November 30, 2019 22:43
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
จากรูปนั้นหมอยังไม่สามารถมองเห็นความผิดปกติได้ชัดเจนว่ามีอาการปากเบี้ยวในลักษณะใดนะครับ แต่ถ้าหากมีปัญหาปาก 2 ข้างไม่สามารถชยับได้เท่ากันส่วนใหญ่แล้วก็จะมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของเส้นประสาทที่ควบคุมกการเคลื่อนไหวใบหน้า ซึ่งอาจเกิดจากการถูกกดทับ การมีสมองขาดเลือด การติดเชื้อบาง หรือการที่ภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานไวเกินได้ครับ
ในกรณีนี้หมอแนะนำว่าควรไปพบแพทย์อายุรกรรมระบบประสาทเพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัดก่อนเพื่อที่จะได้ให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (แพทย์ทั่วไป) (พญ.)
สวัสดีค่ะ
จากภาพลักษณะไม่ได้เบี้ยวแบบชัดเจน ไม่ทราบว่าได้มาสังเกตนานหรือยังคะ แล้วมีอาการผิดปกติอื่นๆหรือไม่ เช่น น้ำลายไหล หรือเวลาดื่มน้ำแล้วน้ำหกออกมาจากมุมปาก พูดไม่ชัด กลืนลำบาก มีอาการชาอ่อนแรงที่แขนขาครึ่งซีกของร่างกาย ตามัว มองเห็นภาพซ้อน เดินเซ เป็นต้น
ถ้าปากเบี้ยวอยู่แล้วแต่ต้น ไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆที่กล่าวมา ก็ไม่ได้คิดถึงความผิดปกติอะไร เพราะคนเราทุกคนอาจมีใบหน้าที่ไม่เท่ากันได้หรือต่างกันเล็กน้อย ถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าอาการเพิ่งเป็นไม่นาน มีอาการผิดปกติดังที่กล่าวไปข้างต้น หรือปากเบี้ยวจนน้ำลายไหล ดื่มน้ำหก พูดไม่ชัด อาจจำคิดถึงโรคหลอดเลือดสมอง หรือมีการติดเชื้อที่เส้นประสาทได้ ซึ่งกรณีนี้จำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจประเมินอีกทีค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
เวลาพูดปกติแล้วยิ้มมุมปาก หรือยิ้มเห็นฟันปากจะเบี้ยวไม่เท่ากัน มีอันตรายไหมครับ และรักษาได้ยังไงครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)