พฤติกรรมระรานอันธพาล (Bullying) จะเป็นพฤติกรรมไร้ความปราณี แต่ทุกพฤติกรรมที่ไร้ความปรานีไม่ได้หมายถึงพฤติกรรมระรานอันธพาลเสมอไป เด็กโดยเฉพาะเด็กเล็ก ยังคงอยู่ในวัยเรียนรู้วิธีการปรับอารมณ์และการทำงานที่จะเข้ากับคนอื่นๆ พวกเขาจำเป็นต้องมีพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ และผู้ใหญ่คนอื่นๆ ในการสร้างแบบอย่างของความเมตตา การแก้ปัญหาความขัดแย้ง รวมถึงความรับผิดชอบ
ดังนั้น เมื่อเด็กกระทำการใดๆ หรือพูดอะไรบางอย่างที่เป็นอันตรายก็ไม่เหมาะสมที่จะจัดเขาว่ามีพฤติกรรมระรานอันธพาล ดังนั้น ควรที่จะแยกแยะความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมที่เป็นอันตราย พฤติกรรมที่ไร้ความปรานี และพฤติกรรมระรานอันธพาล ตัวอย่างของพฤติกรรมที่ไม่จัดเป็นพฤติกรรมระรานอันธพาล เช่น
การแสดงความคิดและความรู้สึกเชิงลบ
เด็กมักจะเปิดกว้างและซื่อสัตย์กับคิดและความรู้สึกของตัวเอง เด็กเล็กมักจะพูดความจริงโดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบ ยกตัวอย่างเช่น "ทำไมคุณแม่ของคุณอ้วนจัง?" คำพูดประเภทนี้ไม่จัดเป็นพฤติกรรมระรานอันธพาล มักจะมาจากความไร้เดียงสา และผู้ใหญ่ควรแนะนำวิธีที่จะพูดในแนวที่ไม่ไปรุกล้ำคนอื่น การให้เด็กรู้ตัวว่าได้ใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสมเป็นการดี เพื่อเรียนรู้วิธีการสื่อสารความรู้สึกที่ถูกต้อง ทุกครั้งเมื่อเด็กมีคำพูดที่ระราน เป็นการดีที่จะพูดตอบว่า "ฉันเจ็บปวดเมื่อคุณหัวเราะเยาะเหล็กจัดฟันใหม่ของฉัน" หรือ "ฉันไม่ชอบที่คุณเรียกแม่ของฉันว่ายายอ้วน"
การไม่รวมเพื่อนบางคนเข้าในกลุ่มไม่จัดเป็นพฤติกรรมระรานอันธพาล
เป็นธรรมชาติสำหรับเด็กที่จะมีกลุ่มของเพื่อนสนิท แม้ว่าเด็กทุกคนควรจะเป็นมิตรต่อกัน แต่ก็ไม่ควรคาดหวังให้พวกเขาเป็นเพื่อนสนิทกับเด็กที่รู้จักทุกคน เป็นเรื่องปกติที่ลูกของคุณจะไม่ได้รับการเชื้อเชิญให้เข้าร่วมทุกกลุ่มหรือทุกกิจกรรม อาจมีบางครั้งที่เขาไม่มีชื่อในปาร์ตี้วันเกิด เที่ยวนอกสถานที่ หรือวันสังสรรค์ใดๆ ซึ่งไม่ได้ถือเป็นพฤติกรรมคว่ำบาต (ostracizing) ซึ่งจัดเป็นพฤติกรรมระรานอันธพาล เมื่อลูกของคุณรู้สึกเหมือนถูกทิ้ง ไม่จัดอยู่ในกลุ่ม ควรเตือนลูกว่าบางครั้งพวกเขาเองก็ต้องเลือกที่จะไม่รวมทุกคนในบางกิจกรรม
ความขัดแย้งระหว่างบุคคลไม่จัดเป็นพฤติกรรมระรานอันธพาล
การทะเลาะกันและการต่อสู้กันของเด็ก รวมถึงการเรียนรู้ที่จะจัดการกับความขัดแย้งเป็นส่วนหนึ่งของการเติบโต สิ่งสำคัญสำหรับเด็ก คือ เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาอย่างสงบและเคารพผู้อื่น การต่อสู้หรือมีความขัดแย้งไม่ได้หมายถึงการมีพฤติกรรมระรานอันธพาล แม้กิริยาเหล่านี้จัดเป็นภาวะไม่ปรานี มีการทะเลาะวิวาทกันหรือขัดแย้งกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนที่โน่นและที่นี่ แต่โดยรวมไม่ได้หมายถึงการมีพฤติกรรมระรานอันธพาล
การล้อเล่นไม่ได้หมายถึงการมีพฤติกรรมระรานอันธพาล
เด็กหลายคนมีการล้อเล่นจากเพื่อนหรือพี่น้องในทางขบขันเป็นกันเองหรืออาจล้อเล่นกลับระหว่างกัน เขาทั้งสองหัวเราะและไม่มีใครรู้สึกว่าได้รับบาดเจ็บจากคำพูด การล้อเล่นไม่ได้จัดเป็นพฤติกรรมระรานอันธพาลตราบใดที่เด็กทั้งสองรู้สึกขบขัน แต่ถ้าการล้อเล่นเริ่มโหดร้ายไร้ความปรานีและทำซ้ำๆ ก็จะข้ามเส้นไปจัดเป็นพฤติกรรมระรานอันธพาล การล้อเล่นจะกลายเป็นพฤติกรรมระรานอันธพาลเมื่อมีการล้อเล่นที่ตั้งใจและจงใจที่จะทำร้ายคนอื่น การล้อเล่นในเด็กจะกลายเป็นพฤติกรรมระรานอันธพาลเมื่อ
- ให้ความเห็นที่ทำให้คนอื่นแย่ลง (demeaning comments)
- มีส่วนร่วมในการเรียกชื่อคนอื่นที่แปลกๆในทางลบ
- กระจายข่าวลือที่น่ารังเกียจหรือแนวลามก (unsavory rumors)
- คุกคามผู้อื่น (make threats)
การเล่นใดๆ ที่ไม่ยุติธรรมหรือต้องการให้เกมส์เป็นไปแบบใดแบบหนึ่งจะไม่จัดเป็นพฤติกรรมระรานอันธพาล
ยกเว้นจะมีการคุกคามอย่างต่อเนื่องหรือมีการทำร้ายร่างกายเมื่อเกมส์ไม่เป็นตามที่ต้องการ ถ้าลูกของคุณมีเพื่อนที่ชอบเจ้ากี้เจ้าการ ควรสอนให้รู้ว่าจะตอบสนองต่อพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการอย่างใด เช่น ลูกของคุณอาจพูดว่า "เรามาเล่นในแบบของคุณเป็นครั้งแรก จากนั้นให้ลองวิธีของฉัน"