November 11, 2019 09:20
ตอบโดย
วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (แพทย์ทั่วไป) (นพ.)
ถ้าจะคุมเเค่เป็นช่วงๆ เดือนเว้นเดือน ไม่ได้จะมีเพศสัมพันธ์ต่อเนื่องหลายเดือน(เช่น เเฟนอยู่ไกล นานๆกลับมาหา) เเละมีเวลากิน ไม่ทำงานจนลืมกิน ก็เเนะนำยากินครับ
เเต่ถ้ามีเพศสัมพันธ์บ่อยๆต่อเนื่องตลอดทุกเดือน(อยู่ด้วยกันกับเเฟน) ทำงานไม่เป็เนเวลา ลืมกินยาได้ เเบบนี้ยาฉีดรายสามเดือนจะดีกว่าครับ
ยาฉีดคุมกำเนิด ฉีดเข็มเดียวได้3เดือน คุมกำเนิดได้ดี เเต่อาจมีเลือดออกกระปริบกระปรอย เดือนหลังๆมักจะค่อยๆหายไปจนไม่มีประจำเดือน น้ำหนักขึ้น สิวขึ้นได้ หากหยุดฉีดเเล้วต้องการให้ประจำเดือนมาปกติพร้อมที่จะมีลูกอีกครั้งใช้เวลานาน 9-12 เดือนครับ (เเบบฉีดราย 1 เดือนก็มีครับ ประจำเดือนตามรอบเหมือนยากินเเบบฮอร์โมนรวมครับ)
ยาคุมกำเนิดรายเดือน รุ่นใหม่ๆ เช่น Yaz Yasmin Oilezz พวกนี้มีฤทธิ์ต้านฮอร์โมนเพศชาย ทำให้ สิวลดลงได้ครับ
ผลข้างเคียงคือ คลื่นไส้อาเจียน คัดตึงเต้านม ขาบวม
ใช้นานๆระยะยาวอาจมีฝ้าได้
(เเนะนำให้กินก่อนนอน จะได้ไม่ลืมเเละลดผลข้างเคียงเรื่องคลื่นไส้อาเจียน)
ควรหลีกเลี่ยงการกินยากรณีที่
- ให้นมลูกอยู่ เพราะยาทำให้น้ำนมไหลน้อยได้
- มีโรคประจำตัว เช่น โรคตับ เพราะเอสโตรเจนขับทางตับครับ
เคยเป็นโรคหัวใจ โรคสมองขาดเลือด ลิ่มเลือดอุดตันที่ขา เป็นต้นครับ
เพราะเอสโตรเจนทำให้เลือดเเข็งตัวง่ายกว่าปกติครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ถ้าแบบฉีดวันนี้ไปฉีดได้เลยไหมคะ
แล้วถ้าแบบเม็ดวันนี้ทานเลยใช่ไหมคะ
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
การฉีดยาคุมกำเนิดนั้นจะมีอยู่ 2 รูปแบบครับ คือ
1. ยาฉีดชนิด 1 เดือน ยาฉีดชนิดนี้จะต้องฉีดทุก 4 สัปดาห์ และจะมีผลให้ประจำเดือนมาในทุกๆเดือนในช่วงสัปดาห์ที่ 4 ของการฉีดยาคุม เมื่อหยุดฉีดยาแล้วร่างกายก็จะกลับมาพร้อมตั้งครรภ์ได้ทันที
2. ยาฉีดชนิด 3 เดือน ยาฉีดชนิดนี้จะจฃต้องฉีดทุก 12 สัปดาห์ เมื่อฉีดแล้วมักมีผลให้ประจำเดือนขาดหายไป และเมื่อหยุดฉีดยาก็อาจต้องรอเวลานาน 6-12 เดือนก่อนที่จะกลับมาเริ่มตั้งครรภ์ได้อีกครั้ง
ยาคุมแบบฉีดทั้ง 2 ชนิดนี้จะต้องเริ่มฉีดภายใน 7 วันแรกของการมีประจำเดือนเพื่อให้ยาคุมมีผลป้องกันการตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่วันแรก หรือ ถ้าฉีดช้ากว่านั้นก็ต้องรอเวลา 7 วันก่อนเพื่อให้ยาคุมออกฤทธิ์ได้เต็มที่ และเมื่อยาคุมออกฤทธิ์ได้เต็มที่ก็จะมีโอกาสตั้งครรภ์ได้เพียง 0.3-3% เท่านั้น
_________________________
ส่วนยาคุมชนิดรับประทานนั้นจะมีแบ่งออกเป็นหลักๆคือยาคุมชนิด 21 เม็ดและ 28 เม็ด
- ถ้ารับประทานยาคุมชนิด 21 เม็ดเมื่อรับประทานยาหมดแผงจะต้องเว้นการรับประทานยาคุม 7 สันก่อนเริ่มรับประทานยาแผงใหม่เพื่อให้มีประจำเดือนมาในช่วงนี้
- ถ้ารับประทานยาคุมชนิด 28 เม็ดก็จะสามารถรับประทานยาแบบแผงต่อแผงได้เลยโดยไม่ต้องเว้นการรับประทานยา
การรับประทานยาคุมครั้งแรกนั้นควรเริ่มรับประทานภายใน 5 วันแรกของการมีประจำเดือนเพื่อให้ยาคุมออกฤทธิ์ป้องกันการตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่วันแรก หรือถ้าเริ่มรับประทานช้ากว่านั้นก็ต้องรอรับประทานยาให้ครบ 7 วันก่อนยาคุมจึงจะเริ่มป้องกันการตั้งครรภ์ได้ และเมื่อยาคุมออกฤทธิ์ได้เต๋มที่แล้วก็จะมีโอกาสผิดพลาดตั้งครรภ์ได้ 0.3-8% ขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอในการรับประทานยาครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
ถ้าหากในตอนนี้อยู่ในช่วง 5 วันแรกของการมีประจำเดือนก็สามารถเริ่มรับประทานยาคุมได้เลยครับ
และถ้าหากอยู่ในช่วง 7 วันแรกของการมีประจำเดือนก็สามารถฉีดยาคุมได้เช่นกันครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
สอบถามค่ะคุณหมอ ระหว่างฉีดยาคุมกับทานยาคุมแบบไหนดีกว่ากันค่ะ แล้วก็แตกต่างกันยังไงค่ะ ถ้าเป็นแบบฉีดต้องกินตอนไหน แล้วถ้าแบบเม็ดต้องกินตอนไหน เพราะตอนนี้เป็นประจำเดือนอยู่ค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)