February 24, 2017 13:41
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดข้อเท้า
1. กิจกรรมที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุที่ข้อเท้าและเท้า สาเหตุนี้เป็นอันดับต้นๆที่ทำให้เกิดอาการปวดข้อเท้า จะด้วยความประมาทหรือความผิดพลาดก็ตามแต่ ข้อเท้าก็มักจะได้รับบาดเจ็บจากกิจกรรมอย่างเช่น กีฬาที่ต้องกระโดด ได้แก่ บาสเกตบอล แบดมินตัน กีฬาที่ต้องวิ่งมาก รวมถึงกีฬาที่ต้องมีการกระทบกระแทก เช่น ฟุตบอล ฮอกกี้
2. ปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้เกิดปัญหาที่เท้า ได้แก่ การสวมใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม ใส่รองเท้าที่ไม่ถูกชนิดของกีฬา หรือการฝึกฝน ทำกิจกรรมที่ผิดหลักการ เช่น การวิ่งขึ้นเขา วิ่งบนถนนที่ขรุขระ จึงทำให้เกิดอาการอักเสบบริเวนเท้าที่ต้องใช้งานหนัก จนเกิดอาการปวดข้อเท้าได้
3. ปัญหาที่มักจะเกิดที่ข้อเท้า เช่น ข้อเท้าพลิกหรือข้อเท้าแพลง มักเกิดกับกีฬาที่ต้องกระโดด เอ็นร้อยหวายอักเสบ มักจะเกิดกับกีฬาที่ต้องใช้กล้ามเนื้อน่องมาก เช่น บาสเกตบอล เพราะการกระโดดสูงๆจะมีโอกาสได้รับบาดเจ็บบริเวณเอ็นร้อยหวายได้มาก นอกจากนี้ยังอาจกเกิดจากเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ เนื่องจากการออกกำลังที่ไม่ถูกต้อ งผู้ป่วยจะมีอาการปวดฝ่าเท้าในตอนเช้ารามไปถึงข้อเท้าทั้งหมด
***นอกจากเหนือจากสาเหตุดังกล่าวแล้ว อาการปวดข้อเท้าอาจเกิดขึ้นกับคนที่มีอายุมากหรือมีปัญหาเกี่ยวกับการเสื่อมสภาพของกระดูก โดยเฉพาะคนที่ขาดแคลเซียมมาตั้งแต่วัยเด็กและวัยรุ่น เมื่อแก่ตัวจะมีปัญหาเกี่ยวกับโรคกระดูกได้ง่าย อย่างไรก็ตาม ในคนอ้วนหรือน้ำหนักเกินเกณฑ์ก็มีอโอกาสสูงมากที่จะเกิดอาการปวดข้อเท้า
วิธีลดอาการปวดข้อเท้า ด้วยตัวเอง
1. ลดน้ำหนัก ใครที่รู้ตัวว่าตัวเองเป็นคนอ้วน และเริ่มมีอาการปวดข้อเท้า สันนิฐานได้เลยว่าเกิดจากการที่น้ำหนักตัวมาก จึงต้องลงน้ำหนักไปที่บริเวณเท้า ข้อเท้าจึงมีอาการปวดขึ้น ดังนั้น จึงควรลดน้ำหนักให้ได้ ไม่เช่นนั้น อาการปวดจะทวีความรุนแรง มีความเรื้อรัง ยากต่อการรักษาให้หายขาด ซึ่งในบางรายหลังจากลดน้ำหนักได้แล้ว อาการปวดข้อเท้าก็จะหายไปเองโดยไม่ต้องใช้วิธีอื่นๆเลย
2. การประคบร้อน วิธีนี้เหมาะสำหรับคนที่ปวดข้อเท้าอันเนื่องมากจากอาการบาดเจ็บ โดยเฉพาะนักกีฬาที่เกิดอุบัติเหตุระหว่างฝึกซ้อม เพราะการประคบร้อนจะช่วยลดอาการปวดข้อเท้าได้อย่างเป็นอย่างดี โดยให้ประคบกระเป๋าน้ำร้อน 10-15 นาที วันละ 2 ครั้ง
3. บริหารข้อเท้า เหมาะสำหรับคนที่ปวดข้อเท้าเรื้อรัง รวมถึงคนที่ต้องการทำให้ข้อเท้าของตัวเองมีความแข็งแรงขึ้น
- ท่าที่ 1 ให้นั่งห้อยขาข้างเตียง กระดกข้อเท้าขึ้น–ลง 10-20 ครั้ง ทำซ้ำ 2-3 เซ็ต
- ท่าที่ 2 ให้บิดเท้าออกด้านนอก วนไปเรื่อยๆ 10-20 ครั้ง แล้ววนกลับ 10-20 ครั้ง ทำ 2-3 เซ็ตต่อวัน
4. พบแพทย์หากปวดข้อเท้ามาก หากลองมากหลายวิธีแล้วอาการปวดข้อเท้ายังไม่ดีขึ้นก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง เนื่องจากอาการบาดเจ็บมีหลายระดับ ได้แก่
1) การบาดเจ็บภายในเส้นเอ็น แบบไม่มีการฉีกขาดให้เห็น
2) มีการฉีกขาดบางส่วนของเส้นเอ็น
3) มีการฉีกขาดแบบสมบูรณ์ ทั้งนี้ แพทย์จะวินิจฉัยและรักษาตามอาการ
*** สิ่งสำคัญคือหากมีอาการปวดข้อเท้า ควรหลีกเลี่ยงการใส่รองเท้ามีส้นแหลมเล็ก เนื่องจากทำให้เกิดการแพลงซ้ำได้ง่าย, ควรเลือกรองเท้าที่มีความกว้างของส้น จะช่วยทำให้ข้อเท้ามั่นคงมากขึ้น ,หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาที่ใช้กล้ามเนื้อข้อเท้า เพื่อลดความเสี่ยงการบาดเจ็บ , รอให้กล้ามเนื้อข้อเท้าหายดีก่อนที่จะกลับไปเล่นกีฬาซ้ำอีก และหากไปพบแพทย์ก็ควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งคัด เพียงแค่นี้อาการปวดข้อเท้าก็จะหายไปค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ช่วงนี้น้ำหนักขึ้นเร็วมากค่ะ เวลายืนนานก็ปวดข้อเท้า ปกติไม่เป็นแบบนี้เลย ตอนหนูอายุ 19 เองนะคะ ส่วนสูง 163 ซม. น้ำหนัก 60.6 กก. กินก็พอประมาณแต่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายเลยค่ะ นานๆทีออกคือมันไม่มีเวลามากพอที่จะออกกำลังกายได้อ่ะค่ะ มีวิธีช่วยอาการปวดข้อเท้ายังไงดีคะ แล้วถ้าจะออกกำลังกายออกวันละ 10 นาทีเพียงพอหรึป่าวคะ ช่วยให้คำแนะนำด้วยค่ะขอบคุณค่ะ ^/\^
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)