January 25, 2017 15:15
ตอบโดย
รัตน์พล อ่ำอำไพ (แพทย์เฉพาะทางสูตินรีเวช)
เนื่องจากคุณจะต้องทำงานอยู่ในทุกๆวัน ทางแก้ไขที่ดีที่สุดคือเป็นการแก้ไขที่สาเหตุครับ โดยสาเหตุของการเกิดอาการปวดหลังเวลานั่งทำงานคือ
- การนั่งหน้าคอมพิวเตอร์หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานานมากกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน
- ท่าทางที่ไม่เหมาะสม เช่น นั่งหลังค่อม ท่าก้มหรือเงยคอมากเกินไป
- อุปกรณ์หรือสภาวะแวดล้อมในที่ทำงานที่ไม่เหมาะสม
- สภาพร่างกายที่อาจส่งผลต่ออาการเจ็บป่วย เช่น ภาวะเครียด การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ทานอาหารไม่ตรงเวลาหรืออดอาหาร ส่งผลให้ร่างกายไม่เกิดการผ่อนคลาย
วิธีแรกที่สามารถเริ่มได้ด้วยตัวเองคือควรปรับเปลี่ยนท่านั่งทำงานไม่ให้เกิดอาการปวดเมื่อย
- นั่งตัวตรงให้หลังพิงกับพนักพิงพอดี
- ปรับระดับของหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา ความห่างของหน้าจอคอมพิวเตอร์กับตาประมาณ 12-18 นิ้ว
- ไม่ยกไหล่หรือทำท่าห่อไหล่
- ปรับความสูงของเก้าอี้ให้พอดีและให้สะโพกกับขาตั้งฉากกัน หากเท้าลอยขึ้นมาจากพื้นให้หาที่รองเท้ามาวางให้พอดีกับระดับเท้า
- ข้อศอกตั้งฉากกับลำตัว แป้นพิมพ์และเมาส์อยู่ในระดับเดียวกับแขน, ไม่งอข้อมือขณะพิมพ์หรือใช้เมาส์
- หากทำงานเกิน 1-2 ชั่วโมงควรลุกขึ้นยืนหรือเดินเพื่อให้ร่างกายได้ปรับเปลี่ยนท่าทาง ไม่ควรนั่งอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ
-หากมีอาการเกิดขึ้น แล้วทำงานไปในระยะหนึ่ง พักแล้วดีขึ้นทันที อาจจะแก้ไขได้โดยวิธี พักสลับทำงานเป็นระยะๆ, ยืดกล้ามเนื้อเพื่อผ่อนคลาย, นวดผ่อนคลาย หรือออกกำลังกาย
- หากมีอาการเกิดขึ้น พักนอนหลับแล้ว แต่ยังคงมีอาการอยู่ อาจแก้ไขได้โดยวิธี ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานหรือรับการรักษาที่ถูกต้อง
- หากอาการเป็นหนักขึ้น มีอาการปวดมากแม้ทำงานเพียงเบาๆ พักแล้วอาการก็ยังไม่ทุเลาลง แนะนำว่า ควรพักงานหรือปรับเปลี่ยนงาน หรือไปรับการรักษาที่ถูกต้อง โดยแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอนนี้ปวดหลังมากคะเพราะนั่งทำงานตลอดหาหมอก็แล้วแต่ยังปวดอยู่ดีคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)