบที่ต่อเนื่อง ฉะนั้นการรักษาโรคหอบหืดจึงนำยาขยายหลอดลมมาพัฒนาเป็นยาป้องกันการอักเสบ สารสเตียรอยด์ในตัวยาป้องกันการอักเสบให้ผลทางการรักษาดีที่สุด ซึ่งแบ่งออกเป็นสามประเภท คือ แบบสูดดม แบบกิน และแบบฉีด

แบบสูดดมให้ผลข้างเคียงน้อย มักถูกนำมาใช้เป็นยาป้องกันหอบหืดหลังใช้ยาตัวนี้ควรบ้วนปากทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแบคทีเรียในลำคอ หรือเสียงแหบ เมื่อต้องใช้ติดต่อกันนาน ๆ แบบกินและแบบฉีดจะให้ผลดีแต่หากใช้ติดต่อกันในปริมาณมากเกินไปเป็นเวลานาน ๆ จะกดภูมิต้านทานอาจทำให้หน้าบวม อ้วนฉุ กระดูกพรุนได้ ดังนั้นจึงมักใช้กรณีอาการหอบหืดที่มีความรุนแรง และใช้เป็นระยะเวลานั้น ๆ ตามอาการของโรค (รา 3-10 วัน) หรืออาจใช้ในผู้ป่วยหอบหืดอาการหนักโดยกินวันเว้นวัน

ยาต้านลิวโคไทรอีน (leukotriene modifier antagonist)

ยาชนิดนี้มีประสิทธิภาพในการขยายหลอดลมและป้องกันการอักเสบ มีผลในการรักษาใกล้เคียงกับสเตียรอยด์แบบสูดดม ยานี้จะถูกนำไปใช้ในผู้ป่วยอายุแตกต่างกัน บางชนิดใช้กับเด็กอายุหกขวบขึ้นไปเท่านั้น และไม่แนะนำให้นำมาใช้รักษาอาการหอบหืดขั้นปานกลางหรือหนักเพียงลำพังตัวเดียว

ยาพ่นจมูก

ในการรักษาเด็กที่เป็นโรคหอบหืด จะใช้วิธีฉีดพ่นยาเข้าไปในทางเดินหายใจของผู้ป่วย เพื่อรักษาส่วนที่อักเสบจากภูมิแพ้ ข้อดีคือใช้ยาในปริมารน้อย เห็นผลเร็ว ผู้ป่วยหรือคนในครอบครัวฉีดพ่นเองได้ มีผลข้างเคียงน้อย


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
List of Common Asthma Medications: OTC and Prescription. eMedicineHealth. (https://www.emedicinehealth.com/understanding_asthma_medications/article_em.htm)
List of Asthma Medications (46 Compared). Drugs.com. (https://www.drugs.com/condition/asthma.html)
Asthma - Treatment. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/asthma/treatment/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป