November 13, 2018 22:31
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนครับว่าไม่มีความคิดหรือความเห็นของใครที่จะเหมือนกันได้ 100% ทั้งนี้เป็นเพราะประสบการณ์ การเรียนรู้ในอดีตที่ผ่านมาของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ทำให้แนวคิดและมุมมองที่เกิดขึ้นย่อมมีความแตกต่างกัน รวมถึงการปรับเปลี่ยนวิธีคิดของแต่ละคนก็เป็นเรื่องที่ทำได้ยากครับ
จากเหตุผลข้างต้นนั้น ทำให้การแก้ไขปัญหาเรื่องการมีความเห็นไม่ตรงกับคนในบ้านจนมีอารมณ์หงุดหงิดใส่กัน ควรเริ่มจากการปรับเปลี่ยนมุมมองของตนเองเป็นหลักก่อนครับ โดยให้พยายามหลีกเลี่ยงการเอาคำพูดหรือความคิดของคนอื่นมาเป็นอารมณ์ ใครจะพูดอะไรก็เป็นเพียงแค่ความคิดของเขา สุดท้ายเราก็สามารถใช้ชีวิตตามความคิดของเราได้อยู่ดี
หรือถ้าจะให้ดียิ่งขึ้น การพยายามรับฟังความคนอื่นด้วยความเข้าใจว่าทำไมเขาถึงพูดแบบนั้น คิดแบบนั้น แล้วก็ปล่อยวาง ก็จะช่วยให้อารมณ์ที่หงุดหงิดดีขึ้นได้ครับ
แต่ถ้าหากจะแก้ปัญหาโดยการหาทางพูดให้คนอื่นเปลี่ยนมุมมองเปลี่ยนความคิดให้ได้ ก็จะเป็นแนวทางที่ทำได้ยากมากครับ และจะก่อให้เกิดอารมณ์ที่หงุดหงิดมากขึ้นเสียเปล่าๆ จึงไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้ครับ
นอกจากนี้ในเวลาที่มีอาการหงุดหงิดหมอก็ขอแนะนำวิธีผ่อนคลายตนเองดังนี้ครับ ก่อนอื่นให้หลีกหนีออกมาจากสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความหงุดหงิดก่อน จากนั้นให้หามุมที่สงบยืนหรือนั่งอยู่ในท่าทางที่สบายพยายามสูดลมหายใจเข้าออกลึกๆยาวๆอย่างช้าๆ ทำไปจนกระทั่งรู้สึกว่าอารมณ์เย็นลง
ในกรณีที่ต้องการความช่วยเหลือเพื่อปรับเปลี่ยนมุมมองและแนวคิดของตนเองเพิ่ม รวมถึงการฝึกทักษะในการผ่อนคลายตนเองก็สามารถไปพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อให้ความช่วยเหลือและคำแนะนำเพิ่มเติมได้ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
ความขัดแย้งภายในครอบครัว อาจแก้ไขได้ด้วยการจับเข่าคุยกัน ทำความเข้าใจให้ตรงกัน หากไม่สามารถเข้าใจหรือตกลงกันไม่ได้ ต้องมาทบทวนด้วยเหตุผลว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นมันส่งผลดี ส่งผลเสียอย่างไรบ้าง หากความคิดเห็นของคุณมีเหตุผลที่ดีกว่าก็สามารถอธิบายให้คนในครอบครัวเข้าใจ โดยการอธิบายอาจจะต้องใจเย็น ควบคุมอารมณ์ให้ได้ ในกรณีที่ขี้หงุดหงิด หรือมีการระเบิดอารมณ์ใส่กันบ่อยๆ สุดท้ายจะนำไปสู่ความรู้สึกผิด และเกิดภาวะซึมเศร้าได้ง่าย
เบื้องต้นแนะนำ ให้ฝึกควบคุมอารมณ์ ด้วยการกำหนดลมหายใจเข้าออกลึกๆช้าๆ ฝึกทำอะไรอย่างช้าๆ ฝึกปรับความคิดว่าแต่ละคนย่อมมีความคิดเป็นของตัวเอง แต่ละคนอาจเห็นต่างกันหรือเห็นสอดคล้องกันเป็นเรื่องธรรมดา การระเบิดอารมณ์ไม่ได้ช่วยอะไร หากมีอารมณ์โกรธหรือหงุดหงิด ก็ให้เดินออกมาจากสถานการณ์ตรงนั้นก่อน เมื่อใจเย็นลงก็ค่อยคุยกันใหม่
แต่หากมีอาการหงุดหงิดโดยไม่มีเหตุผล ไม่มีความสุขกับทุกสิ่ง การนอน การใช้ชีวิตประจำวันเปลี่ยนไป ส่งผลกระทบต่อตัวเองและคนรอบข้าง ก็ต้องพบแพทย์ตรวจหาสาเหตุแล้วรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม เพราะอาการขี้หงุดหงิด โมโหง่ายอาจเป็นอาการได้ในหลายโรค ได้แก่ ภาวะเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า เป็นต้น
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
รู้สึกว่าตัวเองเข้ากับคนในบ้านไม่ได้ เหมือนความคิดไม่ตรงกันไปหมดเลย เริ่มรู้สึกตั้งแต่เรียนจบกลับมาอยู่บ้าน รู้สึกว่าความคิดเห็นที่แตกต่างของเรา ทำให้เราหงุดหงิดมากๆ โมโหง่ายขึ้น โดยเฉพาะตอนพูดคุยกับคนที่บ้านจะรู้สึกอารมณ์เสียตลอดเวลา บางทีถึงกับรำคาญเสียงของคนในบ้านเลย แบบนี้ควรทำอย่างไรดี
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)